อุตฯ น้ำตาล แนะรัฐผลักดันเปิดเสรีน้ำตาลทรายในตลาดอาเซียน หลังหลายประเทศสมาชิกตั้งการ์ดปกป้อง ฉุดโอกาสการส่งออก

อังคาร ๐๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๔ ๑๖:๔๔
3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย หวั่นแผนขยายตลาดน้ำตาลไทยในอาเซียนมีอุปสรรค แม้เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หลังหลายชาติในอาเซียน คงนโยบายชะลอการเปิดเสรีตลาดน้ำตาล แนะไทยควรเร่งผลักดันประเทศสมาชิกเปิดเสรีน้ำตาลทราย ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันน้ำตาลไทยให้ยั่งยืน

นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ไทยถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพการส่งออกน้ำตาลทรายเป็นเบอร์ 2 ของโลก โดยมีปริมาณส่งออกร้อยละ 70 จากผลผลิตเฉลี่ยอยู่ปีละ10 ล้านตัน ซึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญอยู่ในเอเชีย ร้อยละ 90 และในจำนวนนี้ เป็นการส่งออกไปประเทศในกลุ่มอาเซียนถึงร้อยละ 45 ของปริมาณน้ำตาลส่งออกทั้งหมด โดยแนวโน้มคาดว่า จะมีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากหลายประเทศ ยังไม่สามารถผลิตน้ำตาลทรายได้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ จึงนำเข้าน้ำตาลทรายจากประเทศไทย เนื่องจากมีความสะดวกและมีต้นทุนค่าขนส่งต่ำกว่า การนำเข้าน้ำตาลทรายจากประเทศบราซิล ที่เป็นผู้ส่งออกน้ำตาลทรายเบอร์ 1 ของโลก

อย่างไรก็ตาม พบว่า ยังมีอุปสรรคด้านการส่งออกน้ำตาลทรายของไทยไปยังอาเซียน เนื่องจากหลายประเทศได้ชะลอการปรับลดภาษีนำเข้าน้ำตาลทราย รวมถึงการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมน้ำตาลภายในประเทศตนเอง เช่น อินโดนีเซีย ได้ใช้สิทธิกำหนดน้ำตาลเป็นสินค้าอ่อนไหวสูง จึงขอทยอยลดภาษีลดลงเหลือร้อยละ 5-10 ในปี 2558 เช่นเดียวกับประเทศฟิลิปปินส์ที่ขอทยอยลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ในปี 2558 หรือมาเลเซียที่ใช้การกำหนดโควตา และการขอใบอนุญาตนำเข้า ส่งผลให้การส่งออกน้ำตาลทรายไปยังประเทศเหล่านี้ไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร

“เดิมทีประเทศในอาเซียนได้ตกลงกรอบการค้าเสรีระหว่างกัน (AFTA) เมื่อปี 2535 ที่ให้สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย ลดภาษีนำเข้าน้ำตาลเหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี 2553 และประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ ลาว พม่า กัมพูชาและเวียดนาม ทยอยปรับลดภาษีน้ำตาลลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี 2560 แต่ในความเป็นจริง การลดภาษีภายใต้กรอบการค้าเสรีดังกล่าว ยังไม่บรรลุเจตนารมณ์ตามกรอบการค้าที่ได้ตกลงระหว่างกัน เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้ปกป้องอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายภายในประเทศ” นายเชิดพงษ์ กล่าว

ทั้งนี้ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย มีความกังวลว่า แม้ในปี 2558 ที่ชาติในอาเซียนจะรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน แต่หากประเทศสมาชิกเหล่านี้ ยังคงนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมด้วยการชะลอการเปิดตลาดเสรีน้ำตาลทรายต่อไปย่อมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลทรายของไทย

ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรเจรจาผลักดันให้ประเทศสมาชิกอาเซียน ดำเนินการเปิดเสรีนำเข้าตลาดน้ำตาลทรายได้อย่างเสรี โดยกำหนดเงื่อนไขและกรอบเวลาให้ชัดเจน ซึ่งจะช่วยเอื้อโอกาสการส่งออกน้ำตาลทรายของไทยไปยังชาติในอาเซียนมากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการไทย ก็ต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอย่างจริงจัง ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพแข่งขันของอุตสาหกรรมน้ำตาลไทยให้มีความยั่งยืนและมีรายได้จากการส่งออกน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version