สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านวาง 8 ยุทธศาสตร์หลัก เร่งพัฒนารูปแบบใหม่ของการให้บริการ “รับสร้างบ้าน ไม่เพียงแค่รับสร้างบ้าน”

จันทร์ ๑๓ มกราคม ๒๐๑๔ ๑๐:๕๐
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านวาง 8 ยุทธศาสตร์ผลักตลาดรับสร้างบ้านเติบโตแบบยั่งยืน พร้อมรองรับการเปิด AEC เน้นการพัฒนาองค์กรจากภายในสู่ภายนอกมุ่งเน้นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร และมาตรฐานความเป็นมืออาชีพ มั่นใจระยะยาวผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด ขณะที่มูลค่ารวมตลาดรับสร้างบ้านปี 57 คาดการณ์เติบโต 7% คิดเป็นมูลค่ารวม 11,500 ล้านบาท เผยปัญหาแรงงาน เศรษฐกิจ และการเมืองยังเป็นปัจจัยกดดันการเติบโตของธุรกิจรับสร้างบ้าน

นายวิสิฐษ์ โมไนยพงศ์ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้วางยุทธศาสตร์สำหรับธุรกิจรับสร้างบ้านในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยการวาง 8 ยุทธศาสตร์หลัก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและรองรับการเปิดเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งประกอบไปด้วย 1.ด้านการเงิน เน้นการใช้งบประมาณที่มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของสมาชิกเพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.ด้านการขยายฐานธุรกิจ โดยการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องโดยผ่านกลยุทธ์ใน 2 รูปแบบ คือ 1.Supply Chain ด้วยการพัฒนาความร่วมมือกับผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และ 2. Synergy กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น จัดหาที่ดิน , ตกแต่งภายใน , เครื่องใช้ไฟฟ้า , เครื่องปรับอากาศ , สระว่ายน้ำ ฯ ด้วยการสร้างรูปแบบการให้บริการขึ้นมาใหม่ ให้กับผู้บริโภค เพื่อง่ายต่อการวางแผนสร้างบ้านที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบครบวงจรมากขึ้น 3.ด้านการขยายฐานสมาชิก มุ่งเน้นการเพิ่มจำนวนสมาชิกของสมาคมฯโดยยังรักษาเกณฑ์มาตรฐานในการคัดกรองสมาชิกเช่นเดิม เพื่อเพิ่มมูลค่าตลาดรวมของธุรกิจให้เพิ่มสูงขึ้น 4.การพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการเงิน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแช่งขัน และอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค โดยการผลักดันสินเชื่อใน รูปแบบใหม่ เฉพาะสำหรับกลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้านโดยตรง ซึ่งจะมีความครบวงจรและรองรับกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมากยิ่งขึ้น 5.การยกระดับการให้บริการสู่มาตรฐานสากล โดยการมุ่งผลักดันให้สมาชิกของสมาคมฯ เข้าสู่ระบบมาตรฐาน ISO 9001 ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้แล้วยังจะเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับการแข่งขันในระดับอาเซียนหลังการเปิดการค้าเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 6.เพิ่มศักยภาพและสร้างภูมิคุ้มกันทางธุรกิจ โดยการจัดตั้งทีมงานพิเศษเพื่อทำการเฝ้าระวังภัยคุกคามต่างๆ และศึกษาวิจัยผลกระทบต่าง ๆ ทางธุรกิจ เพื่อให้สมาชิกสมาคมฯ สามารถที่จะเตรียมตั้งรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที 7.การสร้างองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (KM) โดยการจัดรวบรวมองค์ความรู้ใหม่รวมถึงความรู้เดิมอย่างเป็นระบบ และการต่อยอดในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในธุรกิจรับสร้างบ้านให้เพิ่มขึ้น โดยการจัดตั้งห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสมาชิกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ได้ 8.การพัฒนาทางด้านบุคลากร โดยเร่งสร้าง บุคลลากรทั้งในส่วนที่ยังคงศึกษา และจบการศึกษาแล้ว โดยเฉพาะในส่วนของ สถาปนิก วิศวกร และผู้ควบคุมงาน โดยการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อออกแบบหลักสูตรสำหรับบุคคลากรในวงการรับสร้างบ้านโดยเฉพาะ

“เป้าหมายดังกล่าวของสมาคมฯ มุ่งตอบสนองไปยังสมาชิกสมาคมฯ และผู้บริโภคเป็นหลัก ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อมีการพัฒนาในส่วนของภายในองค์กรให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้นเพียงใด ก็จะยิ่งส่งผลไปสู่ภาพรวมภายนอกมากขึ้นเท่านั้น สุดท้ายแล้วทุกฝ่ายก็จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในส่วนของธุรกิจรับสร้างบ้านที่จะเติบโตเพิ่มขึ้น บริษัทรับสร้างบ้านก็สามารถขยายงาน และขยายธุรกิจได้เพิ่มขึ้น ในส่วนของผู้บริโภคเองก็จะได้รับบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานและครบถ้วนทุกเรื่องเกี่ยวกับบ้านมากยิ่งขึ้นเช่นกัน ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “รับสร้างบ้าน ไม่เพียงแค่รับสร้างบ้าน” นายวิสิฐษ์ กล่าว

นายวิสิฐษ์ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของเป้าหมายตลาดรวมของธุรกิจรับสร้างบ้านในปี 2557 นั้นคาดว่ามูลค่าตลาดรวมของธุรกิจรับสร้างบ้านในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลน่าจะอยู่ที่ประมาณ 11,500 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นมูลค่าตลาดรวมเฉพาะกลุ่มสมาชิกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านรวม 7,500 ล้านบาท และกลุ่มรับสร้างบ้านอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในสมาคมฯ อีก 4,000 ล้านบาท เทียบกับปี 2556 ที่มีมูลค่าตลาดรวม 10,700 ล้านบาท แบ่งเป็นสมาชิกสมาคมฯ 7,100 ล้านบาท และกลุ่มรับสร้างบ้านอื่น ๆ 3,600 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ประมาณ 7% โดยธุรกิจรับสร้างบ้านยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ตั้งแต่ปี 2556 และคาดว่าจะส่งผลกระทบมาถึงปี 2557 ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน , ต้นทุนแรงงานและวัสดุที่ปรับตัวสูงขึ้น , รวมถึงผลกระทบทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทำให้การเติบโตทางธุรกิจชะลอตัวลง ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมาก็ได้มีความพยายามที่จะร่วมมือกับภาครัฐในด้านต่าง ๆ แต่เนื่องจากนโยบายภาครัฐที่ไม่สนองตอบธุรกิจ ส่งผลให้การแก้ปัญญาหาด้านแรงงานที่คาดว่าจะยังคงไม่ชัดเจนต่อไป ขณะเดียวกันในส่วนของภาพรวมของเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวมาตั้งแต่ปีที่แล้วก็ยังคงส่งผลกระทบมาถึงในปีนี้ซึ่งจะเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตลาดภาพรวมไม่น่าจะขยายตัวมากนัก และในส่วนของสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจนส่งผลถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการที่จะปลูกสร้างบ้านด้วยเช่นกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025