Company Profile: บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)

อังคาร ๒๖ เมษายน ๒๐๐๕ ๑๔:๓๖
กรุงเทพฯ--26 เม.ย.--หลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)
ประวัติบริษัท
บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) เป็นบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำแห่งหนึ่งของประเทศ
ทางด้านวานิชธนกิจและการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าประเภทสถาบัน แต่เดิม บริษัทฯเป็นส่วนธุรกิจ
หลักทรัพย์ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน) (“ภัทรธนกิจ”) ต่อมาในปี 2540 รัฐบาลมี
นโยบายแยกธุรกิจเงินทุน และธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน บริษัทฯ จึงถูกจัดตั้งในนาม บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด
และในปี 2541 บริษัทเงินทุน ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.9 ในบริษัทฯ ได้ขายหุ้นของ
บริษัทฯ จำนวนร้อยละ 49.0 ให้แก่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และจำนวนร้อยละ 51.0 ให้แก่ เมอร์ริล
ลินช์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก ต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด
(มหาชน) และ เมอร์ริล ลินช์ ได้ตกลงขายหุ้นทั้งหมดที่ถือในบริษัทฯ ให้แก่กลุ่มผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ
ปัจจุบัน บริษัทฯ มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ 5 ประเภท คือ ธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ธุรกิจการ
ค้าหลักทรัพย์ ธุรกิจจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และธุรกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ประเภทธุรกิจ
ปัจจุบันธุรกิจหลักของบริษัทฯ มี 3 ประเภทดังนี้
1. ธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทฯ ให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แก่ลูกค้าประเภท
สถาบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และลูกค้าบุคคลรายใหญ่ โดยในปี 2547 บริษัทฯ มีส่วนแบ่งทางการตลาด
เป็นอันดับที่ 6 หรือคิดเป็นร้อยละ 3.99 ของมูลค่าการซื้อขายรวมในตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีส่วนแบ่งตลาดลูกค้า
ประเภทสถาบันประมาณร้อยละ 10 ของมูลค่ารวมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าประเภทสถาบัน
2. ธุรกิจวานิชธนกิจ บริษัทฯ ให้บริการทางด้านธุรกิจวานิชธนกิจโดยให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางการ
เงินและการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ โดยมีการให้บริการแก่ลูกค้าขนาดใหญ่ในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน โดย
ตัวอย่างผลงานที่ผ่านมาของบริษัทฯ ได้แก่ การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ และบริษัทในกลุ่มชินวัตร เป็นต้น
3. ธุรกิจการลงทุน ในช่วงครึ่งหลังของปี 2547 บริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้น 2 หน่วยงาน ได้แก่
ฝ่ายการลงทุนในหลักทรัพย์ (Proprietary Trading Department) และฝ่ายลงทุน (Direct Investment
Department) (เดิมบริษัทฯ เคยมีหน่วยงานด้านการลงทุนตั้งแต่ในช่วงที่บริษัทฯ ยังเป็นส่วนหนึ่งของภัทรธนกิจ
แต่ได้หยุดดำเนินการลงทุนไปในช่วงที่บริษัทฯ มีเมอร์ริล ลินช์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่) เพื่อเป็นผู้ดำเนินการจัดการลงทุน
เพื่อบัญชีของบริษัทฯ เอง ฝ่ายการลงทุนในหลักทรัพย์จะลงทุนในหลักทรัพย์ประเภททุน (Equity) และกึ่งทุน
(Equity-linked Securities)ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะเป็นการลงทุนในระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ในขณะที่
ฝ่ายลงทุนจะเน้นการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงหลักทรัพย์ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีกำหนด
ระยะเวลาการลงทุนประมาณ 1-5 ปี
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีฝ่ายงานวิจัยซึ่งถือเป็นฝ่ายงานวิจัยชั้นนำที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลจาก
นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง โดยในปัจจุบัน งานวิจัยของบริษัทฯ ครอบคลุมงานวิจัยทางด้าน
เศรษฐกิจมหภาค และบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 58 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าตามราคาตลาดมากกว่า
ร้อยละ 70 ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมตามราคาตลาด (Market Capitalization) โดยเป็นงานวิจัยที่บริษัทฯ
จัดทำเอง และงานวิจัยที่จัดทำร่วมกับเมอร์ริล ลินช์ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสามารถเผยแพร่งานวิจัยของเมอร์ริล
ลินช์ ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าบริษัทฯ อาทิ ภาวะเศรษฐกิจโลก และอุตสาหกรรมในภูมิภาค เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา
ฝ่ายวิจัยของบริษัทฯ ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับคุณภาพของงานวิจัยและของนักวิเคราะห์
จุดเด่นของบริษัท
- บริษัทฯ ให้บริการธุรกรรมทางการเงินที่หลากหลายทั้งทางด้านหลักทรัพย์และวานิชธนกิจ โดย
บริษัทฯ มีเครือข่ายในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถเชื่อมโยงลูกค้าวานิชธนกิจให้เข้าถึง
นักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ และสามารถดำเนินการให้นักลงทุนดังกล่าวได้รับทราบข้อมูลและบทวิเคราะห์
ของบริษัทชั้นนำผ่านทางงานวิจัย รวมถึงการจัด Roadshow และ Investor Forum ซึ่งบริษัทฯเชื่อว่ามีบริษัท
หลักทรัพย์ที่ให้บริการในลักษณะดังกล่าวได้น้อยราย
- บริษัทฯ ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ประเภททุนในประเทศไทย โดย
ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เข้าเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์แบบ IPO ที่มีมูลค่าการเสนอขายสูงสุดจำนวน 9 รายการจาก
ธุรกรรมที่มีมูลค่าการเสนอขายสูงสุด 10 รายการแรกของประเทศ และตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ
ได้เข้าเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการเสนอขายตั้งแต่ 4,000.0 ล้านล้านขึ้นไป ทั้งสิ้นจำนวน 5 รายการ
จากจำนวนธุรกรรมทั้งสิ้น 12 รายการ
- บริษัทฯ ให้บริการที่ผสมผสานประสบการณ์ ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศ
กับความรู้มาตรฐานการดำเนินงานและเครือข่ายนักลงทุนที่อยู่ในระดับสากล โดยบริษัทฯ เคยร่วมมือทางธุรกิจกับ
สถาบันการเงินชั้นนำของโลก ทั้ง SG Warburg, Goldman Sachs และล่าสุดได้แก่เมอร์ริล ลินช์ ทำให้บริษัทฯ
สามารถผสมผสานความรู้ มาตรฐานการดำเนินงาน และเครือข่ายนักลงทุนระดับสากลดังกล่าวให้เข้ากับ
ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศ ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถพัฒนาเป็นหนึ่งในผู้นำ
ตลาดในธุรกิจหลักทรัพย์ได้
- บริษัทฯ มีผลงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลทั้งงานวิจัยด้านเศรษฐกิจและด้านตราสารทุน
โดยงานวิจัยและนักวิเคราะห์ของบริษัทฯ ได้รับรางวัลเกี่ยวกับผลงานวิจัยมากมาย ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมีส่วนสำคัญ
ในการสนับสนุนธุรกิจวานิชธนกิจและธุรกิจนายหน้าซื้อชายหลักทรัพย์ของบริษัทฯได้เป็นอย่างดี
- บริษัทฯ มีคณะผู้บริหารที่มีประสบการณ์ และมีบุคลากรที่มีคุณภาพ คณะผู้บริหารของบริษัทฯ มี
ประสบการณ์ในธุรกิจหลักทรัพย์มากกว่า 20 ปี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทฯ สามารถรักษาและดำรงไว้ซึ่ง
ความสัมพันธ์ที่ยาวนานกับลูกค้า นอกจากนี้ คณะผู้บริหารของบริษัทฯ ยังได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรที่มีคุณภาพ
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บริษัทฯ สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับความต้องการ
ของลูกค้า รวมถึงให้บริการที่มีประสิทธิภาพและได้ระดับมาตรฐานสากล
เป้าหมายและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ
บริษัทฯ มีเป้าหมายในการที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในทุกธุรกิจหลักที่บริษัทฯ ให้บริการ โดยจะเป็นบริษัท
หลักทรัพย์ในลำดับแรกที่ลูกค้าเลือกใช้บริการ บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวโดยใช้กลยุทธ์ดัง
ต่อไปนี้
- บริษัทฯ จะยังคงมุ่งเน้นการให้บริการในธุรกิจวานิชธนกิจในธุรกรรมที่มีขนาดใหญ่และมูลค่าสูง
บริษัทฯ คาดว่าในช่วงระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า จะมีธุรกรรมการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทุนขนาดใหญ่ในประเทศ
เป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมา รายได้ส่วนใหญ่ของธุรกิจวานิชธนกิจ มาจากธุรกรรมดังกล่าว ซึ่งบริษัทฯ จะยังคงมุ่งเน้น
การให้บริการในลักษณะดังกล่าวต่อไป โดยบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าด้วยเครือข่ายในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ และความ
เป็นผู้นำในตลาดจะช่วยให้บริษัทฯ มีโอกาสได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ประเภททุนขนาดใหญ่ใน
อนาคตต่อไป
- บริษัทฯ มีการประกอบธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นในการคัดสรรการให้บริการ ที่เหมาะสมกับลูกค้าทั้งที่
เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากธุรกิจในทุกส่วนได้มากขึ้น
- บริษัทฯ จะขยายธุรกิจในส่วนลูกค้าบุคคลให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่บริษัทฯ โดยเพิ่มจำนวน
เจ้าหน้าที่การตลาดเพื่อให้สามารถรองรับลูกค้าบุคคลรายใหญ่ที่จะมีเพิ่มมากขึ้น และขยายธุรกิจให้ครอบคลุมลูกค้า
รายย่อยโดยเปิดให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet Trading) ภายในไตรมาส 3
ของปี 2548
- บริษัทฯ จะมุ่งพัฒนาธุรกิจด้านการลงทุนของบริษัทฯ โดยใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญที่มีเกี่ยวกับ
ตลาดเงินตลาดทุน เพื่อเสาะหาบริษัทที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (Undervalued stock)
ทั้งที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยการลงทุนดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามแนวทางการลงทุน
ที่กำหนดโดยคณะกรรมการการลงทุนรวมถึงเกณฑ์การลงทุนและผลตอบแทนขั้นต่ำตามที่กำหนด
- บริษัทฯ จะยังคงแสวงหาโอกาสในการเข้าสู่ธุรกิจใหม่ที่เป็นธุรกิจหลักทรัพย์โดยตรงและธุรกิจที่
เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ เช่น ธุรกิจยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ทรัพย์ ธุรกิจตราสารอนุพันธ์ ธุรกิจจัดการกองทุน
เป็นต้น เพื่อขยายธุรกิจและสร้างโอกาสในการเจริญเติบโตให้กับบริษัทฯ
- บริษัทฯ จะยังคงสรรหาและรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่มีคุณภาพ บริษัทฯ ตระหนักเสมอว่า บุคลากรเป็น
ทรัพย์สินที่มีคุณค่าสูงสุดของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงมีความตั้งใจเสมอมาที่จะรักษาไว้ซึ่งบุคคลากรที่มีคุณค่าของบริษัทฯ
โดยสังเกตได้จากระยะเวลาการร่วมงานกับบริษัทฯ ของบุคลากรอาวุโสและบุคลากรหลัก นอกจากนี้ บริษัทฯ
จะยังคงสรรหาบุคลากรที่ดีที่สุดในธุรกิจหลักทรัพย์เพื่อมาทำงานกับบริษัทฯ โดยมีนโยบายที่จูงใจให้บุคลากรทำงาน
ร่วมกับบริษัทฯ ในระยะยาว โดยการให้ผลตอบแทนและผลประโยชน์ต่าง ๆ ในอัตราที่สามารถแข่งขันได้ การดำรง
ไว้ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรในการทำงานที่ดี การฝึกอบรมให้กับบุคลากรในทุกสายงานอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
โครงสร้างรายได้
รายได้ของบริษัท 2545 2546 2547
ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท %
รายได้จากค่านายหน้า - ลูกค้าสถาบันในประเทศ 67.2 9.0 109.0 6.7 201.5 12.1
- ลูกค้าสถาบันต่างประเทศ 293.1 39.4 444.6 27.2 520.8 31.2
- ลูกค้าบุคคลรายใหญ่ 90.0 12.1 226.2 13.9 291.4 17.5
รวมรายได้จากค่านายหน้า 450.2 60.5 779.8 47.7 1,013.7 60.8
รายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการ - การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 94.9 12.7 695.3 42.6 399.4 23.9
- ที่ปรึกษาทางการเงิน 127.0 17.1 119.0 7.3 218.7 13.1
รวมรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการ 221.9 29.8 814.3 49.9 618.1 37.0
รายได้อื่น 72.6 9.7 39.8 2.4 36.2 2.2
รวมรายได้ทั้งหมด 744.7 100.0 1,633.9 100.0 1,668.0 100.0
รางวัลต่างๆ
- ฝ่ายวานิชธนกิจ
ผู้ให้รางวัล ปี ลักษณะของรางวัล
นิตยสาร Finance Asia 2543 วานิชธนกิจในประเทศยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทย
2544 การเสนอขายหลักทรัพย์ IPO ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งปีจากกรณีของ
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
2545 วานิชธนกิจต่างประเทศยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทย
2547 วานิชธนกิจยอดเยี่ยมและวานิชธนกิจด้านตราสารทุนยอดเยี่ยมที่สุด
ของประเทศไทย
ธุรกรรมการแปรรูปและการเสนอขายหลักทรัพย์ IPO ยอดเยี่ยม
ที่สุดของประเทศไทยจากกรณีบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
ธุรกรรมตราสารทุนยอดเยี่ยมที่สุดจากกรณีบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
ธุรกรรมที่ยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทยจากกรณีบริษัท ไทยออยล์
จำกัด (มหาชน)
นิตยสาร Euromoney 2543 วานิชธนกิจด้านตราสารหนี้ยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทย
2544 วานิชธนกิจด้านตราสารทุนยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทย
2545 วานิชธนกิจด้านตราสารทุนยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทย
2547 วานิชธนกิจด้านตราสารทุนยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทย
นิตยสาร The Asset 2544 การเสนอขายหลักทรัพย์ IPO ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งปีจากกรณีของ
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
2546 วานิชธนกิจยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทย
2547 การควบรวมกิจการยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทยจากกรณีการ
ควบรวมกิจการของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน) และบรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
วานิชธนกิจยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทย
การเสนอขายหลักทรัพย์ IPO ยอดเยี่ยมที่สุดจากกรณีของบริษัท
ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
นิตยสารการเงินการธนาคาร 2545 ที่ปรึกษาทางการเงินยอดเยี่ยมที่สุด (กรณีการแปรรูปบริษัท ปตท.
จำกัด(มหาชน))
ตลาดหลักทรัพย์ฯ 2547 ที่ปรึกษาทางการเงินในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์ฯ ยอดเยี่ยมแห่งปีจากกรณีบริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด
(มหาชน)
- ฝ่ายงานวิจัย
ผู้มอบรางวัล พ.ศ. รางวัลที่ได้
นิตยสาร Asiamoney 2543 บริษัทด้านงานวิจัยยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทย
ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ —นักวิจัยยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทย
งานวิจัยยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทยเกี่ยวกับงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาค
2544 งานวิจัยยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทยเกี่ยวกับข้อมูลของประเทศ
ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ — นักวิจัยยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทย
งานวิจัยยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทยเกี่ยวกับงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาค
2545 งานวิจัยยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทยเกี่ยวกับข้อมูลของประเทศ
งานวิจัยยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทยเกี่ยวกับงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาค
2546 งานวิจัยยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทยเกี่ยวกับงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาค
นิตยสาร Institutional Investor 2543 ทีมงานวิจัยยอดเยี่ยมอันดับสองของประเทศไทย
2544 ทีมงานวิจัยยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศไทยเกี่ยวกับข้อมูลของประเทศไทย
2547 ทีมงานวิจัยยอดเยี่ยมอันดับที่สี่ของประเทศไทย
ตลาดหลักทรัพย์ฯ 2547 ฝ่ายวิจัยยอดเยี่ยมที่สุดประจำปีของประเทศไทยสำหรับนัก
ลงทุนสถาบัน--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ