รางวัลประกอบด้วย รางวัลลำดับที่ 5 ประเภทโครงงานหุ่นยนต์ รางวัลลำดับที่ 6 และลำดับที่ 7 ประเภทหุ่นยนต์อัตโนมัติ รางวัลลำดับที่ 6 ประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอล และรางวัลลำดับที่ 7 ประเภทอุดมศึกษา ซึ่งมีคู่แข่ง 392 ทีม จาก 36 ประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมการแข่งขัน โดยจะเดินทางกลับถึงประเทศไทย โดยสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิค เที่ยวบินที่ CX703 เวลา 20.00 น.ของวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 ณ สนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ได้ร่วมกับสถาบันพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และบริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด คัดเลือกและนำนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษาทุกสังกัดเป็นตัวแทนนักเรียนจากประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์โลก WRO 2013 : World Robot Olympiad 2013 จำนวน 25 ทีม โดย การแข่งขันแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ประเภทหุ่นยนต์อัตโนมัติ
โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างโปรแกรม ประกอบหุ่นยนต์และนำไปปฏิบัติภารกิจบนสนาม ประเภทความคิดสร้างสรรค์ หัวข้อ “World Heritage : หุ่นยนต์กับการอนุรักษ์มรดกโลก” ประเภท Pilot ซึ่งเป็นการทดลองแข่งขันหุ่นยนต์ปฏิบัติภารกิจในระดับอุดมศึกษา และ ประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอล แต่ละประเภทการแข่งขันยังแบ่งออกเป็น 3 รุ่นคือ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปีและรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี ผลการแข่งขันปรากฏว่านักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัลจากการแข่งขันได้ถึง 7 รางวัล ดังนี้
ประเภทโครงงานความคิดสร้างสรรค์ซึ่งในปีนี้มีหัวข้อ World Heritage : หุ่นยนต์กับการอนุรักษ์มรดกโลก ได้รางวัลลำดับที่ 5 ของโลก ได้แก่ ทีม หลานย่าโม ซึ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต จังหวัดนครราชสีมา ชื่อโครงงาน หุ่นยนต์มรดกโลกบ้านเชียง รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วย นายวิริยะ ปาลวัฒน์ นายจิรพันธุ์ เกล้ากระโทก และนางสาวมัสธิดา อยู่เย็น ส่วนประเทศที่ได้ที่ 1-4 ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตต์ ประเทศเยอรมัน ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซียตามลำดับ
และรางวัลลำดับที่ 5 ในรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ได้แก่ทีมนักเรียนจากโรงเรียนเทศบาล 5 จังหวัดราชบุรี ชื่อโครงงานสุโขทัยมรดกโลก ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วย เด็กหญิงพุทธิตา เที่ยงแท้ เด็กชายนพดล เพ็ชรไทย เด็กชายนันทพล ผลงาม
และประเภทหุ่นยนต์อัตโนมัติ ได้รางวัลลำดับที่ 6 รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี ได้แก่ ทีมจากโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ ทีม อืดอาด สมาชิกประกอบด้วยนางสาวสวรินทร์ เรืองโรจน์ นายยศภัทร เลิศสุคนธ์ และนายชนาภัทร เพียรทอง และรางวัลลำดับที่ 7 ได้แก่ทีมนักเรียน โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ ทีม เอาจริง สมาชิกประกอบด้วยนายณพล ใสสะอาด นายชวกร บุญรินทร์และนายยศพัทธ์ ฤาชา ประเทศที่ได้ที่ 1-5 ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย 2 รางวัล อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และเม็กซิโกตามลำดับ
ประเภทโรบอทซอคเกอร์ หรือการแข่งขันหุ่นยนต์เตะฟุตบอล ได้รับรางวัลลำดับที่ 6 ได้แก่ ทีมนักเรีนนจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพมหานคร ทีม RBT-ZADENT สมาชิกประกอบด้วยนายณภัทร ชัยเจริญสุขเกษม นายนิติธร ชัยวงศ์โรจน์ และนายจักภัท มิ่งมงคลมิตรประเทศที่ได้ลำดับ 1-5 ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย รัสเซีย 3 รางวัล และไต้หวันตามลำดับ
ประเภทอุดมศึกษา คว้ารางวัลลำดับที่ 7 ได้แก่ทีมขนมชั้น จากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์กรุงเทพมหานครสมาชิกประกอบด้วย นายวสิฐ ธีรภัทรธำรง นายปเชชญา ปั้นสังข์ และนายอุดม ได้พร้อม
นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้รับรางวัลพิเศษ Creative Award ได้แก่ทีมนักเรียน โรงเรียนเทศบาลภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยเป็นโครงงานอนุรักษ์ช่วยเหลือสัตว์ที่บาดเจ็บและวิจัยการเจริญเติบโตของต้นไม้
ทีมภูเก็ต ออโต้ โรบอท โดยสมาชิกประกอบด้วย เด็กชายภูมิ จินทโรภาสกร เด็กชายพิชญุฒม์ ณ ระนองและเด็กหญิงกุลภัสสร์ ศรีนงนุช
ต้องขอขอบคุณ คุณจักรริน จันทรวิสูตร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และบริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้มีเวทีแสดงความสามารถ รวมทั้งได้สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชาติ โดยการจัดการแข่งขันคัดเลือกและส่งตัวแทนทีมนักเรียนไทยไปเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติมาอย่างต่อเนื่องทุกและปีนี้ก็ได้รางวัลถึง 7 รางวัล ซึ่งน่าภาคภูมิใจที่เด็กไทยของเรามีการพัฒนาศักยภาพ จนสามารถชนะทีมนักเรียนจากนานาประเทศซึ่งมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมากกว่าเรา ขอแสดงความยินดีและขอเป็นกำลังใจให้กับนักเรียนที่ได้รับรางวัลทุกคน