ทวินไพน์ คว้าโครงการออกพันธบัตรในรูปสกุลเงินบาทล็อตที่ 2 ของ สปป.ลาว วงเงิน 3,000 ล้านบาท ระยะเวลาไถ่ถอนสูงสุด 5 ปี คาดว่านักลงทุนจะจ่อคิวชิงซื้อ

พฤหัส ๑๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๓ ๑๘:๔๘
บริษัท ทวินไพน์ คอลซัลติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินชั้นนำของไทยแห่งแรก ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการวางกลยุทธ์ระดมเงินทุนข้ามพรมแดนและบริการโซลูชั่นทางการเงินโมเดลใหม่ สำหรับตลาดทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงการเงิน สปป. ลาว อีกครั้ง เพื่อออกพันธบัตรในรูปสกุลเงินบาทในประเทศไทยเป็นรอบที่ 2 ในมูลค่าสูงถึง 3,000 ล้านบาท มีระยะเวลาไถ่ถอน 3-5 ปี และอัตราดอกเบี้ยตอบแทนใกล้เคียงกับครั้งแรก (4.5%) เพื่อจำหน่ายในลักษณะแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement:PP) ให้แก่กลุ่มนักลงทุนสถาบัน และกลุ่มผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) โดยโครงการออกพันธบัตรลาวครั้งนี้ถือเป็นการแสดงศักยภาพของตลาดทุนไทยที่พร้อมจะก้าวสู่การเป็นแหล่งระดมเงินทุนข้ามพรมแดนที่สำคัญในภูมิภาคนี้ เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

นายอดิศร สิงห์สัจจะ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวินไพน์ คอลซัลติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า “หากวิเคราะห์ในเชิงเสถียรภาพทางการเมืองและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะพบว่า สปป.ลาว มีความมั่นคงในการเมืองอย่างมาก และมีอัตราการเติบโตของ GDP อยู่ในระดับสูงกว่า 7% ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา (2545-2554) และตั้งเป้าไว้ที่ปีละ 8% ระหว่างปี 2554-2558 ประกอบกับมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่หลายโครงการ (ประเทศไทยมีการลงทุนในประเทศลาวจัดอยู่ 1ใน 3 เมื่อคิดจากมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ FDI) นอกจากนี้ รัฐบาลลาวยังมีนโยบายสนับสนุนให้มีการเติบโตในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และภาคธุรกิจบริการ อย่างต่อเนื่องและยังมีความพยายามที่จะลดหนี้สาธารณะให้ต่ำลงอีกปัจจัยหลายประการเหล่านี้ จะทำให้นักลงทุนในประเทศไทยมีความมั่นใจในการลงทุนในพันธบัตรลาวเพราะมีความเสี่ยงต่ำ”

สปป.ลาว ได้จำหน่ายพันธบัตรลาวในสกุลเงินบาท มูลค่า 1,500 ล้านบาท ระยะเวลาไถ่ถอน 3 ปี อัตราดอกเบี้ยตอบแทน 4.5% ครั้งแรก เมื่อ 30 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยมีทวินไพน์ คอนซัลติ้ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีเอ็มบี เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่าย ผลปรากฎว่า จำนวนพันธบัตรลาวในสกุลเงินบาทที่นำออกจำหน่ายในล็อตแรกมีไม่เพียงพอกับความต้องการ เพราะคำสั่งซื้อจากนักลงทุนสถาบันมีสูงมากกว่า 2.7 เท่า (หรือคิดเป็นประมาณ 4,000 ล้านบาท)

จากความสำเร็จในการระดมเงินทุนข้ามพรมแดนของกระทรวงการเงิน สปป.ลาว ในครั้งแรกดังกล่าว ทำให้ สปป.ลาว เห็นความเป็นไปได้ที่จะระดมทุนเพิ่มสำหรับนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ จึงตัดสินใจที่จะออกพันธบัตรลาวในสกุลเงินบาทเป็นรอบที่ 2 ในเดือนพฤศจิกายน ในวงเงินที่เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ล้านบาท มีระยะเวลาไถ่ถอนอย่างน้อย 3 ปี สูงสุด 5 ปี และมีอัตราดอกเบี้ยตอบแทนที่น่าสนใจ เพื่อจำหน่ายในลักษณะเจาะจงให้แก่กลุ่มนักลงทุนสถาบัน อาทิ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย กลุ่มบริษัทพลังงาน กลุ่มกองทุน รวมถึงกลุ่มผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) โดยมีบริษัท ทวินไพน์ คอนซัลติ้ง จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน พร้อมด้วยธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีเอ็มบี เป็นผู้ประสานงานและผู้จัดการการจัดจำหน่ายร่วมกับ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งแม้ว่าพันธบัตรลาวดังกล่าวจะไม่มีการทำเครดิตเรทติ้ง แต่อัตราดอกเบี้ยที่เสนอขาย เทียบเท่ากับพันธบัตรที่ได้อันดับเครดิตเรทติ้งในระดับที่ลงทุนได้

นายอดิศร กล่าวเสริมว่า “การออกพันธบัตรลาวในรูปสกุลเงินบาทเป็นช่องทางที่ทำให้ สปป. ลาวจะได้ประโยชน์จากการที่ได้เงินทุน (non-concessional finance) มาใช้ในการพัฒนาโครงการพื้นฐานของประเทศ และให้ความคล่องตัวสูงกว่าการขอวงเงินกู้สินเชื่อโครงการ (Project Finance) จากสถาบันการเงิน ขณะที่ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการที่ได้สร้างพันธบัตรรูปแบบใหม่ สร้างความหลากหลายให้ตลาดพันธบัตรไทย นอกจากนี้ การออกพันธบัตรลาวในประเทศไทยยังเป็นธุรกรรมการระดมเงินทุนข้ามพรมแดนประเทศที่กำลังถูกจับตามองจากประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง อย่างเช่น พม่า และกัมพูชา ที่อาจจะสนใจเข้ามาระดมทุนในประเทศไทยแทนการพึ่งพาแหล่งเงินทุนอื่นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในอนาคต”

ท้ายสุด นายอดิศร ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับเหตุผลที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นแหล่งระดมเงินทุนข้ามพรมแดนที่สำคัญ เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นั้น ว่าประเทศไทยมีข้อได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ หลายด้าน ได้แก่

1. ตลาดทุนในประเทศไทยที่มีขนาดใหญ่ เงินลงทุนหมุนเวียนสูง ภาคการเงินมีความมั่นคง

2. ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนในภูมิภาคนี้ ซึ่งแม้ว่าอันดับเครดิตของรัฐบาล สปป.ลาว ยังไม่ได้รับการจัดอันดับในตลาดตราสารหนี้ กระทรวงการคลังของประเทศไทยได้ให้การยกเว้นเพื่ออนุมัติให้เข้ามาระดมทุนออกพันธบัตรได้

3. ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต) ได้มีการออกกฎระเบียบใหม่ที่อนุญาตให้นักลงทุนประเภท Accredited Investors (AI) สามารถซื้อตราสารหนี้ที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (non-rated issues) ได้

4. บุคลากรทางด้านการเงินและการลงทุนที่มีความรู้ความสามารถสูง

5. ปริมาณเงินออมในประเทศไทยอยู่ในระดับที่สูงและเอื้อต่อการระดมทุน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ