วีเอ็มแวร์ชี้เวอร์ชวลไลเซชั่น และคลาวด์คอมพิวติ้ง จะช่วยเพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันทั่วโลกของประเทศไทยในปี 2557

อังคาร ๒๔ ธันวาคม ๒๐๑๓ ๑๓:๔๑
วีเอ็มแวร์, อิงค์ (NYSE: VMW) ผู้นำระดับโลกด้านเวอร์ชวลไลเซชั่น และโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคลาวด์ได้ระบุแนวโน้มในปี 2557 ที่จะมาเปลี่ยนธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทย

ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยและอินโดจีนของวีเอ็มแวร์ ประเทศไทย กล่าวว่า "วีเอ็มแวร์มีวิสัยทัศน์มุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างศักยภาพด้านไอทีเพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ชาญฉลาด และมีผลกำไรเพิ่มมากขึ้น โดยการใช้ประโยชน์จากคลาวด์ และการทำให้ฝ่ายไอทีสามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่เรียบง่าย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ธุรกิจต่างๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่ายของพวกเขาได้มากขึ้น นอกจากนี้ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดอย่างต่อเนื่องยังจะผลักดันให้เกิดความต้องการซอฟต์แวร์เดสก์ทอปเวอร์ชวลไลเซชั่นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้จากทุกที่ ถ้าพวกเขาไม่สามารถเดินทางไปที่สำนักงานของพวกเขาได้ และเทคโนโลยีของวีเอ็มแวร์ยังยอมให้ผู้ใช้ย้ายสถานที่ทำงานของพวกเขาได้ทันทีเมื่อพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงสถานที่ทำงานที่อยู่ในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือความไม่สงบทางการเมืองได้"

ภาพรวมไอทีขององค์กรในปี 2556

มีสองปัจจัยที่กำลังขับเคลื่อนไอทีขององค์กรในปีนี้ ปัจจัยแรกก็คือเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นที่เป็นตัวทำให้องค์กรต่างๆ สมารถสร้างนวัตกรรม และการเติบโตโดยการทำให้การดำเนินงานด้านไอทีเป็นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุน เป้าหมายและการจัดลำดับความสำคัญทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยให้โครงการด้านไอทีในเชิงกลยุทธ์เกิดขึ้นได้มากขึ้น จากการสำรวจในหัวข้อ IDC Server Economies Index ที่วีเอ็มแวร์เป็นผู้ให้การสนับสนุนพบว่า เวอร์ชวลไลเซชั่นช่วยให้องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์ ไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ และการจัดการได้ถึง 30.96 พันล้านบาทในช่วงปี 2556-2563 เวอร์ชวลไลเซชั่นคือหนึ่งในพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของไอทีรุ่นถัดไปของเรา และเงินทุกบาทที่ประหยัดได้จะทำให้เกิดโครงการเชิงกลยุทธ์เหล่านี้มากขึ้น ปัจจัยที่สอง อุตสาหกรรมกำลังเปลี่ยนไปใช้แนวคิด Software-Defined ในการจัดการศูนย์ข้อมูล เราเรียกสิ่งนี้ว่า ศูนย์ข้อมูลที่ถูกกำหนดขึ้นด้วยซอฟต์แวร์ (Software Defined Datacenter - SDDC) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ช่วยให้ไอทีขององค์กรทำงานร่วมกันได้มากขึ้น มีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น และยังช่วยให้ใช้บริการที่อยู่บนคลาวด์ส่วนตัว และสาธารณะได้ดีที่สุด ตลอดจนช่วยให้พนักงานสามารถทำงานในขณะเคลื่อนที่ (BYOD) ได้มากขึ้น

แลหลังแนวโน้มปี 2556

แนวโน้มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยคือวิวัฒนาการของการประมวลผลคลาวด์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันอัตราการปรับใช้งานในประเทศไทยอยูที่ร้อยละ 88 และองค์กรต่างๆ ได้พิจารณาให้อยู่ในอันดับที่มีความสำคัญสูงสุดในการมีส่วนช่วยปรับปรุงธุรกิจ (ที่มา:VMware Cloud Index 2013 ซึ่งเป็นการศึกษาองค์กรต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่จัดทำโดยวีเอ็มแวร์ภายใต้การดำเนินการสำรวจของฟอร์เรสเตอร์คอนซัลติ้ง)

ตอนนี้ความท้าทายคือการทำให้โครงการด้านไอทีสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้า ในประเทศไทย องค์กรร้อยละ 78 บอกว่าสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับธุรกิจของพวกเขามากที่สุดคือการทำให้สนองตอบความคาดหวังของลูกค้า ที่เพิ่มขึ้นและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

อีกแนวโน้มในเวียดนามก็คือพนักงานที่ทำงานแบบเคลื่อนที่ซึ่งใช้อุปกรณ์หลายๆ อย่างกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้น บริษัทต่างๆ จะต้องมีการขอบข่ายของเวอร์ชวลไลเซชั่นที่เป็นแกนหลักออกไปเพื่อสร้างพื้นที่ทำงานเสมือนจริงสำหรับให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานในระหว่างการเดินทางได้

"ไม่ว่าคุณจะเรียกสิ่งนี้ว่า BYOD หรือความสามารถในการทำงานแบบเคลื่อนที่ขององค์กรก็ตาม แต่บริษัทต่างๆ ก็จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ในประมวลผลสำหรับผู้ใช้เพื่อทำให้บุคลากรของพวกเขาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้จากทุกที่ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แพ็บเล็ต แล็ปท็อป" ดร. ชวพล กล่าว "การทำงานไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่กับสถานที่อีกต่อไป และพนักงานก็ต้องการโซลูชั่นที่ปลอดภัย และปราศจากความเสี่ยงที่ผ่านการรับรองของฝ่ายไอทีแล้ว"

ส่องกล้องมองแนวโน้มปี 2557

แนวโน้มของเวอร์ชวลไลเซชั่น คลาวด์ และความสามารถในการทำงานแบบเคลื่อนที่ของผู้ใช้จะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยในปี 2557 และจะยังคงผลักดันนวัตกรรมแก่ผู้ที่นำไปปรับใช้ และมีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางความคิดขององค์กรต่างๆ ด้วย

- เวอร์ชวลไลเซชั่น และศูนย์ข้อมูลที่ถูกกำหนดขึ้นด้วยซอฟต์แวร์

เวอร์ชวลไลเซชั่นจะยังคงได้รับการผลักดันอย่างต่อเนื่องในปี 2557 ที่กำลังมาถึง ในขณะที่ทุกภาคส่วนในประเทศไทยตระหนักถึงประโยชน์ของเวอร์ชวลไลเซชั่น และมีการนำเอาการประมวลผลแบบคลาวด์มากปรับใช้ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล และผู้ค้าระบบสื่อสารโทรคมนาคมได้นำคลาวด์ไปใช้สร้างบริการ และการพัฒนาโปรแกรมการศึกษาใหม่ๆ จากรายงาน VMware Cloud Index 2013 แสดงให้เห็นว่าร้อยละ 81 ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยมองว่าคลาวด์เป็นเรื่องสำคัญที่สุด หรือมีความเกี่ยวข้องกับองค์กรของพวกเขามากที่สุด และร้อยละ 91 กล่าวว่าการประมวลผลแบบคลาวด์ หรือแนวทางแบบ 'as-a -Service' มีความสำคัญ หรือมีความหมายอย่างมากต่อองค์กรของพวกเขา และมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ

ประเทศไทยเชื่อว่าแนวทางแบบถูกกำหนดขึ้นด้วยซอฟต์แวร์ (software-defined) ที่กำลังถูกติดตั้ง และใช้บริการจัดการทรัพยากรของศูนย์ข้อมูล (เซิร์ฟเวอร์ หน่วยจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย) จะมีผลกระทบต่อองค์กรของพวกเขาอย่างชัดเจนในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า

"มันเป็นข่าวที่ดีมากที่ธุรกิจจำนวนมากตระหนักถึงศักยภาพของคลาวด์มากขึ้น" ดร. ชวพล กล่าว " ในปี 2557 เราคาดว่าองค์กรต่างๆ จะเน้นการลงทุนในเรื่องเวลา เงิน และทักษะเกี่ยวกับคลาวด์ส่วนตัวและไฮบริดคลาวด์"

- การจัดการอุปกรณ์พกพา และการประมวลผลของผู้ใช้

แนวโน้มด้านการประมวลผลของผู้ใช้ในปี 2556 คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างชัดเจนมากขึ้นในปีหน้าซึ่งมีผลมาจากการที่พนักงานมีการเข้าร่วมโปรแกรม BYOD มากขึ้น ความแตกต่างระหว่างชนิดของอุปกรณ์พกพาในท้องตลาด และรูปแบบการประมวลผลทำให้จำเป็นต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ไม่เพียงนโยบายขององค์กรในการให้พนักงานใช้อุปกรณ์ของตนเองในการทำงานจะต้องมีการทบทวน ปรับปรุง และเพิ่มเติม แต่มีเพียงองค์กรของรัฐในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพียงร้อยละ 51 เท่านั้นที่ให้ความสำคัญสำหรับองค์กรของพวกเขาในการนำแนวคิด BYOD มาใช้ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ( ลำดับความสำคัญสูงสุดมาจากประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 67) ด้วยการนำแนวคิด BYOD มาใช้มากขึ้น พนักงานจะสามารถใช้ประโยชน์จากการใช้อุปกรณ์หลากหลายประเภทในการเข้าถึงคลาวด์ส่วนตัว ผู้ใช้จะใช้ความหลากหลายของอุปกรณ์ร่วมกับ เครื่องพีซีที่เป็นหนึ่งในหลายๆ ตัวเลือก แต่ไม่มีใครใช้อุปกรณ์ ตัวเดียวทำทุกกอย่าง ดังนั้น คลาวด์จะเป็นเครื่องมือในการเชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านี้เข้าด้วยกัน

องค์กรที่ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีคลาวด์สำหรับการสำรองข้อมูล และการกู้คืนระบบจากภัยพิบัติ นอกจากนี้ธุรกิจของไทยยังยอมรับว่าไอทีมีบทบาทสำคัญต่อการขีดความสามารถขององค์กรต่างๆ ของไทย ที่ไม่เพียงแต่ใช้ประโยชน์จากไอทีในรูปแบบของบริการ และลดค่าใช้จ่ายเงินทุน แต่ยังมีในเรื่องของการกู้คืนระบบจากภัยพิบัติ และความต่อเนื่องทางธุรกิจอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ