ความเชื่อมั่นธุรกิจไทยลดลงถึงจุดต่ำสุดนับจากปี 2011

ศุกร์ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๓ ๑๖:๓๑
ผลการสำรวจล่าสุดจากรายงาน Focus on: Thailand ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน (The Grant Thornton International Business Report: IBR) ที่สำรวจทัศนคติของผู้บริหารธุรกิจกว่า 3,000 คนจาก 45 กลุ่มเศรษฐกิจทั่วโลกรายไตรมาสได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญว่าธุรกิจไทยมีความคาดหวังลดลงต่อการขยายตัวของธุรกิจในปีหน้า

ผลการสำรวจพบว่าทัศนคติด้านบวกของธุรกิจในประเทศไทยได้ลดลงถึงจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปี 2011 โดยลดลง -28% ในไตรมาส 3 ของปี 2013 จาก 22% เมื่อไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งหมายความว่าผู้บริหารธุรกิจมีทัศนคติด้านลบมากกว่าด้านบวกต่อสภาวะเศรษฐกิจในระยะเวลาอีก 12 เดือนข้างหน้า

ทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อโอกาสการเติบโตของธุรกิจได้สะท้อนให้เห็นถึงความวิตกกังวลต่อเศรษฐกิจมหภาคในระดับที่กว้างขึ้น โดย 31% ของธุรกิจไทยคาดว่ารายรับจะเพิ่มสูงขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า หากทว่า -10% คาดว่าผลกำไรจะเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ภาพรวมการส่งออกยังคงซบเซา โดยมีผู้บริหารธุรกิจเพียง 2% ที่คาดว่ากำไรจะเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับผลสำรวจในไตรมาสที่ 2 ซึ่งลดลงจากค่าเฉลี่ยที่ 17% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2012 ทั้งนี้ สัดส่วนของธุรกิจที่วางแผนลงทุนในโรงงานและเครื่องจักรได้ลดลงจาก 18% ในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ 4% ในไตรมาสที่ 3

เอียน แพสโค กรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย กล่าวว่า "เศรษฐกิจไทยได้ดำเนินมาถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในปี 2013 กล่าวคือ การส่งออกมีความซบเซาและคาดว่าจะขยายตัวเพียง 1% ส่วนค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานในระดับต่ำมาก พฤติกรรมการบริโภคทั่วโลกที่หันมานิยมสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูง การกีดกันทางการค้าที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมการบริการบางประเภท นโยบายการรับจำนำข้าวซึ่งมีภาพลักษณ์ในทางลบ ตลอดจนความสามารถในการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำในระยะเวลาที่ผ่านมา ล้วนเป็นภาระหนักอึ้งที่ทับถมความสามารถในการแข่งขันสำหรับประเทศไทย"

"อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากปัจจัยภายนอกจะพบว่าเศรษฐกิจไทยมีความสดใสมากขึ้น และคาดว่าจะมีการเติบโตในปี 2014 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยกำลังดำเนินไปอย่างแข็งแกร่งและการท่องเที่ยวยังคงมีความเฟื่องฟู ยิ่งไปกว่านั้น การที่นโยบายประชานิยมมีความบรรเทาเบาบางลง เราจึงน่าจะเห็นความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นและส่งผลให้เกิดการกระตุ้นอุปสงค์ ในขณะเดียวกัน ภาครัฐควรมีการสนับสนุนอุปทานด้วยการลดภาษีนิติบุคคลและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่"

นอกจากนี้ รายงาน Focus on: Thailand ยังระบุว่าความวิตกกังวลต่อการขาดแคลนบุคลากรซึ่งธนาคารโลกได้รายงานไว้เมื่อเร็วๆ นี้ ได้กลายเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เพราะการที่มีบุคคลว่างงานเพียง 300,000 คน - หรือ 0.8% ของบุคคลในวัยทำงานทั้งหมด - ทำให้ค่าแรงเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 50% ในช่วงเวลาหนึ่งทศวรรษก่อนหน้าปี 2010 ทั้งนี้ กว่า 50% ของธุรกิจในประเทศไทยบ่งชี้ว่าการขาดแคลนแรงงานมีทักษะเป็นข้อจำกัดข้อหนึ่งในการวางแผนขยายธุรกิจ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ ASEAN (42%) อยู่ 10% เนื่องจาก ASEAN มีอัตราการว่างงานสูงกว่า

เอียน แพสโค กล่าวเพิ่มเติมว่า "เราหวังว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจะดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสที่ 2 ของปี 2014 อย่างไรก็ดี เราคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้เท่ากับหรือน้อยกว่า 4.5% ในปี 2014 ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ใช้ความเคร่ดครัดในการพิจารณาความสมดุลระหว่างปัจจัยต้านและปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจกว่าระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้พิจารณา"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO