การจัดงานครั้งนี้เพื่อเชิญชวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ผลิตภัณฑ์ภาคเหนือ และประชาชนทั่วไป เปิดมิติใหม่กับการขายสินค้าผ่านช่องทาง “อีคอมเมิร์ซ” อันจะเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดนำไปสู่ตลาดสากล โดยภายในงานมีเรื่องรู้เทคนิครุก…รับ อย่างไรให้ผลิตภัณฑ์โกอินเตอร์ ,เทรนด์ใหม่ธุรกิจภาคเหนือรับปี 2014 , การทำธุรกิจช่องทางใหม่ด้วย E-commerce บนอีเบย์ และอะเมซอนเพื่อคนรุ่นใหม่ รวมถึงปั้นแบรนด์อย่างไรให้แจ้งเกิดในตลาดโลกจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ
คุณปิยะนันท์ มหานุภาพ นายกสมาคมผู้ผลิตและส่งออกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ หรือ นอร์แมค , คุณจิรบูลย์วิทยสิงห์ ประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน ,อาจารย์ศวิษฐ์ วิภาคกิจอนันต์ นักสอนธุรกิจอีคอมเมิร์ซมืออาชีพที่ผลิตลูกศิษย์แล้วกว่า 3,000 รายจากสถาบัน อี โนวเลจ เซ็นเตอร์และนักวิชาการด้านการตลาดจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นต้น
นายธวิทย์ เรืองรองปัญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอสเอ็มอี ชิปปิ้ง จำกัด ผู้จัดงานครั้งนี้ เปิดเผยว่า ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้านจัดงานใหญ่ นับเป็นครั้งแรก ประเดิมลงภาคเหนือก่อน
โดยการจัดงานมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในระบบการขายช่องทางใหม่ ที่เรียกว่า อีคอมเมิร์ซ ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการผลักดันให้สินค้าไทยแจ้งเกิดในตลาดโลก เนื่องจากสินค้าไทย เช่น ผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ของดีของจังหวัด หรือของภาค รวมถึงสินค้าเอสเอ็มอี โอท็อปมีความประณีต สวยงาม และเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอยู่แล้ว หากทำให้ผลิตภัณฑ์ทำให้ทั่วโลกได้มองเห็นสินค้าจริงๆ และสั่งซื้อได้ทันทีไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เพราะลดข้อจำกัดเรื่องช่องทางการจัดจำหน่ายตรงจุดนี้ก็จะทำให้สินค้าไทยมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก
นอกจากนี้ ทางผู้จัดเองฯ ยังเล็งเห็นถึงโอกาสในการที่คนรุ่นใหม่จะเรียนรู้สร้างรายได้ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย หรือบัณฑิตจบใหม่ที่กำลังหางานทำ รวมทั้งคนทำงานที่ต้องการหารายได้เสริม หรือต้องการมีธุรกิจของตัวเอง ก็สามารถเข้ามาเรียนรู้เรื่องการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซบนอีเบย์ และอะเมซอนได้ตลอดจนเว็บการซื้อขายอื่นๆ ที่มีชื่อเสียง เรียนรู้เทคนิคขายได้แล้ว ธุรกิจยั่งยืน สร้างลูกค้าประจำ ขายอย่างไรให้ลูกค้าประทับใจ เทคนิคการหาดีมานด์ความต้องการของลูกค้าให้เจอแล้วนำมาขาย เรียนรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า (Valued Creation) ให้ได้กำไรทำอย่างไร เรียนรู้วิธีการสร้างสินค้าให้มีเอกลักษณ์เฉพาะ หรือสร้างรุ่น Limited Edition เทคนิคการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่นลูกค้าไม่โอนเงินมาหลังจากสั่งของ หรือลูกค้าระงับการจ่ายเงินหลังจากที่เราส่งของแล้ว การแก้ปัญหา sell limit การที่ลูกค้าประมูลได้แล้วไม่จ่ายเงินต้องทำอย่างไร ตลอดจนการเรียนรู้เทคนิควิธีการขนส่งให้ต้นทุนต่ำ ทำอย่างไร เป็นต้น
"ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นช่องทางการขายใหม่ที่น่าสนใจ และเป็นกระแสมาแรง ซึ่งจะเป็น Next Trend ในปีหน้าอย่างแน่นอน ที่หลายกลุ่มธุรกิจทั้งใหญ่หรือเล็กต่างก็จะเข้ามารุกช่องดังกล่าวกันมากขึ้น เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกเปลี่ยนไป นิยมซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น เพราะง่าย สะดวก และสามารถซื้อหาได้ทุกที่ตลอดเวลา ผ่านสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ดังนั้นผมจึงมองว่าการสัมมนาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ภาคเหนือ ที่มีสินค้า มีของดีอยู่ในมือ แต่อาจขาดช่องทางการขายหรือเชื่อมต่อไปยังผู้บริโภค ซึ่งอีคอมเมิร์ซนี้เองจะเป็นเวทีการซื้อขายที่ไม่มีพรมแดนอีกต่อไป" นายธวิทย์ กล่าว
นอกจากนี้ในเวทีโลก ฝรั่งเขาต้องการสินค้าจากเมืองไทย โดยเฉพาะมีโลโก้ หรือตีตรา เมดอินไทยแลนด์ เป็นสิ่งที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้อย่างยิ่ง เพราะลูกค้าต่างชาติจะมีความรู้สึกที่ดีกับเมดอินไทยแลนด์ เพราะรู้สึกได้ถึงอัตลักษณ์ (Brand Identity) ที่บ่งบอกถึงความประณีต งดงาม และมีความเป็นวัฒนธรรมเข้ามาใส่ในตัวสินค้า
ซึ่งเนื้อหาสาระเหล่านี้ ได้ถูกหยิบยกและนำมาให้ความรู้ภายในงานสัมมนา “ E-commerce … ขุมทรัพย์ใหม่ผลิตภัณฑ์ภาคเหนือ สู่ตลาดโลก ” เพื่อช่วยให้สินค้าไทยยกระดับไปยังตลาดโลกไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
สอบถามเพิ่มเติม : 021057777