เชิญร่วมฟังการเสวนา กล้วยไม้ไทยไม่ใกล้ม้วย ในงาน Botanic Festival 2014

ศุกร์ ๒๐ ธันวาคม ๒๐๑๓ ๑๑:๕๔
ในวันที่ 21 ธันวาคม 2556 องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (อ.ส.พ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังการเสวนา “กล้วยไม้ไทยไม่ใกล้ม้วย : แนวทางการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและคลุกคลีในวงการกล้วยไม้ ทั้งทางด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์ และการต่อยอดทางธุรกิจ ได้แก่ “บทบาทสวนพฤกษศาสตร์กับการอนุรักษ์กล้วยไม้” โดย ดร.สุญาณี เวสสบุตร ผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ “การตลาดและการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากฐานชีวภาพ” โดย ผศ.ดร.วีรพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) “การผสมพันธุ์และพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี” โดย คุณธีรพันธ์ โตธิรกุล ผู้จัดการส่วนงานวิจัยและพัฒนาพืช มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง โครงการพัฒนาดอยตุง และ “การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อประกอบอาชีพ” โดย คุณสมจิตร์ ยาดี ผู้มีอาชีพปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ภายในงาน Botanic Festival 2014 ณ ลานกิจกรรมผานนทรี สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ โทรศัพท์ 0-5384-1234, 0-5384-1023 และ www.qsbg.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ