บทความพิเศษเรื่อง: เกษตรทางเลือก สู่มาตรฐานอาหารสากล

ศุกร์ ๑๓ ธันวาคม ๒๐๑๓ ๑๑:๐๘
สหภาพยุโรปกำลังเฝ้ามองอย่างไม่วางใจ เกี่ยวกับการนำเข้าพืชผักผลไม้จากประเทศไทย เนื่องจากมีรายงานว่า เราใช้สารเคมีที่เป็นพิษในภาคการเกษตรมากเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ( ข้อมูลโดย องค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติ ) (FAO) โดยเฉพาะพืชผักผลไม้ที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด และเป็นที่นิยมบริโภคอย่างสูง เช่น ข้าว กาแฟ ถั่วฟักยาว ผักชี ผักกาด อ้อย คะน้า และพืชตระกูลแตง ซึ่งมีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานมากถึง 40 % ในจำนวนนั้นเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชร้ายแรง 4 ชนิด ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกได้ประกาศยกเลิกการใช้สารเคมีเหล่านี้ไปแล้ว ได้แก่ 1. สารไดโครโดฟอส 2. สารเมโทบิล หรือ แลนเนท 3. สารคาร์โบฟูราน หรือฟูราคาน 4. สารอีพีเอ็น หรือ คูมิฟอส

และล่าสุดองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา ( USFDA ) ได้ยกเลิกการนำเข้าอาหารจากประเทศไทยถึง 12 รายการ ได้แก่ 1. มะขามหวาน 2. มะขาม 3. เส้นก๋วยเตี๋ยว 4. เส้นเล็ก 5. น้ำปลา ( ชนิด Mud Fish Sauce และ Gouramy Fish Sauce เพราะมีการพบสิ่งสกปรกเน่าเสียเจือปน ) 6. ลิ้นจี่กระป๋องในน้ำเชื่อม ( พบการบวมของภาชนะบรรจุ หรือมีการรั่วซึม ) 7. เครื่องแกงเขียวหวาน 8. เครื่องแกงแดง ( พบว่าผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนการเป็นผู้ผลิตอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำ หรือทะเบียนผู้ผลิตอาหารที่ใช้กรดเป็นส่วนประกอบ ) 9. มะม่วงหั่นเป็นชิ้นในน้ำเชื่อม (พบสารเคมีจำพวกยาปราบศัตรูพืชเจือปน) 10. กล้วยอบแห้ง ( พบสาร ซัลไฟต์ ซึ่งไม่ได้ระบุไว้บนฉลากสินค้า ) 11. ปลาแมกเคอเรล ทอดรสเผ็ด และ 12. ปลาแมกเคอเรล ทอดในซอสพริก ( โดยพบว่าสินค้าถูกผลิต บรรจุ หรือ เก็บอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกต้องตามสุขอนามัย ) สาเหตุต่างๆเหล่านี้จึงทำให้ทางการสหรัฐเตรียมทำลายทิ้ง หรือส่งกลับใน 90 วัน

พืชพรรณธัญญาหารต่างๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบวัตถุดิบ กึ่งสำเร็จรูป หรือสำเร็จรูปก็ตาม ส่วนใหญ่ก็ต้องอาศัยวัตถุดิบจากภาคเกษตร เป็นหลัก และภาคเกษตรกรรมของเราก็ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจมากพอ ในการผลิตพืชผักผลไม้ ให้ได้อย่างปลอดภัยไร้สารพิษ ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคทั้งใน และต่างประเทศ โดยเฉพาะกับผู้บริโภคในประเทศ ภาครัฐควรให้การส่งเสริมให้เกษตรกรมีกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจแบบเข้มข้น เพื่อปฏิวัติทางความคิด ติดอาวุธทางปัญญา แก่พี่น้องเกษตรกร เพื่อให้เกิดสำนึกรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยทางอาหาร โดยเริ่มจากการผลิตพืชไร่ไม้ผลแบบปลอดภัยไร้สารพิษ รวมถึงการทำเกษตรแบบบูรณาการ เป็นต้น

อีกทางเลือกหนึ่งคือ การใช้ หินแร่ภูเขาไฟ สารปรับปรุงดินที่มีส่วนประกอบของหินแร่ภูเขาไฟมากกว่า 50% ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ดินทุกสภาพ ใช้ปรับสภาพดินให้ร่วนซุย มีคุณภาพ ลดโรคและแมลง รวมถึงทำให้พืชไร่ไม้ผลได้รับแร่ธาตุอาหาร ครบถ้วน อาทิ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุรอง ธาตุเสริม และซิลิก้า ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชโดยตรง ทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ และแข็งแรง ที่สำคุณที่สุด ปลอดภัยไร้สารพิษ ซึ่งทำได้ง่าย เพื่อให้มีทางเลือกมากขึ้น หรือ ลด ละ เลี่ยง จนถึงการเลิกใช้สารพิษไปโดยปริยาย เพื่อร่วมพัฒนาอาหารของโลกให้ปลอดภัยจากสารพิษ และสารตกค้าง ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม

*** หินแร่ภูเขาไฟ มีการทำวิจัยโดยนักวิชาการจากทั่วโลก อาทิ ญี่ปุ่น จีน อเมริกา บราซิล อินเดีย เกาหลี ออสเตรเลีย ฯลฯ ( ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหินแร่ภูเขาไฟใช้ในการเกษตร สามารถค้นหาเพิ่มเติมได้จากคีย์เวิร์ด Silicon In Agriculture )

สำหรับเกษตรกรที่มีข้อสงสัย หรือต้องการปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ 081-313-7559

สนับสนุนบทความโดย นายมนตรี บุญจรัส กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด ( ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ )

สอบถามข้อมูลข่าวได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2989 7844 , 081 732 7889

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025