ดร.สุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า รัฐบาลโดยการนําของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้จัดทํานโยบายสําหรับขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศ (Thailand Country Strategy) เพี่อเป็นแผนและแนวทางในการขับเคลื่อนประเทศ เพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำ ส่งเสริมการเติบโต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายพัฒนาประเทศไปสู่อนาคตที่มั่นคงและสมดุล ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจาก ประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) กระทรวง ICT จึงได้ดําเนินการตามนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ประเทศด้วยแผนยุทธศาสตร์โครงการ SMART THAILAND 2020 โดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือสําคัญในการพลิกฟื้นอนาคตประเทศไทย สอดรับกับนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ และนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยสำหรับปี พ.ศ. 2554-2563 หรือ ไอซีที 2020
ด้วยวิสัยทัศน์และพันธกิจหลักของกระทรวง ICT เป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของประเทศ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งและเสริมประสิทธิภาพการทํางานของภาครัฐทั้งระบบ ในการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจอย่างไร้ขีดจํากัด และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว วันนี้ กระทรวง ICT พร้อมแล้วที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการนําพาประเทศไทยสู่การพัฒนา อย่างก้าวกระโดด ด้วยการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกมิติการพัฒนา ผ่านยุทธศาสตร์พลิกฟื้นประเทศไทยด้วย ICT หรือ ICT SHIFT the FUTURE of Thailand เพื่อยกระดับอนาคตประเทศไทยด้วย ICT สู่ปี 2020 ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ คุณภาพชีวิต การศึกษา ธุรกิจและอุตสาหกรรม พลังงานและสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการไทย และอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Industry) ด้วยการผสานนโยบาย SMART THAILAND 2020 ทั้ง 4 SMART ได้แก่ SMART NETWORK พัฒนาโครงการพื้นฐานด้าน ICT ให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุม SMART GOVERNMENT นำ ICT มาใช้ในการบริหารจัดการและบริการทุกภาคส่วนอย่างมีธรรมาภิบาล SMART BUSINESS พัฒนาอุตสาหกรรม ICT เพื่อสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และ SMART PEOPLE การสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจโดยรวมที่สมดุลด้วย ICT
ที่ผ่านมา กระทรวง ICT ได้ดำเนินการตามนโยบาย SMART THAILAND 2020 โครงการด้าน Smart Network อาทิ โครงการบริหารจัดการนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ โครงการบริหารจัดการโครงข่ายดาวเทียม โครงการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Common Government Network Infrastructure) โครงการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และบริการประชาชน (Common Government Information Infrastructure and e-Service) โครงการให้บริการบรอดแบนด์ความเร็วสูง โครงการเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว APG (Asia Pacific Gateway) โครงการด้าน Smart Government อาทิ โครงการศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (Government Contact Center : GCC 1111) โครงการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน โครงการพัฒนาสังคมผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคมด้วย ICT โครงการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครแจ้งภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ต โครงการปกป้อง เทิดทูน พิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ โครงการ Wi-Fi ในที่สาธารณะ โครงการด้าน Smart Business อาทิ โครงการส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการ ICT สู่สากล โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการและเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรม โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โครงการศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (Thai CERT) การเป็นเจ้าภาพ/ร่วมจัดประชุม/กิจกรรมความร่วมมือด้าน ICT ระหว่างประเทศ เช่น Connect Asia-Pacific 2013 และ ITU Telecom World 2013 และโครงการด้าน Smart People อาทิ โครงการสนับสนุนประเทศไทยในการดําเนินการตามแผนแม่บท ASEAN ICT Master Plan 2015 โครงการพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นประชาคมอาเซียน 2015 (E-Transaction Standards) โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายไร้สาย (Wi-Fi Network) เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) โครงการพัฒนาระบบให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) และระบบจัดการเนื้อหาสำหรับคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) โครงการสร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัยและสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนเพื่อป้องกันและบรรเทาภัย โครงการศูนย์ปฏิบัติการสํารองสายด่วนฉุกเฉินของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (Backup Site)
นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ SIPA กล่าวว่า SIPA เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีภารกิจหลักในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศให้สอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยในปีที่ผ่านมาSIPA ได้ดำเนินการต่างๆ ที่สนองต่อนโยบายหลักของกระทรวง ICT ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย อาทิเช่น การสนับสนุนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยในการประกวด Asia Pacific ICT Alliance Awards 2013 (APICTA) ซึ่งผู้เข้าร่วมเป็นกวดเป็นผู้ชนะเลิศจากโครงการประกวดผลงานด้านซอฟต์แวร์แห่งชาติ Thailand ICT Awards 2013 ซึ่งปีนี้ประเทศไทยร่วมส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้นจำนวน 221 ผลงาน ในประเภทการแข่งขัน 13 ประเภท หมวดการแข่งขัน 17 หมวด ในการแข่งขันดังกล่าวตัวแทนจากประเทศไทย สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ 2 รางวัล และ รางวัลรองชนะเลิศถึง 5 รางวัล การจัดงานนิทรรศการและสัมมนาครั้งยิ่งใหญ่ระดับเอเชียแปซิฟิก “Software Expo Asia 2013” การสนับสนุนผู้ประกอบการเข้าร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการ ITU Telecom World 2013 การให้ทุนสนับสนุนผลงาน Animation Contest และการประกวด DigiMedia 2013 เพื่อพัฒนาตลาดซอฟท์แวร์ Digital Content การสนับสนุนผู้ประกอบการเข้าร่วมแสดงผลงาน Asian Animation Summit 2013 การจัดสัมมนา ในหัวข้อเรื่อง "การจดแจ้งทรัพย์สินทางปัญญาและการจัดทำข้อตกลงการใช้ซอฟต์แวร์ (Software License Agreement)” โครงการพัฒนาผู้ประกอบการให้ได้มาตรฐาน CMMI ปี 2556 โครงการ SIPA Young Talent 2013 และโครงการAngel in the city 2014 กิจกรรมการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพและเตรียมความในการก้าวเป็น Start-ups ปี 2014 เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้อย่างแพร่หลายซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนในเมืองและคนรุ่นใหม่ที่นิยมรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ ดังนั้น การทำบทบาทที่สำคัญของสำนักงานโดยเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศโดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ และ แอพพลิเคชั่นต่างๆ จึงเป็นช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งสำนักงานได้เป็นอย่างดี ทาง SIPA จึงได้จัดเตรียมซอฟต์แวร์ และ แอพพลิเคชั่น SMART THAILAND 2020 พลิกฟื้นประเทศไทยด้วย ICT รวมถึง website www.smartthailand2020.com เพื่อส่งเสริมความเข้าใจ ในนโยบายดังกล่าวของทางรัฐบาล ซึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาและประชาสัมพันธ์อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศเพื่อร่วมประกาศความพร้อม พลิกฟื้นประเทศไทยด้วย ICT ของกระทรวง ICT ในครั้งนี้
ผู้สนใจ สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมของ “SMART THAILAND 2020” ได้ผ่านทางเว็บไซต์www.smartthailand2020.com โมบายแอปพลิเคชัน “SMART THAILAND 2020” สำหรับ iPhone และ Android โดยดาวน์โหลดฟรีได้ผ่านทาง Apple App Store และ Google Play Store รวมทั้งดาวน์โหลดอีบุ๊ค “SMART THAILAND 2020” ในรูปแบบ iPad แอปพลิเคชันได้ผ่านทาง Apple App Store นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าไปติดตาม แลกเปลี่ยน และเสนอความคิดเห็นได้ผ่านทาง Facebook และ Twitter ที่ @SMARTTHAILAND2020