เกรียงไกร กาญจนะโภคิน กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่งผลให้ในภาพรวมของธุรกิจอีเว้นท์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 ได้รับผลกระทบบ้าง ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ที่เป็นเพียงการเลื่อนจัดงานออกไปก่อน ไม่ได้ยกเลิกงานแต่อย่างใด เนื่องจากลักษณะของการชุมนุมยังดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย ยังไม่มีความรุนแรง ซึ่งถือว่าไม่ได้ส่งผลกระทบกับทางอินเด็กซ์ฯ มากนัก เพียงแต่เป็นการชะลอการรับรู้รายได้จากปีที่แล้วมาเป็นต้นปีนี้เท่านั้น ซึ่งในปีที่แล้ว อินเด็กซ์ฯ สามารถทำรายได้ตามเป้าที่วางเอาไว้ คือ 2,000 ล้านบาท ซึ่งทางอินเด็กซ์ฯ เองก็ได้มีการปรับแผนกลยุทธ์มาตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว และปีนี้อินเด็กซ์ฯ ก็จะเดินหน้าต่อ โดยมุ่งเน้น และให้น้ำหนักกับการรุกตลาดต่างประเทศ ทั้งที่เป็นในลักษณะของการจัดงานเอง (Own Event) และงานรับจ้าง รวมถึงมีหลายโครงการที่ได้วางแผนไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว”
“เริ่มต้นปีนี้ต้องบอกเป็นอะไรที่อยากให้ติดตาม และจับตาดูให้ดีๆ เพราะทุกอย่างจะมีการปรับเปลี่ยน และเปลี่ยนแปลง จากการชะลอดูสถานการณ์ของนักการตลาด ส่วนตัวมองว่าภาพรวมของตลาด จะมีการเดินเกมส์เร็ว เรียกว่าติดสปีดกันเลยก็ว่าได้ ซึ่งแผนการรุกตลาดต่างประเทศแบบเข้มข้นนี้ จะผลักดัน และกระตุ้นให้ธุรกิจอีเว้นท์กลับมาคึกคัก ตั้งแต่เมื่อต้นปี 2013 อินเด็กซ์ฯ ได้ให้คำจำกัดความของตลาดอีเว้นท์ว่าจะเข้าสู่โลกของ Hybrid Event ซึ่งตอนนี้ เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และหลายๆ คนกำลังปรับตัวเข้าสู่ยุคดังกล่าว กล่าวคือ มีการผสมผสาน และเชื่อมโยงของความเป็นอนาล็อก และดิจิตอลเข้าด้วยกัน ซึ่งในส่วนของเทคโนโลยี ณ ตอนนี้ก็ถือว่ามีความทันสมัย และล้ำหน้าเป็นอย่างมาก แต่วิธีที่เราจะนำเทคโนโลยีต่างๆ มาผสมผสานกัน ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ นั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะการที่เรามีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยยังไม่เพียงพอ หากไม่รู้จักนำครีเอทีฟเข้ามาช่วยผสมผสานเพื่อให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ๆ ในมิติที่แตกต่างกว่าเดิม”
“สำหรับอีเว้นท์ในปี 2014 ในเรื่องของภาพรวม ก็อาจจะต้องบอกว่าคงไม่หวือหวามากนัก อีเว้นท์ เป็นตลาดที่ sensitive มาก ถามว่าในภาพรวมของธุรกิจอีเว้นท์ ในช่วงที่ผ่านมามีผู้เล่นหน้าใหม่จำนวนมากเข้ามาในวงการ ซึ่งสิ่งที่เป็นปัญหากับวงการอีเว้นท์ในปัจจุบัน คือเรื่องของคุณภาพงาน และมาตราฐานการทำงานให้เป็นไปใน standard เดียวกัน เพราะการทำงานอีเว้นท์ นอกจากความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creativity ที่ต้องใส่ลงในงานแต่ละงานแล้ว เรื่องของความละเอียด วิธีคิด ความพิถีพิถัน เพื่อรักษามาตราฐานของวงการอีเว้นท์ไทย ให้ทัดเทียมกับนานาชาติ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เราแตกต่างจากคู่แข่งขัน และเป็นผู้นำในเมืองไทย รวมถึงเป็นบริษัทอีเว้นท์ไทยที่ครองอันดับ 7 ของโลกมาได้ 3 ปีซ้อน”
“สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไป และเห็นได้ชัดมากขึ้นในปี 2014 ผมมองว่าตลาดอีเว้นท์ จะมีการแบ่งประเภท หรือ Classify ผู้เล่นในตลาด อย่างชัดเจนมากขึ้น อาทิ งานอีเว้นท์ที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์สูง เน้นเรื่อง Creativity ที่มีความโดดเด่น หรืองานอีเว้นท์ที่ต้องการมุมมองในเรื่องกลยุทธ วิธีคิด Marketing strategy ที่มีชั้นเชิงประกอบ และมีความลึกในการทำงาน และมีแนวคิดในรูปแบบ Hybrid กับสื่ออื่นๆ มากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยบริษัทที่มีความพร้อมในด้านวางแผนการสื่อสาร รวมถึงมีอุปกรณ์เครื่องมือที่พร้อมสมบูรณ์ อีกประเภทคือบริษัทที่สามารถรองรับงาน scale ใหญ่ที่ต้องการวิธีการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ และประเภทสุดท้ายคือบริษัทอีเว้นท์ที่เป็น Standard ทั่วไป มีทีมงานไม่กี่คน เรียกว่าเป็นแค่การทำงานแบบ just make it happened และแข่งขันกันที่ราคา ซึ่งมีความน่ากังวลมาก สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ลูกค้าที่มองในเรื่องของราคาเป็นตัวตั้ง อาจได้รับผลงานที่ไม่ได้เป็นอย่างที่คาดไว้ เพราะทุกวันนี้ตลาดอีเว้นท์ มีผู้เล่นเข้ามาเยอะมาก มี Supply มากกว่า Demand แต่หลายๆ บริษัทยังไม่มีประสบการณ์ไม่มีความรู้ที่ถูกต้องเพียงพอ ซึ่งในตอนนี้มีอยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก” นายเกรียงไกร กาญจนะโภคิน กล่าวทิ้งท้าย