ลอรีอัล ประเทศไทย จับมือ เอ็มเทค จัดเวิร์คช็อป Career Building For Women in Science ครั้งแรกในไทย

จันทร์ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๐๑๓ ๑๒:๐๘
ลอรีอัล ประเทศไทย จับมือ เอ็มเทคจัดเวิร์คช็อป Career Building For Women in Science ครั้งแรกในไทยเพิ่มทักษะและความมั่นใจแก่นักวิจัยสตรี อาจารย์ และนักศึกษาวิทยาศาสตร์เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในสายอาชีพ

บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย สดับพิณ คำนวณทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและองค์กรสัมพันธ์ (ที่ 3 จากขวา) จำกัด ร่วมกับ รศ.ดร. วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) (ที่ 2 จากซ้าย) จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวเวิร์คช็อปเชิงปฏิบัติการ ‘Career Building For Women in Science’ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อฝึกอบรมส่งเสริมพัฒนาทักษะและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิจัยสตรี อาจารย์ นักศึกษาในสายวิทยาศาสตร์ เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จในอาชีพต่อไป โดยเชิญวิทยากร ศ.ดร. สุภาพรรณ เสราภิน อาจารย์ประจำภาควิศวกรรม-วัสดุศาสตร์ University of Arizona ตัวจากทีม COACh for Scientists (กลาง) มาร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรและประโยชน์ที่นักวิจัยสตรีจะได้รับ เมื่อวันก่อน

ณ โรงแรมอีสติน สาธร

บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดเวิร์คช็อปเชิงปฏิบัติการ Career Building For Women in Science ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยเชิญวิทยากร 3 ท่านจากกลุ่ม COACh for Scientists ที่มีชื่อเสียงในประเทศสหรัฐอเมริกามาฝึกอบรมส่งเสริมพัฒนาทักษะและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิจัยสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์ เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จในอาชีพต่อไป รวมทั้งเปิดโอกาสให้อาจารย์และนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศเข้าอบรมเพื่อเสริมแกร่งทักษะให้เติบโตไปเป็นนักวิจัยวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพในอนาคต

โดยเวิร์คช็อปเชิงปฏิบัติการจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 — 8 มกราคม 2557 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

รศ.ดร. วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า “การที่เราจะพัฒนาวิทยาศาสตร์ให้ก้าวหน้า แข็งแกร่งและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้นั้น เราจำเป็นต้องมีการพัฒนา “บุคลากร” ที่ทำงานอยู่ในแวดวงวิทยาศาสตร์เป็นสำคัญ และไม่ใช่เพียงการเตรียมความพร้อมเฉพาะ “บุคลากร” ของวงการวิทยาศาสตร์วันนี้เท่านั้น แต่เราจำเป็นต้องปลูกฝังและเตรียม “บุคลากรของวันพรุ่งนี้” ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญมากในการถ่ายทอดองค์ความรู้และแบ่งปันความเชี่ยวชาญโดยปัจจุบันประเทศไทยมีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ อยู่มากมาย นักศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์

ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี นอกจากนี้ เกินกว่าครึ่งของบุคลากร

ด้านวิทยาศาสตร์เป็นสตรี และสตรียังได้ให้ความสนใจเข้าสู่วงการวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นและมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ของไทยให้เจริญก้าวหน้า สตรีจึงถือเป็นกำลังที่สำคัญอย่างมากในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ของไทยเคียงคู่ไปกับบุรุษ ลอรีอัล ประเทศไทยและศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงร่วมกันจัดเวิร์คช็อปเชิงปฏิบัติการ “Career Building for Womenin Science” ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเพื่อส่งเสริม พัฒนาทักษะ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิจัยสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์ เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จในอาชีพต่อไป”

นางสดับพิณ คำนวณทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ลอรีอัล ประเทศไทย สนับสนุนบทบาทสตรีในวงการวิทยาศาสตร์ผ่านโครงการทุนวิจัยลอรีอัลเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ For Women in Science มาอย่างต่อเนื่อง 11 ปี ลอรีอัลยังคงมองหาโอกาสในการสนับสนุนนักวิจัยสตรีในแวดวงวิทยาศาสตร์อยู่เสมอ เพราะเราเชื่อมั่นว่า วิทยาศาสตร์เป็นกุญแจสำคัญในการนำพาประเทศพัฒนาไปข้างหน้าได้ และเราก็เชื่อมั่นในศักยภาพของสตรีว่าสามารถเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าได้เช่นกัน ซึ่งลอรีอัล ประเทศไทยเองก็มีผู้บริหารที่เป็นสตรีอยู่ทั้งหมด 6 ท่านจากทั้งหมด 9 ท่าน

ทั้งนี้เราร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดเวิร์คช็อปเชิงปฎิบัติการ “Career Building for Women in Science” เปิดโอกาสให้นักวิจัยสตรีรวมไปถึงนักศึกษาวิทยาศาสตร์เข้าร่วมอบรมเสริมทักษะและพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อความสำเร็จในอาชีพ อันนำพาไปสู่การคิดค้นผลงานอันทรงคุณค่าต่อสังคมและประเทศชาติ โดยเราได้เชิญวิทยากรมากความสามารถซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์จากประเทศสหรัฐอเมริกา 3 ท่านจากกลุ่ม COACh for Scientists ที่ประกอบด้วยสมาชิกนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยกว่า 300 ท่าน กลุ่ม COACh ได้เดินทางไปแล้วทั่วโลกเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและผลักดันบทบาทสตรีในแวดวงวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ประสบความสำเร็จในสายอาชีพ ดังนั้น เราจึงเชื่อมั่นว่าการจัดเวิร์คช็อปเชิงปฏิบัติการ

ในครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพและความมั่นใจให้แก่นักวิจัยสตรี อาจารย์ และนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ในการคิดค้นผลงานอันทรงคุณค่าให้แก่ประเทศชาติต่อไปในอนาคต”ศ.ดร. สุภาพรรณ เสราภิน อาจารย์ประจำภาควิศวกรรม-วัสดุศาสตร์ University of Arizona นักวิจัยสตรีไทยเพียงหนึ่งเดียวในกลุ่ม COACh for Scientists หนึ่งในสามวิทยากรที่จะมารับหน้าที่เป็นผู้ฝึกอบรมในครั้งนี้กล่าวว่า“ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีนักวิจัยสตรีเป็นจำนวนมาก และล้วนเป็นเจ้าของสิทธิบัตรและผลงานวิจัยอันน่าทึ่งมากมาย ดิฉันมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกอบรมนักวิจัยสตรีในประเทศไทยเพื่อเสริมแกร่งทักษะที่จำเป็นต่างๆ โดยหลักสูตรที่จะนำมาอบรมนักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษาในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย 1) ทักษะการเป็นผู้นำ ซึ่งผู้ฝึกอบรมจะได้ทราบถึงคอนเซปต์ของการเป็นผู้นำ มีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับบทบาทการเป็นผู้นำของสตรีที่แตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม รวมไปถึงเทคนิคและกลยุทธ์ต่างๆ ที่สามารถนำพาไปสู่การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพได้

2) พลังในการจูงใจและต่อรอง ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของอาชีพนักวิจัย ผู้ที่เข้าอบรมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเจรจา การรับมือกับคู่สนทนาเมื่อเผชิญกับปัญหาระหว่างการสนทนา เป็นต้น

3) การเขียนและนำเสนอโครงการ นับเป็นหัวใจสำคัญของอาชีพนักวิจัย การอบรมในครั้งนี้จะนำเสนอให้เห็นถึงวิธีการเขียนและนำเสนอโครงการเชิงลึกอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการขอการสนับสนุนทุนวิจัย

4) การตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับสากล การดำเนินงานการตีพิมพ์ผลงานในวารสารว่าจะต้องมีขั้นตอนและมีเทคนิคในการติดต่อกับบรรณาธิการของวารสารอย่างไรบ้าง

“เวิร์คช็อปในครั้งนี้นอกจากดิฉันแล้วยังมีนักวิจัยสตรีที่มีชื่อเสียงในแวดวงวิทยาศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกาอีก

2 ท่านเดินทางมารับหน้าที่ผู้อบรมในครั้งนี้ด้วย ได้แก่ Prof. Geraldine L. Richmond, ภาควิชาเคมี University of Oregon และ Prof. Laura H. Greene, ภาควิชาฟิสิกส์ University of Illinois ซึ่งพวกเราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการอบรมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ เป็นแรงบันดาลใจ และช่วยเพิ่มทักษะที่สำคัญให้แก่นักวิจัยสตรีไทย อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ รวมทั้งนักศึกษาภาควิชาวิทยาศาสตร์ อันเป็นกำลังสำคัญของวงการนี้ในอนาคต” ศ.ดร.สุภาพรรณกล่าว

กลุ่ม COACh for Scientists (Committee on the Advancement of Women Chemists) เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักวิทยาศาสตร์สตรี 12 ท่านในประเทศสหรัฐอมเริกาเมื่อปี 2540 เพื่อทำหน้าที่ผลักดันบทบาทนักวิจัยสตรีให้มีความก้าวหน้าในแวดวงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากว่าในหลายประเทศทั่วโลก นักวิจัยสตรีที่มีความสามารถต่างเผชิญปัญหาในการทำงาน จนกลายเป็นอุปสรรคที่สำคัญของการก้าวไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้น กลุ่ม COACh for Scientists จึงสร้างหลักสูตรการอบรมที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อนักวิจัยสตรีรวมทั้งทำงานกับองค์กร เครือข่าย สถาบันในประเทศต่างๆ เพื่อผลักดันบทบาทนักวิจัยสตรีให้ประสบความสำเร็จและมีแรงบันดาลใจในสายอาชีพวิทยาศาสตร์ต่อไป กลุ่ม COACh ได้เดินทางไปอบรมนักวิจัยสตรีมาแล้วทั่วโลก อาทิ แคเมอรูน อัลจีเรีย เคนย่า โมร็อคโค ตูนีเซีย กาบอง โมซัมบิค บราซิล ชิลี อาร์เจนติน่า เกาหลีใต้ และจีน

เวิร์คช็อปเชิงปฏิบัติการ Career Building For Women in Science จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 6-7-8 มกราคม 2557

ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยวันที่ 6-7 มกราคมจะเปิดให้นักวิจัยสตรีเข้าร่วมอบรมและวันที่ 8 มกราคมจะเปิดให้อาจารย์และนักศึกษาวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ รับสมัครแล้ววันนี้ถึงวันที่ 5 มกราคม 2557 โดยผู้ที่สมัครก่อนวันที่ 20 ธันวาคมนี้จะได้ส่วนลดพิเศษ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.mtec.or.th/COAChThai หรือสอบถามรายละเอียดการสมัครได้ที่ โทร 02-564-6500 ต่อ 4676

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ