CPF สร้างเครือข่ายเกษตรกรคอนแทรคฟาร์ม เน้นส่งเสริมเทคโนโลยีสร้างอาหารปลอดภัย

พุธ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๔ ๑๔:๕๑
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าสร้างความสำเร็จที่ยั่งยืนแก่เกษตรกรระบบคอนแทรคฟาร์ม ผลักดันการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีและมาตรฐานการผลิตเดียวกันกับบริษัทฯ สู่เกษตรกร ผู้เป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่การผลิตอาหารปลอดภัย

นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตอาหารปลอดภัย (food safety) ตลอดทั้งห่วงโซ่อาหาร (Supply Chain) ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจในคุณภาพของอาหารที่ต้องทั้งอร่อย สะอาด และปลอดภัยกับการบริโภค บริษัทจึงมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการผลิตอาหารของบริษัท โดยเฉพาะการถ่ายทอดเทคโนโลยีและมาตรฐานการผลิตเดียวกันกับบริษัทฯ ไปสู่เกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์กับซีพีเอฟ หรือคอนแทรคฟาร์ม ที่ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลิตสัตว์ที่เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของการผลิตอาหารปลอดภัย

นายณรงค์ กล่าวอีกว่า ซีพีเอฟทำหน้าที่สร้างเครือข่ายส่งเสริมเกษตรกร ช่วยสร้างอาชีพที่ยั่งยืน และการมีรายได้ที่มั่นคง เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย ขณะที่ระบบคอนแทรคฟาร์มยังช่วยลดปัญหาความเสี่ยงของราคาผลิตผลการเกษตรที่มีความผันผวนสูง โดยมีบริษัทเป็นผู้รับความเสี่ยงแทนเกษตรกร ทั้งนี้ ในกระบวนการผลิตของเกษตรกรจะอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากเนื้อสัตว์ที่ผลิตได้ต้องสามารถควบคุมมาตราฐานจนถึงมือผู้บริโภค

“โมเดลคอนแทรคฟาร์ม ในแบบฉบับของซีพีเอฟคือการมุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตอาหารปลอดภัยที่เป็นพื้นฐานสำคัญของบริษัทสู่เกษตรกร เพื่อร่วมกันผลิตและพัฒนาสินค้าตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะด้านคุณภาพและความปลอดภัย ที่จะต้องใส่ใจและให้ความสำคัญในการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต เพื่อให้มั่นใจว่าตลอดสายการผลิตสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ นับเป็นหัวใจหลักสู่ความสำเร็จและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต” นายณรงค์ กล่าว

ทั้งนี้ บริษัทได้วางแผนการผลิตและจัดพื้นที่การผลิต (Zoning) อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยมีการจัดประชุมประจำเดือน เพื่อติดตามประสิทธิภาพการผลิต แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ตลอดจนให้ข้อมูลที่น่าสนใจ ทั้งการเลี้ยงสัตว์ เทคโนโลยี วิชาการใหม่ๆ โดยในบางพื้นที่มีการจัดตั้งเป็นชมรมเกษตรกรคอนแทรคฟาร์มซีพีเอฟ ตลอดจนคัดเลือกฟาร์มของเกษตรกรที่มีการจัดการมาตรฐานและประสิทธิภาพการผลิตดีเด่น ให้เป็น “ศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์” เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่เพื่อนเกษตรกร นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาดูงานความสำเร็จของเพื่อนเกษตรกรในพื่นที่อื่น เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับฟาร์มของตนเอง

“สิ่งที่สำคัญ เกษตรกรไทยต้องมีการปรับตัวเองให้มีความสนใจหาความรู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้แข่งขัน สร้างความยั่งยืน และส่งผลให้ภาคการเกษตรของไทยมีความแข็งแกร่งมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่จำเป็นมากในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน หากเกษตรกรไม่แข่งขันและปรับตัวจะอยู่รอดได้ลำบาก” นายณรงค์ กล่าว

นายณรงค์ บอกอีกว่า ที่ผ่านมายังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในระบบคอนแทรคฟาร์ม ซึ่งถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดสามารถตรวจสอบตัวเลขจำนวนเกษตรกรทั้งประเทศที่อยู่ในระบบนี้ได้อย่างชัดเจน มีเพียงการคาดการณ์เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มทั้งการเพาะปลูกพืชและปศุสัตว์ที่ประมาณ 1.5 -2 แสนราย แบ่งเป็นคอนแทรคฟาร์มภาคปศุสัตว์ประมาณ 50,000 รายเท่านั้น

สำหรับซีพีเอฟมีเกษตรกรร่วมโครงการคอนแทรคฟาร์ม จำนวน 5,147 ราย คิดเป็น 10% ของทั้งประเทศ ทั้งนี้ พบว่าในจำนวนเกษตรกรกว่า 5 พันรายของซีพีเอฟ ครึ่งหนึ่งเป็นเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมาเกินกว่า 10 ปี รวมถึงเกษตรกรรุ่นแรกๆ เมื่อครั้งริเริ่มโครงการฯ ในปี 2518 ก็ยังคงร่วมโครงการกับบริษัทอย่างต่อเนื่อง ตอกย้ำการส่งเสริมให้เกิดอาชีพอย่างยั่งยืนแก่เกษตรกรจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภารกิจความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท

“ปัจจุบันเกษตรกรที่ร่วมโครงการกับซีพีเอฟมากกว่า 99% ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่การที่สังคมมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่งคลาดเคลื่อนไปในเชิงลบ น่าจะเกิดจากที่ผ่านมาในการสำรวจหรือทำการวิจัยของหน่วยงานต่างๆเกี่ยวกับระบบนี้ ในพื้นที่ที่มีการทำวิจัยนั้นมีเกษตรกรของซีพีเอฟในจำนวนน้อย จึงไม่มีโอกาสได้ถ่ายทอดความสำเร็จผ่านงานวิจัยต่างๆ” นายณรงค์ กล่าว

ทั้งนี้ โครงการคอนแทรคฟาร์มของซีพีเอฟ มีเกษตรกร 67.40 % ที่ปราศจากหนี้สิน ส่วนเกษตรกร 30.66 % ยังอยู่ในระยะเวลาการคืนเงินกู้ให้กับสถาบันการเงิน (ประมาณ 7-8 ปี ) และมีเพียง 1.83 % ที่มีหนี้สินเกินระยะเวลาการคืนเงินกู้กับสถาบันการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องสุดวิสัย เช่น มีคนในครอบครัวเจ็บป่วยต้องใช้เงินเร่งด่วน อย่างไรก็ตามยังมีเกษตรกร 0.12% ที่มีปัญหากับบริษัทฯ จำเป็นต้องยุติการทำธุรกิจร่วมกัน ซึ่งกรณีนี้เกิดจากเกษตรกรไม่ได้ดูแลฟาร์มเอง เกิดการเสียหายสูง หรือลักขโมย เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version