เกษตรฯ คิกออฟ โปรเจกยักษ์ ?เมืองเกษตรสีเขียว? วางเป้า 6 จังหวัดสู่กรีนซิตี้ ในปี 2561 เดินหน้าบูรณาการร่วมหน่วยงานในระดับพื้นที่ เชื่อมโยงกับแผนโซนนิ่ง และสมาร์ทฟาร์มเมอร์สู่แผนปฏิบัติงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ หวังสร้างสินค้าในแต่ละจังหวัดเจาะนิชมาร์เกต

อังคาร ๐๓ ธันวาคม ๒๐๑๓ ๑๖:๒๔
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนโครงการเมืองเกษตรสีเขียว นับเป็น 1 ใน 8 โครงการสำคัญของกระทรวงเกษตรฯ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศในเรื่องของการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยโครงการดังกล่าว มุ่งพัฒนาจังหวัดที่มีศักยภาพเป็นเมืองเกษตรสีเขียว ซึ่งเบื้องต้นจะดำเนินการนำร่องใน 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ศรีสะเกษ หนองคาย จันทบุรี ราชบุรี และพัทลุง โดยการขับเคลื่อนโครงการฯ จะเชื่อมโยงกับโครงการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจหรือโซนนิ่ง และโครงการสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในระดับพื้นที่ โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานที่จะประสานงานกับเกษตรกร เพื่อให้เกิดการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในระดับต้นน้ำซึ่งจะเป็นบทบาทหลักของกระทรวงเกษตรฯ

?สำหรับการดำเนินงานในปี 2557 ซึ่งเป็นปีแรกของโครงการฯ ภายใต้งบประมาณจำนวน 440 ล้านบาท จะมีการชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน พร้อมทั้งสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งในระดับส่วนกลางและพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะมีการลงพื้นที่เพื่อจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานในระดับพื้นที่และเกษตรกรเป้าหมายทั้ง 6 จังหวัดข้างต้น เพื่อมุ่งพัฒนาให้เกิดเมืองเกษตรสีเขียวในปี 2561 ซึ่งแต่ละจังหวัดเป้าหมายจะต้องเป็นผู้คัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเมืองเกษตรสีเขียว ซึ่งมีความพร้อมด้านการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญและโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่การผลิต รวมถึงสินค้าเกษตรหลักในพื้นที่ที่สามารถพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มไปยังตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือ นิชมาร์เก็ตได้ เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่ทำใหเกษตรกรมีผลผลิตที่สูงขึ้น มีความปลอดภัยทางอาหาร ตลอดจนกระบวนการผลิตและแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตรในพื้นที่ด้วยการใช้เทคโนโลยีสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ จะมีกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐานเรื่องดิน มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพดิน ด้านพืช มีการส่งเสริมการผลิตตามระบบ GAP รวมถึงขยายผลไปสู่กิจกรรมนำของเสียจากกระบวนการผลิตมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อรองรับการผลิตแบบ Zero waste และลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น

?"การกำหนดพื้นที่ดำเนินงาน ควรเริ่มต้นในพื้นที่ที่สามารถบูรณาการกิจกรรมต่างๆ ให้ได้มากที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นระดับหมู่บ้าน ตำบล หรืออำเภอ เพื่อให้สามารถเห็นผลเป็นรูปธรรม เพื่อระดมให้ทุกหน่วยงานสามารถเข้าไปดำเนินงานในเป้าหมายเดียวกันตามแผนปฏิบัติงานปี 2557 และในระยะต่อไป จะมีการขยายขอบเขตการดำเนินงานโดยบูรณาการระหว่างหน่วยงานในระดับพื้นที่ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรฯ เพื่อร่วมกันพัฒนาให้เกิดเมืองเกษตรสีเขียวเต็มรูปแบบในปี 2561"นายยุคล กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ