2556 ทบทวนขวบปีที่ผ่านมา

พุธ ๒๕ ธันวาคม ๒๐๑๓ ๑๖:๕๗

ผู้จัดการประจำประเทศไทย

บริษัท อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ในปี 2556 ขณะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ผันผวน สะเทือนไปทั่วโลก ภูมิภาคเอเชียยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเศรษฐกิจจะยังคงมีเสถียรภาพในปี 2557

มุมมองการปรับใช้เทคโนโลยี เกิดจากแรงกดดันจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยพลังแห่งการหลวมรวมของโมบิลิตี้ คลาวด์ โซเชียล คอมพิวติ้ง และอินฟอร์เมชั่นจนเป็นหนึ่งเดียว ในรายงานล่าสุดของบริษัทการ์ทเนอร์ มองว่าการหลอมรวมเทคโนโลยี จะเป็น แรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางด้านไอทีขององค์กรขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก และเพื่อสานต่อการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง อีเอ็มซีประกาศโซลูชั่นใหม่ที่มุ่งให้องค์กรเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและโมบิลิตี้ สร้างความคล่องตัวในฟังก์ชั่นธุรกิจ และความปลอดภัยเพื่อจะนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับในองค์กร

ปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่ที่เติบโตเพิ่มขึ้นมหาศาล และการคาดการณ์ต่อดิจิทัล ยูนิเวอร์ส ซึ่งคะเนว่าข้อมูลจะเพิ่มเป็น 40 เซตตะไบต์ (Zettabyte) ภายในปี 2563 ภาคธุรกิจเริ่มตระหนักว่า แนวทางแบบดั้งเดิมที่เป็นไซโล แยกส่วนการจัดการและนำส่งข้อมูล ไม่ใช่หนทางที่ยั่งยืนในการจัดการข้อมูลที่เติบโตขึ้น ลูกค้าองค์กรมีความต้องการที่จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานพับลิคคลาวด์ โดยปราศจากแรงกดดันจากพับลิคคลาวด์ ซึ่งผลจากการสนทนากับลูกค้านี้เอง ทำให้ความต้องการ EMC ViPR เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ViPR เป็นแพลทฟอร์ม Software Defined Storage แรกของโลกที่ทำให้ภาคธุรกิจจัดการโครงสร้างพื้นฐานสตอเรจ และข้อมูลได้ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้วางตลาดพร้อมกับ พอร์ทโฟลิโอ มิด-เรนจ์ และแฟลช อะเรย์ ที่ ช่วยให้ธุรกิจ ทำงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

การเพิ่มขึ้นของบิ๊กดาต้า ยังทำให้ภาคธุรกิจเปลี่ยนมุมมองเรื่องพลังการวิเคราะห์ของบิ๊กดาต้า ในปี 2556 ได้เห็นการเปิดตัวพิโวทอล (Pivotal) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างอีเอ็มซี วีเอ็มแวร์ และจีอี ที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ของแพลทฟอร์มแอสอะเซอร์วิส (PaaS) สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ นอกจากนั้น ยังมีความร่วมมือกับ อินโฟคอมม์ ดีเวลล้อปเม้นท์ ออโธริตี้ (IDA) ของสิงคโปร์ ซึ่งบริษัทได้ประกาศเปิดตัว พิโวทอล อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ในสิงคโปร์ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าในเอเชีย สร้างต้นแบบเพื่อศึกษาความเป็นได้ และประเมินความคุ้มค่าการลงทุนของแอพลิเคชั่นเพื่อการวิเคราะห์ระดับสูงและเทคโนโลยีแพลทฟอร์มบิ๊กดาต้า

การเติบโตของบิ๊กดาต้า แนวโน้มของการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในองค์กร (Bring Your Own Device - BYOD) และการนำแอพพลิชั่นบุคคลมาใช้ในองค์กร (Bring Your Own Application - BYOA) และการเข้าถึงข้อมูลโดยใช้อุปกรณ์และแพลทฟอร์มที่หลากหลายต้องการการปกป้องข้อมูลอย่างสูงที่สุด จากความซับซ้อนที่การโจมตีระบบมีปริมาณมากขึ้น อาร์เอสเอ (RSA) กลุ่มธุรกิจด้านความปลอดภัยของอีเอ็มซี ได้เปิดตัวโซลูชั่นอาร์เอสเอ ซีเคียวริตี้ อะนาไลติกส์ (RSA Security Analytics) และซิลเวอร์เทล (Silver Tail)เพื่อให้ภาคธุรกิจเพิ่มขีดความสามารถด้านความปลอดภัยในการปกป้องสินทรัพย์ดิจิทัลจากภัยคุกคามที่พัฒนาไปอย่างมากทั้งภายในและภายนอกองค์กร

อีเอ็มซี ยังคงมุ่งมั่นเป็นผู้นำ ด้านนวัตกรรมในปี 2557 และในอนาคต

แนวโน้มเทคโนโลยี ปี 2557

นายนฐกร พจนสัจ

ผู้จัดการประจำประเทศไทย

บริษัท อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์ว่าเอเชียจะยังคงเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเอเชียจะเติบโต 5.3% ในปี 2557 เพิ่มจาก 5.1% ในปี 2556 หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ บาร์ท แวน อาร์ค ระบุว่า ภูมิภาคอาเซียน รวมประเทศอินเดียและจีน มีความเป็นไปได้ที่จะเป็น "รัฐแห่งอนาคต" ในด้านเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมธุรกิจ ทำให้คาดคะเนภาพรวมได้ว่าจะยังคงมีเสถียรภาพ และมีการเติบโตทั่วภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีด้วย

ด้วยการเติบโตเชิงบวก แนวโน้มธุรกิจในเอเชียจะยังคงลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น โดยการ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่า การใช้จ่ายทางด้านไอทีในภูมิภาค จะสูงถึง 767 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2557 เติบโตขึ้น 5.5% จากปี 2556

เมื่อมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง อีเอ็มซี คาดการณ์ถึงความเติบโตทางด้านไอที ดังนี้:

การปรับเปลี่ยนทางด้านไอที: การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีการขยายตัวเกินกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือเข้าสู่สินทรัพย์ขององค์กร เช่น อุปกรณ์ภาคสนามและอุปกรณ์ของผู้บริโภคทั่วไป เช่น รถยนต์และโทรทัศน์ ปัญหาก็คือ องค์กรส่วนใหญ่และผู้ค้าเทคโนโลยี ยังคงไม่มองหาโอกาสจากการขยายตัวด้านการใช้งานอินเตอร์เน็ต และยังคงไม่ได้นำไปใช้จริง หรือเพราะองค์กรยังไม่พร้อม การ์ทเนอร์ ระบุว่า การจัดการ, การสร้างรายได้, การดำเนินงาน และการเพิ่มขยาย จะเป็นสี่รูปแบบพื้นฐานที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับรูปแบบ"อินเทอร์เน็ต" ทั้งสี่ประเภท คือ คน สิ่งของ สารสนเทศ และสถานที่ เวอร์ช่วลไลเซชั่นและบริการในรูปแบบของคลาวด์ จะเป็นเส้นทางหลักของการเปลี่ยนผ่านทางด้านไอที ในปี 2557 จะเป็นปีที่องค์กรซึ่งมีมาตรฐานทางด้านไอทีในระดับสูง จะปฏิรูปแอพลิเคชั่น โครงสร้างพื้นฐาน และขีดความสามารถของการกู้คืนข้อมูลให้ดียิ่งขึ้น และสิ่งเหล่านี้ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อธุรกิจในการก้าวย่างเข้าสู่ยุคของโมบิลิตี้ และ บิสิเนส อินทิลิเจนท์

บิ๊กดาต้า: ในเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศญี่ปุ่น บิ๊กดาต้า มีแนวโน้มการใช้ที่เพิ่มขึ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจ อีกทั้งยังมีผลกระทบที่สำคัญต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขัน สร้างความแตกต่าง และลดความเสี่ยง ในผลสำรวจล่าสุดที่จัดทำโดยอีเอ็มซี ระบุว่า 83%ของธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก มองว่าการใช้บิ๊กดาต้า จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น ในขณะที่ 49% ระบุว่าสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยใช้เทคโนโลยีบิ๊กดาต้า และ 68% เชื่อว่าบิ๊กดาต้าจะเป็นปัจจัยหลักที่จะกำหนดผ้ได้รับชัยชนะและผู้ปราชัยในธุรกิจอุตสาหกรรมได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อบิ๊กดาต้ามีการใช้อย่างแพร่หลาย อีเอ็มซีระบุว่าวัฒนธรรมจะเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดต่อความสำเร็จ โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 29% ชี้ว่า ยังไม่พร้อมด้านวัฒนธรรมธุรกิจ

ความพยายามที่จะนำบิ๊กดาต้ามาปรับใช้งานให้ง่ายขึ้น อีเอ็มซีและพิโวทอล จะยังคงสานต่อการทำบิ๊กดาต้าให้ใช้งานได้แพร่หลายยิ่งขึ้น การเป็นพันธมิตรของ อินโฟคอมม์ ดีเวลลอปเม้นท์ ออโธริตี้ (IDA) ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งประกาศในปีนี้ จะยังคงสร้างนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล (data scientists) ให้เพิ่มขึ้น และให้ลูกค้าสามารถเร่งทำต้นแบบที่จะดูความเป็นไปได้และประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนของแอพลิเคชั่น การวิเคราะห์ระดับสูงและ เทคโนโลยี แพลทฟอร์มบิ๊กดาต้า

ระบบไอทีที่ไว้วางใจได้: ในปี 2556 เห็นช่องโหว่ของระบบความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น และมีการโจมตีแบบเจาะจงเป้าหมาย จากผลสำรวจที่สนับสนุนโดยอีเอ็มซี พบว่าองค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิก ประเมินค่าความเสียหายจากข้อมูลที่รั่วไหลได้ถึง 945,187 ดอลล่าร์สหรัฐ เทียบกับทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 860,273 ดอลล่าร์สหรัฐ ผลสำรวจพบด้วยว่า ความเสียหายครอบคลุมการสูญเสียรายได้ (42%) ผลิตภาพ (41%) ความภักดีของลูกค้า (36%) และการสูญเสียธุรกิจให้กับคู่แข่ง (35%)

สำหรับธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จในปี 2557 แม้ในภาวะที่งบประมาณจำกัด อีเอ็มซีแนะว่า จะต้องเน้นการ วางแผน (40%) และพัฒนาองค์ความรู้และทักษะ (38%) ในองค์กรที่ใช้ไอทีระดับก้าวหน้า ความสำเร็จของการต่อสู้กับภัยคุกคามทางด้านไอทีไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หรือได้มาเพราะโชคช่วย แต่เป็นผลมาจากกระบวนการที่ดี และนำเครื่องมือไอทีมาปรับใช้ได้อย่างถูกต้อง เพื่อติดตามภัยคุกคามใหม่ๆ และปรับตัวตามประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้

การยกระดับการใช้ไอทีไม่ได้จำกัดเฉพาะบริษัทฟอร์จูน 500 หรือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทุกองค์กรจำ เป็นต้องยกระดับการใช้ไอทีเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และชื่อเสียงต่อลูกค้า ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนร่วมอื่นๆ

อีเอ็มซีจะยังคงมีจุดยืนที่มุ่งเน้นการสร้างความแข็งแกร่งในนวัตกรรม และสร้างการเติบโตของลูกค้าที่จะเข้าสู่คลาวด์ คอมพิวติ้ง ช่วยเหลือองค์กรให้จัดเก็บ จัดการ ปกป้องและวิเคราะห์ข้อมูลได้คล่องตัว เชื่อถือได้ และใช้ต้นทุนต่ำ

## หมายเหตุเพิ่มเติมสำ หรับแต่ละประเทศ (สถิติที่สามารถนำ มาใช้ได้)

http://www.imf.org/external/pubs/ft/survey/so/2013/CAR101113B.htm

http://www.focus-economics.com/en/economy/region-outlook/Asia

http://dupress.com/articles/asia-pacific-economic-outlook-october-2013-issue-overview/

มุมมองการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2557 จาก การ์ทเนอร์:

การใช้จ่ายสินค้าและบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คาดว่าในปี 2557 จะเติบโตขึ้นถึง 5.5% แตะอยู่ที่ระดับ 767 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยเพิ่มจาก 727 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปีนี้ และจะเพิ่มเป็น 933 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2560

ในประเทศจีน การใช้จ่ายคาดว่าในปี 2556 จะเติบโตขึ้นถึง 6.7% และเพิ่มการเติบโตเป็น 8.7% ในปี 2557 การ์ทเนอร์มองว่า ชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้นในจีน จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและไอที ทั้งตลาดคอนซูเมอร์และเอ็นเตอร์ไพร้ส์ การทำงานแบบอัตโนมัติทั้งงานด้านสาธารณสุข ภาครัฐ การสื่อสาร และการผลิต เป็นตัวขับเคลื่อนทางด้านไอที ซึ่งกลุ่มธุรกิจเหล่านี้จะสร้างโอกาสสูงสุดให้กับผู้ค้าไอทีในอีก 5 ปีข้างหน้า

ในออสเตรเลีย การใช้จ่ายทางด้านไอที คาดว่าในปี 2557 จะแตะอยู่ที่ 77.2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 2.3% จาก75.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2556 โดยหมวดที่เติบโตสูงสุดเป็นการให้บริการทางด้านไอที ซึ่งจะมีมูลค่าสูงถึง 29.7 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2557 ตามมาด้วยกลุ่มบริการสื่อสารที่ 26.9 พันล่านดอลล่าร์สหรัฐ

การใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ คาดการณ์ว่าจะลดลงมากว่า 4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ถึง 3.7 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2557

นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์ จะเป็นหมวดที่เติบโตสูงสุดในการใช้จ่ายทางด้านไอที โดยคาดการณ์ว่าจะโตขึ้นถึง 7.8% จาก 7.1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2556 เพิ่มเป็นมากกว่า 7.6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2557

แนวโน้มเศรษฐกิจเอเชีย:· ภาพรวมภูมิภาคเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น มีเสถียรภาพในเดือนนี้ หลังจากถดถอยเมื่อช่วงสองเดือนก่อนหน้านี้ โฟกัส อีโคนอมิคส์ (Focus Economics) คาดการณ์การเติบโตในปี 2557 ไว้คงที่ที่ 6.4% เท่าเดือนก่อนหน้า อัตราคงที่ของภูมิภาค สะท้อนผลสำรวจใน 10 จาก 11 เขตเศรษฐกิจ โดยมีเพียงอินเดียที่ยังคงถดถอยในเดือนนี้ ในปีนี้เศรษฐกิจภูมิภาคจะขยายตัว 6.2% เท่ากับการคาดการณ์เดือนที่ผ่านมา

มุมมองเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ เกิดจากบริบทข่าวในด้านบวกที่ระบุว่า เขตเศรษฐกิจหลักๆ ของโลกมีภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างมั่นคง

จีน: ในภูมิภาคพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) มีการประชุมของคณะกรรมการกลางเมื่อวันที่ 9-12พฤศจิกายน โดยย้ำถึงความต้องการปฎิรูปเศรษฐกิจ และเปิดเผยแนวทางการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจ ที่รวมถึงบทบาทการจัดสรรทรัพยากร และการปฎิรูปที่มุ่งเน้นตลาดในบริษัทที่รัฐเป็นเจ้าของ ในเอกสาร CPC ยังมีแผนที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ย การปรับระบบทางบัญชีปัจจุบันและการปฏิรูปอัตราแลกเปลี่ยน นายกรัฐมนตรีหลี เค่อเฉียน ระบุว่า จีน ต้องการเติบโต 7.2% เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถสร้างงานได้ถึง 10 ล้านคนต่อปี และรักษาระดับการว่างงานในเมืองที่ 4.0% ส่วนของเศรษฐกิจยังคงพื้นตัวต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ หรือ PMI แตะจุดสูงสุดในรอบ 18 เดือนในเดือนตุลาคม และการผลิตภาคอุตสาหกรรม เติบโตในเดือนเดียวกัน โฟกัส อีโคนอมิคส์ (Focus Economics) คงอัตราเติบโตที่ 7.6% ในปี 2556 และคาดการณ์อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) โต 7.5% ในปี 2557

อินเดีย: เมื่อเร็วๆ นี้ การพัฒนาและดัชนีล่าสุด ชี้ว่า เศรษฐกิจอินเดียจะเข้าสู่ช่วงที่มีเสถียรภาพในอีกหลายเดือนข้างหน้าที่จะมาถึง ภาคการผลิตในอุตสาหกรรม ขยายตัว 2.0% ต่อปีในเดือนกันยายน ภาคธุรกิจการพิมพ์ มีสถานการณ์ดีขึ้นกว่าเดือนสิงหาคม 0.4% ภาคการส่งออก ก็เริ่มดีขึ้น โดยมีอัตราเติบโตเป็นสองหลักในเดือนตุลาคมซึ่งเป็นเดือนที่สี่ที่ดีขึ้นติดต่อกัน การส่งออกที่แข็งแกร่งขึ้น ช่วยลดความกังวลเรื่องภาวะการขาดดุลที่เป็นภัยต่อเสถียรภาพเงินรูปีของอินเดียในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ในเวทีเสวนาของโฟกัสอีโคนอมิกส์ (Focus Economics) คาดการณ์เติบโตในปี2556/2557 จะคงที่ 4.8% จากสภาพถดถอยที่เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม และคาดว่าปี 2557/2558 จะเติบโต5.5% ซึ่งลดลง 0.2 % เมื่อเทียบกับการคาดการณ์เมื่อเดือนก่อนหน้า

ฟิลิปปินส์:ไต้ฝุ่น ไห่เยี่ยน ซึ่งเป็นหนึ่งในพายุที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ถล่มฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน แรงสั่นสะเทือนสร้างความเสียหายมหาศาลและคร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 3,000 คน แม้ว่าพายุจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทว่านักวิเคราะห์มองว่า พื้นฐานเศรษฐกิจมหภาคยังคงแข็งแกร่ง และยังคงรักษาภาพรวมการเติบโตเศรษฐกิจในทางบวกไว้ได้ เมื่อประเมินความเสียหายจากโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และความสูญเสียจากกิจกรรมการผลิตที่ต้องใช้เวลา คาดว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจริง จะเห็นผลชัดเจนจากข้อมูลในไตรมาสแรกของปี 2557

มาเลเซีย: อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของมาเลเซีย ขยายตัว 5.0%ในไตรมาสที่สาม เป็นครั้งแรกที่เติบโตมากกว่า 4.4% ในไตรมาสที่สอง และภาครัฐยังประกาศงบประมาณปีหน้า เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม รวมถึงภาษีสินค้าและบริการใหม่ และการปรับโครงสร้างระบบอุดหนุน

ฮ่องกง อินโดนีเซีย ไต้หวัน เกาหลี: ขณะที่ไตรมาสที่สาม อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ช้าลงในฮ่องกง อินโดนีเซียและไต้หวัน ทั้งหมดสะท้อนภาพการถดถอยในธุรกิจการส่งออก อีกทั้ง การส่งออกยังบั่นทอนเศรษฐกิจของเกาหลี โดยไตรมาสที่สามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นมาจากความต้องการในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว ความพยายามการแก้ไขปัญหาสภาวะเงินเฟ้อ และความต้องการในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว ทำให้ธนาคารกลางของเกาหลี มาเลเซียและฟิลิปปินส์ คงอัตราเงินเฟ้อเดิมในปลายเดือนตุลาคม

ญี่ปุ่น: เศรษฐกิจเริ่มแข็งแกร่งในไตรมาสที่สาม ระดับความเชื่อมั่นภาคธุรกิจแตะจุดสูงสุดในรอบหกปี ในไตรมาสที่สาม เพิ่มขึ้นเป็น 12 จุด จากไตรมาสที่สองอยู่ที 4 จุด ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มฟื้นกลับมาในเดือนกันยายน ซึ่งสูงสุดในรอบสี่เดือน ขณะที่คำสั่งซื้อเครื่องจักรได้เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสามเดือนในเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยภายนอกที่สะท้อนถึงผลกระทบการอ่อนค่าของเงินเยน ซึ่งยังคงขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องตลอด 15 เดือน

ในปี 2557 เวทีสัมมนาจากสำนักวิจัยโฟกัสอีโคโนมิกส์คอนเซ้นซัสโฟร์แคสต์ (Focus Economics Consensus Forecast) คาดการณ์ว่า เงินเฟ้อในภูมิภาคเอเชีย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น จะอยู่ที่ 3.5% ซึ่งลดลง 0.1% จากประมาณการเดือนที่แล้ว การลดลงดังกล่าวสะท้อนถึงการปรับประมาณการเงินเฟ้อที่ลดลงในอินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีและไทย ซึ่งในวงสัมมนาดังกล่าวคงเงินเฟ้อปี 2556 ไว้ที่ 3.2%

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย