สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2556

พฤหัส ๐๙ มกราคม ๒๐๑๔ ๑๑:๕๘
นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2556 ดังนี้

ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2556 มีจำนวน 5,373,818.67 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45.28 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,769,242.29 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,087,010.68 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 516,731.01 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 834.69 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 56,741.37 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาล หนี้รัฐวิสาหกิจ ที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลง 5,577.20 ล้านบาท 25,963.17 ล้านบาท และ 25,201 ล้านบาท ตามลำดับ หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง

อย่างไรก็ดี สัดส่วนหนี้คงค้างต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกันยายน 2556 ได้ปรับเพิ่มจากที่รายงานในเดือนที่แล้วที่ร้อยละ 45.49 เป็นร้อยละ 45.86 เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ประกาศ GDP ของ 3 ไตรมาสแรกในปี 2556 แล้ว ทำให้ตัวเลข GDP ของปีงบประมาณ 2556 เท่ากับ 11,840,827 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าประมาณการ GDP ที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) คำนวณไว้ที่ 11,938,250 ล้านบาท จึงทำให้สัดส่วนหนี้คงค้างต่อ GDP ของเดือนกันยายน 2556 ที่ปรับปรุงใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 45.86 ในการนี้ สบน. จึงได้ปรับวิธีคำนวณ GDP ของเดือนตุลาคม 2556 ให้สอดคล้องความเป็นจริงมากขึ้น โดยการใช้ GDP ของค่าเฉลี่ย 2 เดือนของ GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 2555 รวมกับ 3 ไตรมาสแรกของปี 2556 และค่าเฉลี่ย 1 เดือนของไตรมาสที่ 4 ปี 2556 ทำให้ประมาณการ GDP ณ สิ้นเดือนตุลาคมเท่ากับ 11,867,884.67 บาท

1. หนี้ของรัฐบาล

1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 752.81 ล้านบาท เนื่องจาก

1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 110.36 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของ อัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 293.28 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 403.64 ล้านบาท

1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 642.45 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากการเบิกจ่ายเงินกู้ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 1,937.16 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และจำนวน 792.52 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวมถึงการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 64.44 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)

1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 6,330.01 ล้านบาท เนื่องจาก (1) การยืมเงินทดรองจ่ายที่ยืมจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1 และ FIDF 3) ไปชำระคืนหนี้จำนวน 10,000 ล้านบาท และ (2) การออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อนำไปใช้คืนเงินยืมจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1 และ FIDF 3) ก่อนหน้า 3,669.99 ล้านบาท

1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า

2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน

2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 512.04 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 957.09 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปหนี้เงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 445.05 ล้านบาท

2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 5,066.31 ล้านบาท เนื่องจาก

- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพออกพันธบัตร 1,230 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท

- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 5,296.31 ล้านบาท

2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน

2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 5,421.30 ล้านบาท จากการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ

2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 14,963.52 ล้านบาท เนื่องจาก

- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร 1,500 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 93 ล้านบาท

- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนหุ้นกู้ 12,850 ล้านบาท และ2,556.79 ล้านบาท ตามลำดับ

- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 36.27 ล้านบาท

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

3.1 หนี้ต่างประเทศ

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า

3.2 หนี้ในประเทศ

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 25,201 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรออกพันธบัตร 5,000 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 11,000 ล้านบาท รวมทั้งได้มีการชำระคืนต้นเงินของสัญญาเงินกู้ 19,201 ล้านบาท

ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังทำการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ

4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า

หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,373,818.67 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 372,248.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.93 และหนี้ในประเทศ 5,001,570.48 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.07 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 5,167,451.71 ล้านบาท หรือร้อยละ 96.16 และหนี้ระยะสั้น 206,366.96 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.84 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม