อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นนี้ สิ่งสำคัญที่ SME ต้องคำนึงถึงก็คือ เรื่องความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก และตลาดเพื่อนบ้าน เนื่องจากพบว่า SMEs ส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน รวมทั้งปัญหาต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าและบริการที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้น SME ใช้งบประมาณและให้ความ สำคัญค่อนข้างน้อยในกิจกรรมที่สนับสนุนการเพิ่มขึ้นของรายได้ หรือลดต้นทุน เช่น การทำกิจกรรมด้านการตลาด การพัฒนาทรัพยากรบุคลากร/องค์กร การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำธุรกิจ ดังนั้น สภาหอการค้าฯ เห็นว่า SMEs ควรมีการวิเคราะห์แผนการทำงานให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ทั้งด้าน Productivity ควรมีการใช้ Technology มาทดแทนเพิ่มเพื่อลดต้นทุน ในส่วนของด้านการเงิน ควรส่งเสริมให้ SMEs มีการจ่ายภาษีที่อยู่ในระบบมากขึ้น มีการทำบัญชีที่ถูกต้องเพื่อทำให้การกู้ยืมจากธนาคารง่ายขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมเรื่อง Innovation ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว อาจเพียงแค่การเปลี่ยน Mindset หรือการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ ก็จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนั้น สภาหอการค้าฯยังมีแผนที่จะส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะนำภาคธุรกิจไปในประเทศที่น่าสนใจทั้งประเทศชายแดน และประเทศที่มีศักยภาพ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยเราจะขอความร่วมมือให้บริษัทที่เป็นสมาชิกของเรา ซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนในประเทศเหล่านั้น มาให้คำแนะนำแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการทำธุรกิจในต่างประเทศ โดยจะเน้นการทำงานเป็น Supply Chain ช่วยกันเป็นทีม ให้บริษัทใหญ่ดึงบริษัท SMEs ใน Chain ไปขยายในต่างประเทศด้วยกัน ซึ่งการแข่งขันในภูมิภาค
ต่อจากนี้จะมีมากขึ้น ประเทศไทยคงต้องตื่นตัวมากกว่านี้ ในการค้าขายและลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน แต่การที่ SMEs ไทยจะไปแข่งขันได้ ก็จะต้องมีการพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถให้เข้มแข็งในอีกหลายด้าน
ส่วนกิจกรรมการช่วยเหลือ SMEs ของสภาหอการค้าฯภายในเดือนมกราคมนี้ ยังมีอีก 2 กิจกรรม ได้แก่ การจัดสัมมนา “SMEs…วิธีทำเงิน” เพื่อกระตุ้นให้ SMEs ทั่วประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและหาทางแก้ไข เพื่อรองรับกับโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น ภายใต้ความผันผวนและการแข่งขันที่รุนแรงในอนาคต ที่ผ่านมาได้จัดสัมมนาแบบนี้มาแล้ว 2 ครั้ง ที่กรุงเทพฯ และที่จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นการจัดร่วมกับหอการค้าจังหวัดกลุ่มอิสานตอนบน 1 (อุดรธานี เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และบึงกาฬ)
สำหรับการจัดสัมมนา “SMEs…วิธีทำเงิน” ครั้งที่ 3 ได้จัดไปเมื่อวานนี้ (21 ม.ค.57) ณ โรงแรม ลี การ์เด้นส์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา โดยเป็นการจัดร่วมกับหอการค้าจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ซึ่งในการสัมมนามีการให้ความรู้ให้กับ SMEs ที่เข้าร่วมสัมมนาหลายเรื่อง เช่น “คนให้กู้เขาดูอะไร” “การบริหารธุรกิจอย่างมีนวัตกรรม” นอกจากนั้น ยังได้จัดให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เยี่ยมชมบูธ/รับคำปรึกษา-แนะนำ จากผู้ที่มีประสบการณ์สูงในการบริหารธุรกิจ เพื่อการเพิ่มแนวคิดการประกอบธุรกิจใหม่ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการ โดยประกอบด้วย กรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าฯ ที่มีประสบการณ์ขั้นสูง หลายท่าน ยกตัวอย่างเช่น
คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ คุณสมเกียรติ อนุราษฏร์ คุณสนั่น อังอุบลกุล คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร คุณชัยวัธ มะระพฤกษ์วรรณ คุณกลินท์ สารสิน และคุณสุรพล ว่องวัฒนโรจน์
อีกกิจกรรมหนึ่งคือการจัดงานสัมมนา “บุกตลาด CLMV…อนาคต SMEs ไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” วันพุธที่ 29 มกราคม 2557 เวลา 12.30 - 16.30 น. ณ ห้อง Convention Hall สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยเป็นกิจกรรมของคณะกรรมการธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง สภาหอการค้าฯ ร่วมกับ บมจ. ซีพี ออลล์ และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ภายในงานจะมีการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ภาครัฐกับการสนับสนุนสินค้าไทย
สู่ตลาดอาเซียน” โดย คุณศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และการเสวนาหัวข้อ “เปิดมิติทางการค้า โอกาสทองของการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV” โดย คุณนิยม ไวยรัชพานิช รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย คุณนันทวัลย์ ศกุณตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่าน
“ในขณะที่สถานการณ์บ้านเมืองยังมีความไม่แน่นอนทางการเมืองเช่นนี้ เราคงจะต้องพึ่งพาตัวเราเองให้มากที่สุด เพราะเรื่องของเศรษฐกิจหรือการดำเนินธุรกิจนั้นไม่สามารถหยุดได้ โดยในสัปดาห์นี้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจะมีหนังสือสอบถามไปยังสมาชิกทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้ง หอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ และสมาคมการค้าต่าง ๆ ว่าต้องการให้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยหามาตรการช่วยเหลืออย่างไรบ้าง เพื่อที่จะนำผลที่ได้รับมาเป็นแนวทางในการให้ความช่วยเหลือต่อไป อย่างไรก็ตาม การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง การร่วมมือกัน การดำเนินธุรกิจด้วยความไม่ประมาท และการปรับตัวอย่างรวดเร็ว จะช่วยให้ธุรกิจของไทยสามารถดำรงอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง และยั่งยืนต่อไป” นายกลินท์ กล่าวทิ้งท้าย