นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2557 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนกล่าวว่า ในคืนวันที่ 30-31 ธ.ค.56 ซึ่งเป็นช่วงที่ประชาชนจะเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่อย่างหนัก ท้ายนี้ ศปถ.ขอฝากเตือนประชาชนให้เฉลิมฉลองวันหยุดเทศกาลปีใหม่อย่างมีสติ ไม่ประมาท ดื่มไม่ขับ และไม่ขับรถเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน และสร้างความปลอดภัยในการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ 2557
นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ กล่าวว่าอุบัติเหตุจากง่วงหลับในอาจถึงตายได้ทันทีหลับในขณะขับรถเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นปรากฏการณ์ที่พบบ่อย จากการศึกษาของมูลนิธินอนหลับแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามากถึงหนึ่งในสามของคนอเมริกัน เคยหลับในขณะขับรถทุนง่วงอย่าขับ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้สำรวจคนไทยโดยใช้แบบสอบถามคนขับรถหลายประเภททั้งคนขี่จักรยานยนต์ คนขับ รถเก๋ง รถบรรทุกน้ำมัน รถทัวร์ รถโดยสาร บขส. และ ขสมก. พบว่าร้อยละ 28-53 เคยหลับในขณะขับรถหลับในเป็นการหลับสั้นๆ แวบเดียวไม่เกิน 10 วินาที เป็นการหลับตื้นๆ ปลุกตื่นได้ง่ายหรืออาจสะดุ้งตื่นเอง ตายังอาจเปิดอยู่ขณะหลับในหลับในอันตรายมากเพียงหลับ 4 วินาที ถ้ารถวิ่งด้วยความเร็ว 90 กม/ชม รถจะวิ่งต่อไปอีก100 เมตร โดยที่ไม่มีคนควบคุมรถ ลักษณะการชนจะรุนแรงมาก เพราะคนขับไม่ได้หักหลบหรือเหยียบเบรกทำให้บาดเจ็บบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้ทันที หลับในเป็นสาเหตุสำคัญอย่างน้อยร้อยละ 20 ของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรของประเทศที่เจริญแล้ว แต่ในประเทศไทย รายงานอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2550 มีอุบัติเหตุจากการหลับในเพียง 500 กว่าราย หรือคิดเป็นร้อยละ 0.8 ของอุบัติเหตุทั้งหมด สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงรับทุนง่วงอย่าขับฯไว้ในพระอุปถัมภ์ พ.ศ.2548 ทรงห่วงใยคนที่ง่วงและฝืนขับแล้วเกิดหลับใน ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุต่อตัวเองและผู้อื่น ทรงมีรับสั่งให้ทุนง่วงอย่าขับประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อทุกประเภทให้คนไทยตระหนักถึงอันตรายของการหลับ
อาการง่วงหลับในเกิดขึ้นได้จาก 4 สาเหตุใหญ่ๆ
1. อดนอน นอนไม่พอ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
2. ยาที่ทำให้ง่วง เช่นยาแก้หวัด ยาแก้ภูมิแพ้
3. แอลกอฮอล์
4. โรคประจำตัวที่นอนเท่าไรก็ยังง่วง เช่นโรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ
หลับในไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีจะมีอาการง่วงเป็นสัญญาณเตือนมาก่อนเสมอ ถ้าคนขับเพิกเฉยไม่สนใจทนฝืนขับต่อไป ความง่วงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดการหลับในไม่มีเครื่องมือ อะไรจะตรวจวัดความง่วงได้ดีเท่ากับความรู้สึกของตนเอง คนขับต้องหมั่นถามตัวเองว่าง่วงหรือยังเป็นระยะๆ
วิธีการป้องกันการหลับในก่อนจะขับรถ
1. ให้ความสำคัญของการนอนหลับให้เพียงพอ
2. งดกินยาที่ทำให้ง่วง
3. งดดื่มแอลกอฮอล์คืนก่อนเดินทาง
4. ถ้าสงสัยว่ามีโรคประจำตัวที่ทำให้ง่วง ต้องปรึกษาแพทย์
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนโครงการรณรงค์กระเป๋ากันง่วงลดอุบัติเหตุ :
น้ำแร่เพอร์ร่า,เครื่องดื่มชูกำลังแรงเยอร์,ยาดมเอี๊ยะแซ,ขนมถั่วลันเตาอบกรอบสแน็คแจ็ค,ลูกอมรสนม (บริษัทแพรรี่มาร์เก็ตติ้งจำกัด),ยานัตถุ์หมอมี,น้ำดื่มลินเด้
Public Relations Head Office : For more information, pleasecontact:
The Eye D Co.,Ltd.( บริษัท ดิอายส์ดีท์ จำกัด )
Project to Corporate Social Responsibility Program
Tel:084-970-8787, 092-75-888-75
E-mail : [email protected]