วว.ลงนามความร่วมมือสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย ...รับรองผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ

จันทร์ ๐๒ ธันวาคม ๒๐๑๓ ๑๕:๐๔
นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และนายพิพัฒน์ วีระถาวร นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBIA) ลงนามบันทึกข้อตกลงความภายใต้โครงการด้านการรับรองผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable Bioplastics) ณ ห้องประชุม ชั้น 36 อาคารซันทาวเวอร์ บี เมื่อเร็วๆ นี้

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการ วว. ชี้แจงว่า พลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพ คือ พลาสติกที่เมื่อผ่านกระบวนการหมักทางชีวภาพ (composting) ในโรงปุ๋ยหมัก จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ สารประกอบทางอินทรีย์ และมวลชีวภาพ และต้องไม่ทิ้งสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่า สิ่งแปลกปลอม หรือสารพิษไว้ตามที่ระบุไว้ตามมาตรฐานการทดสอบ (กลุ่มสหภาพยุโรป: EN 13432, ประเทศสหรัฐอเมริกา:ASTM D-6400 และระดับนานาชาติ: ISO 17088:2008) พลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพมีแหล่งกำเนิดได้ทั้งจากวัตถุดิบชีวมวล (biomass) หรือวัตถุดิบทางการเกษตรที่สามารถสร้างขึ้นจากวัตถุดิบที่ปลูกทดแทนใหม่ได้ (renewable resources) หรือ ปิโตรเคมี (non-renewable resources or fossil) โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจะมีตราสัญลักษณ์ตามมาตรฐานที่ได้

การมีตราสัญลักษณ์ฯ อยู่บนผลิตภัณฑ์จะช่วยผู้บริโภคให้สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมตามวัตถุประสงค์ และช่วยให้ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายได้รับผลประโยชน์จากการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับของประชาชน และส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ผู้ผลิตเองในระยะยาว ตราสัญลักษณ์จึงเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยรักษาธรรมชาติผ่านทางการผลิตและการบริโภคของประชาชน

สำหรับบทบาทหน้าที่ของ วว. โดยสำนักรับรองระบบคุณภาพ (สรร.) ทำหน้าเป็นหน่วยรับรอง (Certification Body) ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลจากหน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Bodies) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวได้ทางชีวภาพตามมาตรฐานสากล และตามหลักเกณฑ์การพิจารณาให้การรับรอง

ในส่วนของสมาคมฯ จะเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้ในการรับรองผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ เพื่อส่งเสริมการตลาดและสร้างมาตรฐานการย่อยสลายทางชีวภาพให้กับสินค้า

โดยขอบเขตการรับรองผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ นั้น จะครอบคลุมการรับรองผลิตภัณฑ์สำหรับวัตถุดิบ (Basic Materials) ส่วนประกอบ (Component, Constitute) และผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย (finished Products) ซึ่งได้ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานระหว่างประเทศ เช่น ISO 17088 หรือมาตรฐานระดับภูมิภาค เช่น EN 13432 หรือมาตรฐานระดับประเทศ เช่น ASTM D 6400 หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า

?...ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่ดีสำหรับ วว. และ TBIA ในการได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านพลาสติกชีวภาพของไทย ให้ได้รับอนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวได้ทางชีวภาพของสมาคมฯ เพื่อเป็นการส่งเสริมการตลาด และสร้างมาตรฐานการย่อยสลายทางชีวภาพให้กับสินค้า และเป็นการเผยแพร่ตราสัญลักษณ์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป...?ผู้ว่าการ วว.กล่าวสรุปในตอนท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ