นายแพทย์ยุทธ โพธารามิก ประธานมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์ฯ กล่าวว่า มูลนิธิฯ ได้จัดกิจกรรมดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์อย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้พบว่าผู้ร่วมกิจกรรมเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยรายใหม่ ซึ่งนอกจากแสดงให้เห็นถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังสะท้อนให้ถึงเห็นจำนวนผู้ป่วยที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย ถือว่า โรคสมองเสื่ออัลไซเมอร์ เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุไทยในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม นายแพทย์ยุทธ กล่าวว่า การดูแลสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยก็เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากต้องเผชิญกับความเครียดที่ต้องรับภาระอย่างหนักในการดูแลผู้ป่วยฯ ภายในงานจึงมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมผู้ดูแลให้มีสุขภาพจิตที่ดีในการดูแลผู้ป่วย เช่น การฝึกผ่อนคลายความเครียดให้กับตนเอง การเรียนรู้เทคนิคการดูแลในชีวิตจริงจากเพื่อนสมาชิก นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการส่งเสริมองค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ให้กับผู้สนใจอีกด้วย
ศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ กรรมการเลขานุการมูลนิธิฯ กล่าวว่า ทีมจิตแพทย์จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมพร้อมให้ความรู้และแนะนำถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอย่างถูกต้อง โดยภายในงานทุกท่านสามารถเตรียมข้อซักถาม ให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ไขปัญหาการดูแลและข้อสงสัยอื่นๆ เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์กับทุกท่านได้
ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ TCELS กล่าวว่า ที่ผ่านมา TCELS ได้สนับสนุนการจัดตั้งมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย และร่วมบริหารการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ โดยที่ผ่านได้พัฒนาแอพริเคชั่นชุดตรวจคัดกรองผู้เสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์เป็นครั้งแรก ให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ สามารถตรวจผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารประเภทสมาร์ทโฟนได้ ทั้งแบบ Android และ iOS สำหรับผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอพริเคชั่นได้ทาง www.tcels.or.th , www.alz.or.th โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น