บ้านปูฯ รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2556

อังคาร ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๓ ๑๑:๒๔
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (BANPU) รายงานผลดำเนินงานประจำไตรมาส 3 ปี 2556 มีกำไรสุทธิจำนวน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 944 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 42 จากไตรมาส 2/2556 เป็นผลจากการปรับลดต้นทุนการผลิต ซึ่งผลการดำเนินดังกล่าวถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ในสภาวะที่ราคาถ่านหินอ่อนตัว อย่างไรก็ตามราคาถ่านหินในขณะนี้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว และเริ่มมีเสถียรภาพ

นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ้านปูฯ กล่าวว่า แม้ว่ากำไรสุทธิในไตรมาสนี้จะลดลง หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2555 ที่ผ่านมา แต่กำไรสุทธิจำนวน 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ของปีนี้ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เมื่อเทียบกับสถาวะราคาถ่านหินในตลาดโลกที่อ่อนตัวลงมาตั้งแต่กลางปี 2555 ที่ผ่านมา โดยในไตรมาส 3 นี้ ราคาขายถ่านหินเฉลี่ยของบ้านปูฯ อยู่ที่ 70.14 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่วนราคาขายถ่านหินเฉลี่ยของแหล่งผลิตในประเทศอินโดนีเซียเท่ากับ 72.65 เหรียญสหรัฐต่อตัน ขณะที่ราคาขายถ่านหินเฉลี่ยจากเหมืองในประเทศออสเตรเลียเท่ากับ 70.90 เหรียญออสเตรเลียต่อตัน ทั้งนี้ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาบ้านปูฯ ผลิตและจำหน่ายถ่านหินรวมจำนวน 10.72 ล้านตัน ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า แบ่งเป็นการผลิตและจำหน่ายถ่านหินจากแหล่งผลิตในอินโดนีเซีย และออสเตรเลียจำนวน 7.51 ล้านตัน และ 3.21 ล้านตัน ตามลำดับ

“ราคาถ่านหิน ณ ปัจจุบัน ถึงจุดต่ำสุดแล้ว และเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในไตรมาส 3 ที่ ผ่านมานั้น ถือว่าผลประกอบการของบ้านปูฯ อยู่ในเกณท์ที่ดี เมื่อเทียบกับสภาวะถ่านหินในตลาดโลก” นายชนินท์กล่าว

ในไตรมาส 3/ 2556 บ้านปูฯ มีรายได้จากการขายรวม 809 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 25,477 ล้านบาท) โดยร้อยละ 94 หรือจำนวน 760 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 23,924 ล้านบาท) มาจากการขายถ่านหิน ส่วนอีกร้อยละ 5 หรือ 41 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,291 ล้านบาท) มาจากการจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำ

สำหรับธุรกิจไฟฟ้าในไตรมาส 3 นั้น บริษัทฯ รับรู้ผลกำไรของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี จำนวน 27 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 850 ล้านบาท) ส่วนโรงไฟฟ้าในประเทศจีนบันทึกกำไรสุทธิจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 94.44 ล้านบาท)

"แม้ว่าสภาวะตลาดถ่านหินจะยังคงไม่เอื้ออำนวย แต่ด้วยมาตรการที่เน้นการบริหารต้นทุนการผลิตให้เหมาะสมกับสภาวะตลาด เชื่อว่าจะสามาถช่วยลดผลกระทบต่อการดำเนินงานของบ้านปูฯ ได้ โดยในไตรมาส 3/ 2556 ที่ผ่านมา ต้นทุนเฉลี่ยของเหมืองในอินโดนีเซียอยู่ที่ 48 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่วนเหมืองถ่านหินในออสเตรเลียมีต้นทุนเฉลี่ยที่ 52 เหรียญออสเตรเลียต่อตัน ตามลำดับ" นายชนินท์กล่าว

นายชนินท์กล่าวอีกว่าในปีนี้คาดว่าบ้านปูฯ จะผลิตและจำหน่ายถ่านหินจากแหล่งผลิตในอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และจีน รวมประมาณ 46 ล้านตันตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะขยายตลาดการส่งออกถ่านหินไปยังประเทศในอาเซียนมากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่บริษัทฯ

“เรามีแผนที่จะขยายตลาดไปยังประเทศในอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งจะเป็นตลาดใหม่ ในขณะเดียวกันก็จะเน้นในตลาดเดิมทั้ง 3 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เพราะคาดว่าในอนาคตประเทศเหล่านี้จะมีความต้องการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ” นายชนินท์กล่าวปิดท้าย

ปัจจุบันตลาดส่งออกถ่านหินของบ้านปูฯ ประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ อินเดีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ไทย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และอิตาลี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๒ อาลีเพย์พลัสขยายเครือข่ายพันธมิตรด้านการชำระเงินเป็น 35 ราย เชื่อมโยงผู้ค้ากับนักท่องเที่ยวเข้าด้วยกันผ่านการชำระเงินบนมือถือ การขายของในแอปพลิเคชัน
๑๕:๓๙ ยกระดับบริการหลังการขายขึ้นอีกขั้นกับ Volvo Mobile Service เพียงนัดหมาย เราพร้อมให้บริการถึงหน้าบ้านคุณ
๑๕:๓๔ ประกาศราคาไทย HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนนแบบพับได้ระดับท็อป โฉบเฉี่ยวแต่แข็งแกร่ง พร้อมกล้องเพื่อการถ่ายรูปที่สมบูรณ์แบบ
๑๕:๒๔ มหัศจรรย์แห่งเฟสทีฟกลางลมหนาว ที่ห้างหรูในยุโรปของกลุ่มเซ็นทรัล
๑๕:๑๘ บี.กริม เพาเวอร์ ครองตำแหน่งเรตติ้งสูงสุด SET ESG Rating ระดับ AAA และอยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน 7 ปีซ้อน ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม
๑๔:๐๑ ธนาคารกรุงเทพ สำรองเงินสดช่วงเทศกาลปีใหม่ 40,000 ล้านบาท แนะลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
๑๔:๔๘ เที่ยวไทยสุขใจ ไทยพาณิชย์ โพรเทค มอบของขวัญปีใหม่ 2568 แจกฟรี! ประกันบ้านหรืออุบัติเหตุ 50,000 สิทธิ์
๑๕:๒๕ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ร่วมงานเลี้ยงการกุศล ส่งเสริมความเสมอภาคและโอกาสในสังคม
๑๕:๔๗ คณะผู้บริหารและพนักงาน ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล เยี่ยมชมโรงงาน 1NUO ที่ประเทศจีน
๑๔:๔๕ TFM เปิดแผนผลิตกุ้งยั่งยืน ดันไทยชิงโอกาสในตลาดโลก ชูนวัตกรรมอาหารสัตว์เศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน