โอกาสสินค้าและบริการ ด้านสิ่งแวดล้อมของไทย ในตลาดอาเซียน และตลาดโลก

อังคาร ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๓ ๑๓:๒๐
ประเด็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศและของโลกให้ดีขึ้น มีความร่วมมือระหว่างประเทศมาแล้วจากหลายระดับ เช่น จากองค์การการค้าโลก (WTO) จากประเทศภาคีในกลุ่ม APEC เป็นต้น แต่โดยทั่วไปการพิจารณายังคงเน้น “ตัวผลิตภัณฑ์” ที่เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อม มากกว่า “กระบวนการผลิต” ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ “เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิต” ( Production ) ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดหรือบำบัดมลพิษ มากกว่าที่จะเป็น “สินค้าขั้นสุดท้ายเพื่อการบริโภคของประชาชน”( Consumption ) ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายเพื่อการบริโภค และกระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการสร้างรายได้จากการส่งออก และการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม แต่ต้องมีการดำเนินนโยบายภายในประเทศและระหว่างประเทศ ที่เหมาะสมและสอดคล้องต้องกัน

ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการวิชาการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา หรือ ไอทีดี เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำผลงานวิจัย ในหัวข้อ “ การพัฒนาศักยภาพการผลิตและส่งออกสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม ” โดยเน้นหนักไปที่การศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม 3 กลุ่ม ด้วยกัน ได้แก่ สินค้าเกษตรอินทรีย์ ธุรกิจบริการกำจัดขยะ และธุรกิจสถานพักแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พบว่า สินค้าเกษตรอินทรีย์ ของไทยมีจุดแข็งในฐานะที่เกษตรกรรมของไทยมีพื้นฐานการเพาะปลูกที่ไม่ใช้สารเคมีมาก่อน องค์ความรู้ดั้งเดิมยังมิได้หายไป อีกทั้งประเทศไทยยังมีหน่วยงาน ที่สามารถให้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้หลายมาตรฐาน ประกอบกับมีโอกาสที่เกิดขึ้น จากความนิยมและความใส่ใจต่อปัญหาสุขภาพของผู้บริโภค ทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นโดยเฉพาะในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ธุรกิจบริการกำจัดขยะ ในประเทศไทยมีจุดแข็ง คือ ผู้ประกอบการ มีประสบการณ์และความรู้ในธุรกิจกำจัดขยะมาอย่างยาวนาน ประกอบกับมีโอกาสในการส่งออกขยะ ที่ยังไม่ได้รีไซเคิลและขยะรีไซเคิลไปยังตลาดต่างประเทศได้ เพราะไทยมีความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ และมีโอกาสออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านในธุรกิจดังกล่าว หรือให้คำปรึกษา การจัดการขยะในแหล่งอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อนบ้านได้เช่นกัน ส่วน ธุรกิจสถานพักแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภาคการท่องเที่ยวเป็นภาคเศรษฐกิจที่สาคัญของประเทศไทย ค่าใช้จ่ายด้านที่พักมีสัดส่วน สูงที่สุดเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และประเทศไทยมีจุดแข็งที่เจ้าของหรือผู้บริหารโรงแรมที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม มีการดำเนินการจนได้รับรางวัลระดับชาติและระดับนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนโฮมสเตย์ไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ส่วนใหญ่มีผู้นำชุมชนเข้มแข็ง บางแห่งได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ ทำให้ไทยค่อนข้างได้เปรียบในด้านนี้

ส่วนข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มี 6 ข้อด้วยกัน ได้แก่ 1. การพัฒนาผู้ประกอบการ ภาครัฐควรแสดงบทบาท ในการช่วยเหลือและการสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ตลอดจนการพัฒนาบริการให้มีคุณภาพมากขึ้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย 2. การสนับสนุนทางการเงิน หรือเงินลงทุนในการจัดการธุรกิจและผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อจูงใจในการพัฒนาธุรกิจ ของตนให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 3. การสร้างเครือข่าย ทั้งภายในประเทศ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และนอกกลุ่มอาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการและเกษตรกรของไทย 4. การกาหนดมาตรฐานการประกอบการและมาตรฐานการผลิต ด้วยมาตรการ “ใบรับรองหรือฉลากสิ่งแวดล้อม” ในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์หรือบริการของผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูล ในกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของธุรกิจตน 5. การใช้กลยุทธ์ทางการจัดการธุรกิจที่เชื่อมโยงกับชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจเป็นที่ยอมรับภายในชุมชนให้มากที่สุด 6. นโยบายของภาครัฐด้านการส่งเสริมการส่งออกและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ ควรมีนโยบายไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ควรขัดแย้งกัน สิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้ สินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อมของไทยสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนทั้งในตลาดอาเซียน และนอกกลุ่มอาเซียน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก
๑๖:๔๔ กรมอนามัยลงพื้นที่จังหวัดสงขลา มอบรางวัลเชิดชูเกียรติเมืองสุขภาพดีระดับประเทศ และรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดีระดับภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก
๑๖:๐๑ EPG มั่นใจยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นในครึ่งหลังของปีบัญชี 67/68 (ต.ค.67 - มี.ค.68) เติบโตดีตามเป้าหมาย เตรียมจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 6 สตางค์ 9
๑๖:๒๔ 51Talk ส่งเด็กไทยเข้าร่วม COP29 การประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทพิสูจน์การสนับสนุนเยาวชนก้าวสู่เวทีระดับโลก
๑๖:๔๘ ORN เผยโค้งสุดท้ายปี 67 ฟอร์มดี โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 3 โครงการใหม่บ้าน-คอนโดฯ มูลค่ารวม 3,070 ล้านบาท
๑๖:๓๓ Dog's Dream คอมมูนิตี้สนามสัตว์เลี้ยงสีเขียว ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
๑๖:๑๔ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ชูกลยุทธ์ Make a Leap to the New Stage ตอกย้ำพันธกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
๑๕:๔๓ กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri ผสานความแข็งแกร่งและร่วมมือในเครือกรุงศรี MUFG และพันธมิตร
๑๕:๓๔ เผยสีสันแห่งการเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปี ผ่านกระเช้าของขวัญจากโรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
๑๕:๔๗ Netflix ส่งหนังไทยคว้าชัยระดับโลก! ออกแบบ-ชุติมณฑน์ คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม บนเวที International Emmy Awards ครั้งที่ 52 จากผลงานเรื่อง HUNGER คนหิว