มช.เดินหน้าศึกษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพอัดทดแทนก๊าซLPG เตรียมขยายใช้จริงในชุมชน

จันทร์ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๐๑๓ ๑๓:๓๖
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ทุ่มงบกว่า 33 ล้านบาท ส่งเสริม มช. เดินหน้าศึกษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพอัดทดแทนก๊าซแอลพีจี เพื่อใช้ในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม อนาคตเตรียมขยายผลการทดลองใช้จริงในชุมชนต้นแบบไม่น้อยกว่า 100 ครัวเรือน ภายในเดือน มี.ค.2557

รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยก็มีศักยภาพด้านการผลิตก๊าซชีวภาพทั้งภาคปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชน ที่มีมากถึง 1,170 ล้านลบ.ม.ต่อปี โดยสามารถนำมาผลิตเป็นก๊าซ CBG ได้ถึง 600 ล้านกิโลกรัม ซึ่งมีราคาต้นทุนอยู่ที่ 12 บาท ต่อกิโลกรัม และสามารถนำไปทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) ได้ถึง 600 ล้านกิโลกรัมต่อปี คิดเป็นมูลค่าถึง 10,878 ล้านบาทต่อปี (คิดที่ราคา LPG 18.13 บาทต่อกิโลกรัม)

ดังนั้นเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลทั้งด้านพลังงานทดแทนและดูแลสิ่งแวดล้อม ทาง มช. จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานเพื่อทดแทนก๊าซปิโตรเลียมเหลวในเชิงพาณิชย์” เพื่อศึกษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพอัดสำหรับทดแทนก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 33,542,300 ล้านบาท เพื่อสร้างต้นแบบศูนย์สาธิตระบบผลิตและบรรจุก๊าซชีวภาพอัดสำหรับนำไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้มในครัวเรือนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม

จากผลการทดสอบระบบเบื้องต้นพบว่าก๊าซชีวภาพอัดมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ ก๊าซ LPG สามารถใช้ทดแทนกันได้ ซึ่งทางมช.ได้ทำการออกแบบถังบรรจุก๊าซชีวภาพอัด ให้เหมาะสมกับการใช้งานและมีความปลอดภัย โดยในวันที่ 30 ก.ย.2556 — 30 มี.ค.2557 ทาง มช. จะดำเนินการทดสอบใช้งานจริงในครัวเรือนหรือชุมชนต้นแบบจำนวนไม่น้อยกว่า 100 ครัวเรือน เพื่อประเมินผลและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ ประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้บริโภคอื่นๆ ที่สนใจ เพื่อนำปรับพัฒนาและประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป

นายชาญวิทย์ เวชชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด กล่าวว่า ทางบริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกจาก มช. ให้เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อนำมูลไก่ไปผลิตเป็น ก๊าซชีวภาพ ซึ่งปัจจุบันได้นำก๊าซชีวภาพไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์มได้ประมาณ 25,200 กิโลวัตต์/เดือน คิดเป็นมูลค่า 100,800 บาท และแจกจ่ายให้ชุมชนใกล้เคียงใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 82 ครัวเรือน

“ปัจจุบันบริษัทฯ มีปริมาณมูลไก่ประมาณ 15 ตันต่อวัน สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้วันละ 600 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าวทำให้บริษัทฯ สามารถนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มาใช้เป็นพลังงานทดแทนช่วยลดค่าใช้จ่ายและยังสามารถช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและกลิ่นเหม็นจากมูลไก่ซึ่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี” นายชาญวิทย์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version