นายมอริซิโอ บุสซิ (Maurizio Bussi) รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทย กัมพูชาและลาว องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือไอแอลโอ (ILO) ได้กล่าวว่า “โครงการ VCT@WORK เป็นกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมให้เจ้าของธุรกิจในสถานประกอบการต่างๆ ได้นำพนักงานที่อยู่ภายใต้การดูแลมารับคำปรึกษา และตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจ โดยตั้งเป้าภายในปี 2015 จะต้องมีผู้เข้าร่วมโครงการจากทั่วโลกจำนวน 5 ล้านคน ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าว ได้ถูกนำเสนอโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ซึ่งได้มีการยอมรับ ในระหว่างการประชุมแรงงานระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2556 ซึ่งนอกจากเรื่องการรับคำปรึกษา และตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจแล้ว ยังรวมถึงการไม่ถูกจำกัดสิทธิในด้านการประ กอบอาชีพหรือใช้แรงงาน จากนายจ้าง หรือเจ้าของธุรกิจ สถานประกอบการต่างๆ ซึ่งในเรื่องนี้ยังได้ครอบคลุมไปถึงยังครอบครัวของผู้มีเลือดเอชไอวีอีกด้วย
โดยการจัดทำโครงการ VCT@WORK จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1) ดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน - ธันวาคม 2556 โดยจะนำร่องการจัดทำโครงการไปที่ประเทศบราซิล, กานา, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ไนจีเรีย, ไทย, แทนซาเนีย และแอฟริกาใต้ และ 2) ดำเนินการในระหว่างเดือนมกราคม 2557 - ธันวาคม 2558 ในประเทศที่ได้รับผลกระทบรองลงมา สำหรับประเทศไทยนั้นถูกจัดให้เป็นประเทศนำร่องในการจัดทำโครงการฯ ในอันดับต้นๆ ซึ่งได้มีการจัดงานในวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องประชุม โรงแรมพูลแมน คิงพาวเวอร์ ซอยรางน้ำ เขตราชเทวี ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิ การเสวนาแลก เปลี่ยนประสบการณ์ ในเรื่อง 1.ความสำคัญ, ประโยชน์ของการตรวจเลือด และการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยมีวิทยากรจากหน่วยงานที่มีชื่อเสียง เกี่ยวกับโรคเอดส์ในประเทศไทย อาทิ นายสมพงษ์ เจริญสุข ที่ปรึกษาด้านสังคม สำนักงานโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS), น.พ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่ง ชาติ และคุณ โอปอล์-ปาณิสรา พิมพ์ปรุ ดารานักแสดงและพิธีกรชื่อดัง ฯลฯ
ด้าน ดร.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเดินทางมาเป็นประธานเปิดงานกล่าวว่า “ปัจจุบันมีคนไทยติดเชื้อเอชไอวีใหม่ปีละเกือบ 200,000 ราย โรคเอดส์สามารถ ป้องกันได้โดยการใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์ คนที่ติดเชื้อใหม่นั้นจะติดมาจากคนที่ติดเชื้ออยู่ก่อนแต่ไม่รู้ตัว เพราะไม่เคยไปตรวจหรือไม่มีอาการอะไร คนที่ติดเชื้ออาจไม่มีอาการอะไรเลยเป็นปีๆ หรืออาจมีอาการป่วยขึ้นมากะทันหันจนเสียชีวิตได้ ดังนั้นการตรวจ Anti - HIV จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยไม่ต้องรอให้มีอาการ ซึ่งสามารถตรวจพบได้หลังจากรับเชื้อมา แล้ว 2-6 สัปดาห์ แต่ถ้าอยากตรวจพบให้เร็วขึ้น เช่น ภายหลังรับเชื้อมาเพียง 3-7 วัน ก็สามารถตรวจด้วยวิธี Nucleic Acid Technology (NAT) ซึ่งในปัจจุบันคลินิกนิรนามก็ให้บริการตรวจด้วยวิธี NAT ทุกราย ถ้าการตรวจหาการติดติดเชื้อเอชไอวีด้วยวิธีแรกแล้วไม่พบการติดเชื้อ นอกจากนี้คนไทยทุกคน ก็ยังสามารถใช้สิทธิตรวจหา Anti - HIV ได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศไทย โดยตรวจฟรีได้ปีละ 2 ครั้ง ตามชุดสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
โดยผู้สนใจเข้าร่วมในโครงการ VCT@WORK ขอรับคำปรึกษา และตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจจะสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 086-5522027 และ 081-6285141 ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป