เด็กตาสว่างปี 2 เดินเครื่องสร้างโรงเรียน 3 ดี

พุธ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๓ ๑๐:๔๐
เมื่อวันที่ 13 -18 พฤศจิกายน 2556 ศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน(ศสอ.) ได้ลงพื้นที่ติดตามหนุนเสริมการดำเนินงานเครือข่ายเยาวชนตาสว่างโรงเรียน 3 D ในพื้นที่ 7 โรงเรียนนำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีโดยมีคณะผู้บริหาร ครูที่ปรึกษาและแกนนำเยาวชนตาสว่างร่วมแลกเปลี่ยนและนำเสนอผลการดำเนินงาน

กิจกรรมครั้งนี้สืบเนื่องจากศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน(ศสอ.)ได้มีจัดอบรมแกนนำรู้เท่าทันสื่อ หรือเยาวชนตาสว่างภาคอีสาน ปีที่ 2 ในวันที่ 23-25 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา โดยมีแกนนำเยาวชนจากโรงเรียนต่างๆ จำนวน 50 คนเข้าร่วมอบรมกระบวนการดังกล่าว

ผลสรุปจากการลงพื้นที่ มีประเด็น และความคิดเห็นของเยาวชนตาสว่างทั้ง 7 โรงเรียนดังนี้

1.โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร อำเภอศรีเมืองใหม่ น้อง ๆ ที่ผ่านการเข้าร่วมอบรมได้สะท้อนว่าหลังจากที่ได้จบค่ายอบรมแล้วได้มีการมาขยายต่อที่โรงเรียนโดยการตั้งกลุ่มเพื่อนและน้องๆชวนกันทำหนังสั้นเกี่ยวกับโรงเรียนสิ่งที่อยากจะทำต่อคือ อยากทำรายการ “อยากอยู่สื่อๆ” รายการเกี่ยวกับอาหาร ลานดนตรี นิตยสารของโรงเรียน และสื่อละคร

2.โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว น้อง ๆ สะท้อนว่า จากการที่ได้อบรมมาไดเรียนรู้เรื่องกระบวนการเท่าทันสื่อ ถ่ายทำตัดต่อจริงแต่ เวลาได้ลงมือปฏิบัติจริงยังประหม่าอยู่เนื่องจากยังไม่มีประสบการณ์ และอยากเรียนรู้เทคนิคเพื่อเติม ในเรื่องของ การตัดต่อ เทคนิคการพูด การเขียนบทเพิ่มเติม เพื่อต่อยอดความรู้จากการทีได้อบรมมา

3. โรงเรียนหกสิบพรรษาวิทยาคม สะท้อนว่า ในกระบวนการค่ายที่ผ่านมาได้รับความรู้หลายอย่างเช่น เทคนิคการเป็นพิธีกร การเขียนบทหนัง สารคดี การรู้เท่าทันสื่อ และเทคนิคการถ่ายทำตัดต่อ และหลังจากที่ได้อบรมมาได้มีการวางแผน ในการต่อยอดต่อ คือ การทำหนังสั้น วีดีทัศน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม แต่อุปกรณ์ยังไม่พร้อมในการถ่ายทำ และยังขาด ประสบการณ์และเทคนิคบางอย่าง จึงอยากจะเรียนรู้เทคนิคเพิ่มเติม

4.โรงเรียนอุบลราชธานีศรีวนาลัย สะท้อนว่าจากที่ไปอบรมมานักเรียนมีความกระตือรือร้นที่อยากจะทำสื่อ และเริ่มลงมือทำข่าว เกี่ยวกับการเลือกตั้ง และการใช้เวลาว่างของนักเรียน ทั้งนี้มีปัญหาอุปสรรคในการทำงานคือเรื่องอุปกรณ์ มีการแก้ไขโยใช้โทรศัพท์มือถือในการถ่ายทำ ต่อไปจำทำข่าวกิจกรรมสร้างสรรค์ของโรงเรียนทั้งภายในและนอกโรงเรียน ซึ่งทางโรงเรียนจะให้การสนับสนุนกิจกรรมนี้ เต็มที่และพร้อมที่ขยายผลในโรงเรียนให้เป็นชมรมต่อไป

5.โรงเรียนบ้านคำนางรวย น้อง ๆ สะท้อนว่า อยากทำวีดีทัศน์ สารคดี ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์น้อยโยเริ่มจากแนะนำสถานที่ต่างๆในโรงเรียน และหมู่บ้านเพื่อให้คนได้รู้จักโรงเรียนและเรื่องราวของหมู่บ้านคำนางรวย ส่วนคณะผู้บริหารโรงเรียนมีแนวคิดอยากให้ ศสอ.อบรมเพิ่มเติมให้นักเรียนที่มีความสนใจทางด้านเทคนิคในการตัดต่อเพื่อต่อยอดนักเรียนที่เคยอบรมแล้วและฝึกนักเรียนที่สนใจต่อไป

6.โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา นักเรียนแกนนำสะท้อนว่า หลังจากที่ได้อบรมมายังไม่มีการทำสื่อสารคดีอย่างจริงจังแต่ได้มีการออกไปให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสื่อและการรู้เท่าทันสื่อหน้าเสาธงตอนเช้า ขณะนี้มีการวางแผนพูดคุยกันเกี่ยวกับการทำหนังสั้นคุณธรรมและอยากพัฒนาตนเองเป็นพี่เลี้ยงจัดอบรมน้องๆในโรงเรียนเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อในชั่วโมงจิตอาสา

7. โรงเรียนประขาสามัคคี แกนนำนักเรียนที่ร่วมอบรมสะท้อนว่าอยากทำหนังสั้นเท่าทันสื่อ และหนังประโมทัย(หนังบักตื้อ)ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องรู้เท่าทันสื่อ เนื่องจากนักเรียนมีพื้นฐานพอสมควร จะได้ใช้ความรู้พื้นฐานบวกกับเทคนิคการถ่ายทำเพื่อมาเป็นหนังผลงานของนักเรียนคาดหวังเป็นการประชาสัมพันธ์โรงเรียนด้วย

ทางด้านผู้บริหารโรงเรียนทุกโรงเรียนมีความสนใจและยินดีสนับสนุนกิจกรรมโรงเรียนอย่างเต็มที่ เช่น นายบุญเหล็ง เจริญลอย ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร กล่าวว่ากิจกรรมนี้เป็นสิ่งที่ดีที่มีหน่วยงานภายนอกเองเข้ามาเสริมเติมเต็มความรู้ให้กับนักเรียน ซึ่งความรู้นี้ไม่มีในห้องเรียนซึ่งเป็นความรู้ใหม่ๆให้นักเรียนได้ฝึกฝนตนเอง ซึ่งทางโรงเรียนศรีเมืองวิทยาคารจะเปิดศูนย์การเรียนรู้ในโรงเรียน ซึ่งจะได้ใช้ความรู้นี้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เด็กนักเรียนสมัยนี้มีความคิดสร้างสรรค์และมีการต่อยอดความคิดที่ดีอยู่แล้ว ถ้าได้รับการเต็มเต็มจากหน่วยงานที่มีความรู้จะทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

นายโกสิน พูลวัน ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว กล่าวว่า ทางโรงเรียนสนใจในการทำสื่อและอยากขยายผลในโรงเรียนเพื่อจะได้ฝึกนักข่าวเยาวชนของโรงเรียนเอง แต่ที่ผ่านมายังไม่มีบุคลาการที่มีความรู้เรื่องการทำสื่อวีดีโอ จึงเป็นโอกาสดีที่ทาง ศสอ.ได้ให้โอกาสนักเรียนได้ร่วมเรียนรู้การทำสื่อจากผู้มีประสบการณ์ และทางโรงเรียนจะขอความอนุเคราะห์ จากศสอ. เพื่อช่วยอบรมการผลิตสื่อให้กับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว อีก 1 รุ่น ในต้นเดือน ธันวาคมที่จะถึง

นายภูมิชัย บุญรมย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนหกสิบพรรษาวิทยาคม กล่าวว่า กิจกรรมที่เกี่ยวกับด้านสื่อเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกวิชาเรียน ทางโรงเรียนได้มีแผนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจะได้ขอความร่วมมือกับกลุ่มนักเรียนที่ผ่านการอบรมมา ช่วยทำสื่อเกี่ยวกับสารคดีชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน และการเรียนรู้ชุมชน เป็นโอกาสดีที่ ทาง ศสอ.ได้ให้นักเรียนโรงเรียนหกสิบพรรษาฯ ได้ร่วมเรียนรู้ ทางโรงเรียนจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่ไป

ทั้งนี้ศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน(ศสอ.) มีแผนจัดเวทีนำเสนอโครงงานโรงเรียน 3 ดี ของโรงเรียนนำร่องทั้ง 7 แห่ง โดยเยาวชนแกนนำได้เป็นได้เป็นผู้นำเสนอโครงงาน ในวันที่ 30 พฤศจิกายน ที่จะถึง โดยมีภาคีเครือข่าย นักวิขาการ สื่อมวลชน และนักกิจกรรมร่วมให้ข้อคิดเห็นเพื่อพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นทีโดยเชื่อมโยงเรื่องรู้เท่าทันสื่อ จัดทำเป็นกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ในโรงเรียนให้ต่อเนื่องจนถึงระยะเวลาปิดภาคเรียนในปี 2557 ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี