COSPAR Symposium เปิดฉากครั้งแรกที่กรุงเทพ ไทยพร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านอวกาศและดาราศาสตร์

อังคาร ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๓ ๑๓:๓๗
COSPAR Symposium เปิดฉากครั้งแรกที่กรุงเทพไทยพร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านอวกาศและดาราศาสตร์“ความลี้ลับของระบบดาวเคราะห์ของระบบสุริยะยังคงเป็นสิ่งที่ต้องค้นหา”

GISTDA (สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ) และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 1st COSPAR Symposium ในหัวข้อ “Planetary Systems of our sun and other Stare, and the Future of space Astronomy” ระหว่างวันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2556 ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่าการนำเทคโนโลยีทางอวกาศและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญในการค้นคว้าวิจัยหาคำตอบให้กับมวลมนุษยชาติ ซึ่งได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน ในวันจันทร์ ที่ 11 พฤศจิกายน 2556

การบรรยายที่น่าสนใจคือ Prof. Michel Mayor ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัย เจนีวา ซึ่งได้ศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ และร่วมจัดทำเครื่องมือตรวจวัด Spectrum ที่มีความแม่นยำมากที่สุดในโลก รวมทั้งการบรรยายจาก ศร.ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร GISTDA ผู้จะมาสร้างแรงบันดาลใจและมุมมองใหม่ๆ ในการพัฒนาประเทศและสังคม ตลอดจนนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชั้นนำจากต่างประเทศ

ช่วงที่พลาดไม่ได้ คือการเสวนาโต๊ะกลมของผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานระดับโลก ได้แก่ องค์การอวกาศแห่งยุโรป (ESA) องค์การศึกษาวิจัยแห่งชาติฝรั่งเศส (CNES) องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NASA) องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) และสถาบันวิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์แห่งเกาหลี (KASI) รวมทั้งผู้บริหารองค์การอวกาศแห่งชาติในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย(ANGKASA) อินโดนีเซีย (LAPAN) และไทย (GISTDA) โดยมี prof. Giovanni Bignami ประธาน COSPAR ผู้ดำเนินการอภิปราย

นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงผลงานวิชาการในรูปแบบโปสเตอร์กว่า 80 ผลงาน และผลงานภาพวาดของเยาวชนไทย ภายใต้หัวข้อ space and me กว่า 20 ผลงาน สำหรับการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ ถือเป็นการจัดประชุมครั้งแรกของ COSPAR Symposium ในประเทศไทยที่มีนักวิชาการและนักวิจัยทางด้านอวกาศนักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์จากประเทศต่างๆและองค์การระหว่างประเทศทั่วโลกเข้าร่วมกว่า 350 คน

การประชุมวิครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันส่งเสริมการสอนทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ,บริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน และบริษัท ทีโอที (จำกัด) มหาชน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ