แนวโน้มสำหรับปี 2557 และอนาคต: เทคโนโลยี IP รองรับการปรับปรุงธุรกิจ

พฤหัส ๐๒ มกราคม ๒๐๑๔ ๑๖:๕๗

ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริษัท แอ็กซิส คอมมูนิเคชั่นส์

IMS Research (ซึ่งตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ IHS) คาดการณ์ว่า CCTV จะถึงจุดอิ่มตัวในปี 2557 โดยรายงานฉบับใหม่ที่มีชื่อว่า The World Market for CCTV and Video Surveillance Equipment (ตลาดโลกสำหรับอุปกรณ์ CCTV และระบบวิดีโอตรวจการณ์) ระบุว่าตลาด CCTV และระบบวิดีโอวงจรปิดกำลังก้าวไปในทิศทางที่ยอดขายสำหรับวิดีโอแบบไอพีจะแซงหน้าระบบอนาล็อกเป็นครั้งแรกภายในปีหน้า ในบทความนี้ โยฮัน พอลสัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของแอ็กซิส คอมมูนิเคชั่นส์ สำรวจตรวจสอบแนวโน้มสำคัญๆ สำหรับตลาดวิดีโอวงจรปิดบนเครือข่าย IP ทั่วโลก ซึ่งจะช่วยปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น

ทุกวันนี้ไม่มีใครอยากซื้อกล้อง

ลูกค้าต้องการซื้อโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง การเปลี่ยนจากระบบอนาล็อกไปสู่ IP ช่วยให้สามารถเพิ่มเติมฟังก์ชั่นให้กับกล้องวิดีโอและโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัย เช่น การบันทึกข้อมูลไว้ภายในกล้อง ระบบวิเคราะห์ภาพวิดีโอ และการควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่อย่างชาญฉลาดมากขึ้น นอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนย้ายไปสู่ระบบวิดีโอเชิงรุกที่ฉลาดมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยแล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านธุรกิจแก่องค์กรทุกขนาดอีกด้วย

การผนวกรวมกล้องเข้ากับระบบ BI ขยายโอกาสใหม่ๆ ทางด้านธุรกิจ

ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจค้าปลีก ผลการศึกษาล่าสุดของแอ็กซิสเปิดเผยว่ากว่าครึ่งหนึ่ง (58%) ของผู้ค้าปลีกในสหราชอาณาจักรมีแผนที่จะโยกย้ายจากระบบ CCTV แบบอนาล็อกไปสู่ระบบวิดีโอบนเครือข่ายรุ่นใหม่ เพื่อผนวกรวมกล้องวิดีโอแบบ IP เข้ากับโปรแกรมบิสซิเนส อินเทลลิเจนซ์ (Business Intelligence - BI) ซึ่งนับเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้ค้าปลีกในสหราชอาณาจักรตัดสินใจเปลี่ยนย้ายไปสู่ระบบกล้องวิดีโอแบบ IP หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ระบบวิดีโอตรวจการณ์บนเครือข่าย IP

ปัจจุบัน ผู้ค้าปลีกสามารถติดตั้งกล้องวิดีโอแบบ IP ที่ผนวกรวมเข้ากับแอพพลิเคชั่น BI ที่มีอยู่ได้อย่างกลมกลืน โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานแพลตฟอร์มและ API แบบเปิด ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับกล้องวิดีโอแบบ IP อัจฉริยะรุ่นใหม่เป็นผลมาจากความน่าสนใจในการรันซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์วิดีโอที่หลากหลายภายในตัวกล้อง

กล้องวิดีโอแบบ IP อัจฉริยะพร้อมทำงานอย่างต่อเนื่องทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และเมื่อตรวจพบสิ่งผิดปกติ ก็จะเริ่มต้นบันทึกภาพหรือส่งสัญญาณเตือนไปยังผู้ควบคุมระบบ

นอกจากนี้ ระบบวิดีโออัจฉริยะยังสามารถดึงวิดีโอและข้อมูลจากสัญญาณวิดีโอตรวจการณ์ และผสานรวมข้อมูลดังกล่าวเข้ากับแอพพลิเคชั่นอื่นๆ เช่น ระบบจัดการการค้าปลีก หรือระบบควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใหม่ๆ และขยายโอกาสทางธุรกิจ โดยอาศัยฟังก์ชั่นเสริม เช่น การนับจำนวนคนเข้าออกพื้นที่ การวิเคราะห์ข้อมูลประชากรศาสตร์ และการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการรอคิวยาวจนเกินไป

IP เปิดประตูสู่โลกใหม่ของระบบควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่

การเติบโตของเทคโนโลยี IP ในตลาดระบบวิดีโอตรวจการณ์ยังช่วยผลักดันความนิยมในการโยกย้ายเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยอีกอย่างหนึ่งไปสู่สภาพแวดล้อมการทำงานบนเครือข่าย IP นั่นคือ ระบบควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่

ตลาดทั่วโลกสำหรับระบบควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่มีมูลค่าประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์ (2555) และจะเติบโตจนมีมูลค่าประมาณ 4.2 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2560 โดยคิดเป็นอัตราการเติบโต 7 เปอร์เซ็นต์ ตามข้อมูลของบริษัทวิจัยตลาด IHS

สำหรับองค์กรธุรกิจจำนวนมากและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาคารแบบอัจฉริยะใหม่ๆ การโยกย้ายระบบควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่ไปยังสภาพแวดล้อมดิจิตอลย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์มากมายหลายประการ เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่ถูกกว่า การกำหนดค่าและบริหารจัดการได้ง่ายกว่า ทั้งยังปรับปรุงการใช้งานระบบอย่างได้หลากหลาย และรองรับการผนวกรวมเข้ากับผลิตภัณฑ์ด้านการรักษาความปลอดภัยอื่นๆได้อย่างงายดาย

การโยกย้ายไปสู่โซลูชั่นบนเครือข่าย IP จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับการติดตั้งระบบควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่ และจะช่วยแก้ไขปัญหาข้อจำกัดต่างๆ ของระบบแบบเก่าที่มีอยู่ และรองรับฟังก์ชั่นการทำงานเพิ่มเติมนอกเหนือจากระบบควบคุมประตูทั่วไป

การผนวกรวมเข้ากับระบบวิดีโอตรวจการณ์เป็นหนึ่งในตัวอย่างของความต้องการที่สามารถตอบสนองได้ง่ายขึ้นด้วยโซลูชั่นบนเครือข่าย IP ที่จริงแล้ว การทำงานแบบดิจิตอลมาตรฐานมีศักยภาพในการสร้างโอกาสที่นับไม่ถ้วนสำหรับการผนวกรวมระบบอื่นๆ เช่น การตรวจจับการบุกรุก การตรวจจับเพลิงไหม้ และระบบอื่นๆ เข้าไว้ในระบบแบบครบวงจรที่จัดการและใช้งานได้อย่างง่ายดาย

เช่นเดียวกับตลาดวิดีโอตรวจการณ์ การเปลี่ยนย้ายไปสู่เครือข่าย IP ในส่วนของระบบควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่ยังหมายถึงการเปลี่ยนย้ายจากระบบปิดไปสู่โซลูชั่นแบบเปิด และโซลูชั่นเหล่านี้จะอ้างอิงมาตรฐานอุตสาหกรรมสากลอีกด้วย

การโยกย้ายระบบควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่ไปสู่ TCP/IP จะนำเสนอโอกาสใหม่ๆ ทางด้านธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ผู้ติดตั้งระบบจะสามารถดำเนินการติดตั้งได้อย่างง่ายดาย และสามารถผนวกรวมระบบควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่เข้ากับระบบอื่นๆ ตัวแทนจำหน่ายจะสามารถขยายตลาดและฐานลูกค้าใหม่ๆ เพราะจะมีอิสระในการผสานรวมส่วนประกอบต่างๆ จากผู้ผลิตหลายรายเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างข้อเสนอธุรกิจที่มีประโยชน์และน่าสนใจ และท้ายที่สุด ผู้ใช้จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีราคาประหยัดที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย และพร้อมรองรับการใช้งานในอนาคต เพื่อคุ้มครองและปกป้องทรัพย์สินอันมีค่า

โซลูชั่นอัจฉริยะเพื่ออนาคตที่สดใส

นับตั้งแต่ที่มีการประดิษฐ์กล้อง IP แบบรวมศูนย์เครื่องแรกในปี 2539 ก็มีการพัฒนามาอย่างยาวไกล จากอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ไปสู่เครื่องมือที่รองรับโซลูชั่นเสริมมากมายที่ทำงานในแบบเชิงรุก โซลูชั่นเหล่านี้นอกจากจะปกป้องเราจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มคุณประโยชน์ทางด้านธุรกิจและขยายโอกาสใหม่ๆ อีกมากมายอย่างไม่รู้จบ นอกจากนี้ การใช้โครงสร้างพื้นฐานแพลตฟอร์มและ API แบบเปิดยังช่วยกระตุ้นให้ทุกๆ ฝ่ายออกแบบและพัฒนาโซลูชั่นที่ฉลาดกว่าเดิม เพื่ออนาคตที่สดใสมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลคาดการณ์เพิ่มเติม 6 ข้อสำหรับระบบวิดีโอตรวจการณ์ในปี 2557 และอนาคต

ทีวี High Definition (HDTV) จะกลายเป็นมาตรฐานสำหรับกล้องวิดีโอตรวจการณ์ โดยจะมีความละเอียดและความไวในระดับที่เหมาะสมสำหรับการสร้างระบบวิดีโอตรวจการณ์ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น สามารถใช้ระบุตัวบุคคลหรือวัตถุได้อย่างแม่นยำ เราคาดการณ์ว่าความสนใจหลักสำหรับ HDTV จะเปลี่ยนย้ายจาก 720p ไปสู่ 1080p ในช่วงปี 2557

4K คือพัฒนาการขั้นถัดไปจาก HDTV ซึ่งจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของภาพวิดีโอให้ดียิ่งขึ้น สำหรับตลาดเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัย 4K เหมาะสำหรับกรณีที่ต้องการภาพวิดีโอที่มีรายละเอียดและคุณภาพสูง

กล้องที่ให้ภาพสียามค่ำคืนและไวต่อการเปลี่ยนสภาวะแสงสูงจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างมาก และจะกลายเป็นคุณสมบัติมาตรฐานในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า เนื่องจากผู้ใช้มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น และมีเทคโนโลยีที่พร้อมใช้งาน

กล้องถ่ายภาพความร้อน ซึ่งทำหน้าที่ “ตรวจจับ” จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัย

โซลูชั่นแบบเคลื่อนที่ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจดูภาพวิดีโอตรวจการณ์ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยสามารถปรับขนาดของภาพและไฟล์แบนด์วิธเพื่อรองรับการใช้งานที่แตกต่างหลากหลาย

โซลูชั่นสำเร็จรูปแบบอัจฉริยะ กล้องวิดีโอตรวจการณ์มีความฉลาดมากขึ้น เพราะสามารถรันฟังก์ชั่นบนตัวกล้องโดยตรงได้มากขึ้น ซึ่งนั่นหมายความว่ากล้องวิดีโอจะเลือกและแจ้งเตือนไปยังส่วนกลางเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าเพื่อแจ้งเตือนไปยังส่วนกลางในกรณีที่กล้องเกิดเสียหายหรือจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ