ทั้งนี้ในการประชุมมีการหารือถึงแนวทางการส่งเสริมเรื่องพลังงานทดแทนในชุมชุม ที่รัฐบาลมีดำริอย่างเช่นโครงการ “หนึ่งชุมชน หนึ่งเมกะวัตต์” นั้นว่าโอกาสหรืออุปสรรคในการปฎิบัติจริงอย่างไร โดยนายวิบูลย์ระบุว่า ในขั้นต้นนั้นจะต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบในกการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) ในการประเมินว่ามีผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return : FIRR) และทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) มากน้อยอย่างไร ทั้งนี้ในอดีตโครงการไฟฟ้าชนบทของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคก็เคยทำการศึกษาความเป็นไปได้ก่อนเริ่มโครงการและถึงแม้จะได้ผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ต่ำ แต่ในด้านผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) กลับมีสูง โครงการไฟฟ้าชนบทจึงได้เริ่มดำเนินการได้ เพราะได้ทำการศึกษาแล้วว่าจะสามารถสร้างระบบเศรษฐกิจในชนบทให้มีมูลค่ามากขึ้นได้
อนึ่งที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายแนวคิดผลักดันโครงการ “หนึ่งชุมชน หนึ่งเมกะวัตต์” รวมทั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็เคยศึกษาและเสนอความเห็นต่อวุฒิสภา เรื่อง “หนึ่งชุมชนหนึ่งพลังงานทดแทน” ไว้แล้วด้วย ทั้งนี้ความต้องการใช้พลังงานของไทยมีมูลค่าสูงถึงปีละ 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 11% ของ GDP และการผลิตพลังงานในประเทศยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ การผลิตพลังงานในประเทศสามารถตอบสนองความต้องการใช้ในประเทศได้เพียง 50% เท่านั้น ในขณะที่สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนของไทยยังมีการใช้แต่มากเพียงประมาณร 7 % ของความต้องการใช้พลังงานรวมเท่านั้น (ไม่รวมก๊าซธรรมชาติ)
โดยหลายฝ่ายมองว่าประเทศไทยยังมีแหล่งพลังงานทดแทนที่นำมาใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิลได้เป็นจำนวนมาก ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ไบโอดีเซล แก๊สโซฮอล์ และชีวมวล และเห็นควรว่าภาครัฐจะต้องสนับสนุนการผลิตพลังงานทดแทนมาใช้ในสัดส่วนที่มากกว่าเดิม