KMC เตรียมรับเงิน 165 ลบ.ขายหุ้นPP ให้นลท. เตรียมเก็บไว้ทุนรองรับแผนขยายธุรกิจในอนาคต

อังคาร ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๔ ๑๑:๔๖
บมจ.กฤษดามหานคร (KMC) เตรียมรับเงิน 165 ล้านบาท จากการขายหุ้นเพิ่มทุนแบบPP จำนวน 600 ล้านหุ้น ให้พันธมิตร 5 ราย ราคาจองซื้อ 0.276 บาทต่อหุ้น “ยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์” ระบุ นำเงินระดมทุนในครั้งนี้ใช้เป็นทุนสำรองเพื่อดำเนินโครงการอสังหาริมทรัพย์เก่าพร้อมเตรียมผุดโครงการใหม่ต่อเนื่อง มั่นใจผลักดันธุรกิจในอนาคตเติบโตต่อเนื่องอย่างแข็งแกร่ง

นายยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กฤษดามหานคร จำกัด(มหาชน) ซึ่งจะเปลี่ยนชื่อเป็น AQ ESTATE ในเร็วๆนี้ เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 1 /2557 ได้มีมติอนุมัติให้จัดสรรและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนใหม่ของบริษัทฯ จำนวน 5,000,000,000 หุ้น เพื่อจัดสรรเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด หรือผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551 โดยในครั้งนี้มติคณะกรรมการได้อนุมัติการจัดสรรให้กับบุคคลโดยเฉพาะเจาะจง (PP) จำนวน 600,000,000 หุ้นในราคาหุ้นละ 0.276 บาท จำนวน 5 ราย ประกอบด้วย 1. นายกฤตศิลป์ ฉลองขวัญ จำนวน 150,000,000 มูลค่า 41,400,000 บาท หุ้น 2. นายทวีป เรืองหร่าย จำนวน 150,000,000 หุ้น มูลค่า 41,400,000 บาท 3. นายศศิศ มนต์เสรีนุสรณ์ จำนวน 50,000,000 หุ้น มูลค่า 13,800,000 บาท 4. นางฐิติมา จันต้น จำนวน 80,000,000 หุ้น มูลค่า 22,080,000 บาท และ 5 นางสาวกรรณิดา ตั้งกิจตรงเจริญ จำนวน 170,000,000 หุ้น มูลค่า 46,920,000 บาท คิดเป็นมูลค่ารวม 165,600,000 บาท

สำหรับราคาเสนอขายหุ้นดังกล่าว คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติราคาเสนอขายใช้ราคาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ราคาตลาดเฉลี่ยอย่างน้อย 7 วันแต่ไม่เกิน 14 วันทำการติดต่อกันก่อนวันแรกที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนคือตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557(วันเสนอขายคือวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557) โดยมีราคาเฉลี่ย 0.3062 บาท และ ราคาร้อยละ 90 เท่ากับ 0.2756 บาท มีกำหนดระยะเวลาชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุน จำนวน 165,600,000 บาท ภายในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557

“เม็ดเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้จะนำไปใช้เป็นทุนสำรองในการดำเนินโครงการอสังหาริมทรัพย์เดิม และโครงการใหม่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตต่อไปโดยไม่สะดุดและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับบริษัทได้ ซึ่งบริษัทมีโครงการอื่นๆอีกหลายโครงการที่ต้องดำเนินการ อาทิการลงทุนซื้อที่ดินโครงการ Bypass จังหวัดชลบุรี และโครงการภูรีศาลา จังหวัดภูเก็ต ตลอดจนโครงการคริสการ์เดน พระราม 9 ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินทุนในการลงทุนและพัฒนาโครงการ ซึ่งการมีแหล่งเงินทุนสำรองที่เพียงพอจะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตและสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงินให้กับบริษัทได้”นายยงยุทธ กล่าวในที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ