กลยุทธ์ 3 วิธีในการป้องกันข้อมูลขององค์กร

ศุกร์ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๔ ๑๖:๐๖
บทความโดย นายมารุต มณีสถิตย์

กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด

ปัจจุบัน ข้อมูลถือเป็นหัวใจสำคัญที่สามารถผลักดันให้ธุรกิจเกิดความคล่องตัวและช่วยในการตัดสินใจเพื่อสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ แต่ด้วยการขยายตัวของข้อมูลอย่างมหาศาล ทั้งในแบบที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง จึงเป็นงานที่ยากในการป้องกันและจัดเก็บ

การที่จะต้องประมวลผลไฟล์ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และมีปริมาณมากๆนั้น กำลังสร้างความกดดันให้กับฝ่ายไอทีขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง ยกตัวอย่าง เช่น การสำรองข้อมูลขนาด 84 เทราไบต์ผ่านการเชื่อมต่อเดียวที่ระดับ 10 กิกะไบต์ จะต้องใช้เวลานานถึง 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสำรองข้อมูลรายวัน

นอกจากนี้ เทคโนโลยีการจัดเก็บและการกู้คืนข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้ไม่สามารถแน่ใจว่าข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้เป็นระยะเวลายาวนาน เช่น 20 ปี จะสามารถกู้คืนได้อย่างปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือได้หรือไม่

รายงานล่าสุดของ ESG (Enterprise Strategy Group) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและวิจัยด้านไอทีระดับสากล ได้ระบุความท้าทายในการปรับเปลี่ยนระบบการป้องกันข้อมูลให้ทันสมัย ดังต่อไปนี้:

- ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น: ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งหนึ่งขององค์กรขนาดกลาง ระบุว่า ปริมาณข้อมูลทั้งหมดของตนมีมากขึ้นกว่า 10 เทราไบต์ และเกือบครึ่งหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่ระบุว่าพวกเขาต้องบริหารจัดการข้อมูลที่มีขนาดมากกว่า 100 เทราไบต์

- ปัญหามากมาย: องค์กรต่างๆ ยังคงเผชิญหน้ากับความท้าทายด้านการจัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะปัญหาหลักๆ ประกอบด้วย การขยายตัวของข้อมูลและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ความจำเป็นที่จะต้องลดเวลาในการสำรองข้อมูล ไปพร้อมๆ กับความจุของข้อมูลที่ต้องได้รับการป้องกัน

- การคงอยู่ของเทปข้อมูล: แม้จะพบว่ามีเพียง 10% ขององค์กรเท่านั้นที่ยังคงใช้เทปเป็นสื่อจัดเก็บข้อมูลสำรองของตน แต่ส่วนนี้ก็ยังคงเป็นส่วนที่องค์กรจำนวนมากใช้เป็นกลยุทธ์ด้านการป้องกันข้อมูล ในความเป็นจริงจะเห็นได้ว่าองค์กรเกือบ 75% ใช้การจัดเก็บข้อมูลด้วยดิสก์เป็นกลยุทธ์หลักในการป้องกันข้อมูลของตน ขณะที่ 56% ใช้เทปเป็นขั้นสองในการสำรองข้อมูล

การขยายตัวของข้อมูลและแนวโน้มของเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น เซิร์ฟเวอร์เสมือน ซึ่งจำกัดความพร้อมของทรัพยากรทางกายภาพของเซิร์ฟเวอร์ ได้สร้างความท้าทายที่สำคัญเนื่องจากความต้องการลดระยะเวลาในการสำรองข้อมูลและทำให้เกิดความยุ่งยากสำหรับองค์กรต่างๆ ในการตอบสนองความต้องการด้านการกู้คืนข้อมูลให้รวดเร็วและน่าเชื่อถือ

หลายๆองค์กรมักจะจัดการกับความท้าทายเหล่านี้แบบระยะสั้น ซึ่งในท้ายที่สุดก็จะก่อให้เกิดต้นทุนที่แพงและไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการ ตัวอย่างเช่น องค์กรส่วนใหญ่จะสำรองข้อมูลโดยใช้แผนยึดตามแนวทาง “ทำแบบเดียวเดียวตอบโจทย์ครบ” หรือ One Size Fit All จึงทำการสำรองข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงว่า จริงๆแล้ว ข้อมูลไม่ได้มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ข้อมูลบางอย่างมีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นลำดับแรกและจำเป็นต้องได้รับการป้องกันในเชิงรุกมากกว่า

การป้องกันข้อมูลแบบครบวงจรนั้น จะต้องพิจารณาในด้านปริมาณและประเภทข้อมูลที่ต้องใช้งานผ่านระบบขององค์กรในทุกๆวัน ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จึงได้พัฒนาสามกลยุทธ์สำหรับการป้องกันแบบระยะยาวเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับข้อมูลขององค์กร:

1. ลดพื้นที่เก็บสำเนาข้อมูลในขั้นตอนของการปกป้องข้อมูล

สิ่งแรกที่องค์กรควรทำ คือ การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลและแยกแยะข้อมูลว่า ข้อมูลไหนเป็น ข้อมูลสำคัญที่มีผลกระทบกับธุรกิจสูง และจำเป็นต้องมีแผนการทำการสำรองข้อมูล หรือป้องการสูญหายอย่างรัดกุม (Mission Critical data) ด้วยการเลือกย้ายข้อมูลที่ไม่มีการเคลื่อนไหว (Inactive data) ออกไปจากที่เก็บข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลดังกล่าวนั้น ยังคงมีความสำคัญที่จะต้องมีการป้องกันเก็บรักษาและสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ จุดสำคัญของการเก็บรักษาข้อมูลแบบนี้ คือ อุปกรณ์จัดเก็บ Content Platform นี้ ควรมาพร้อมการปกป้องข้อมูลในตัว ซึ่งจะช่วยให้องค์กรยังสามารถจัดเก็บข้อมูล Inactive นี้ได้ในระยะยาว ในขณะเดียวกันยังได้ประโยชน์ในการลดเวลาการสำรองข้อมูล (backup window time) และ ลดขนาดของโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสามารถเรียกคืนพื้นที่จัดเก็บข้อมูลต้นทุนสูงระดับ Tier1 เพื่อให้รองรับข้อมูลใหม่ได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

2. ใช้การป้องกันข้อมูลในระดับ Storage ด้วยการสั่งการร่วมกันจาก Application level ให้มากขึ้น

องค์กรควรเพิ่มการใช้งานการทำสำเนาชั่วขณะ (snapshot) และ สำเนาเหมือน (Replication) ในตัว Storage System ให้มากขึ้น โดยทำงานร่วมกับระบบป้องกันข้อมูลแบบครบวงจร

เครื่องมือใหม่ๆในตลาดปัจจุบัน มีการนำเสนอความสามารถที่หลากหลายมากขึ้น ทั้ง ฟังก์ชั่น , การทำงานอัตโนมัติ, ความต้องการการจัดเรียงลำดับขั้นตอน (scripting) , การรองรับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ และ รองรับการทำงานร่วมกับแอพพิเคชั่นใหม่เพิ่มขึ้น

รูปแบบโซลูชั่นดังกล่าว จะทำให้องค์กรสามารถเชื่อมการทำงานอันชาญฉลาดของแอพพิเคชั่นใหม่ๆ เข้ากับ การทำสำเนาแบบชั่วขณะ (Snapshot) ของฮาร์ดแวร์ ให้ทำงานควบคู่การรับงานตามปกติได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยลดความซับซ้อนในการตั้งค่าและการจัดลำดับขั้นตอนการบริหารจัดการให้น้อยลง เป็นการรวมศูนย์การจัดการบริหารที่ส่วนกลาง เชื่อมโยงกับ Storage หลากหลาย Platform ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ที่สำคัญอย่างยิ่ง วิธีการดังกล่าวจะช่วยให้ ธุรกิจสามารถเรียกคืนข้อมูลทั้งหมด หรือ เลือกข้อมูลบางส่วนขึ้นมา ในขณะที่ แอพพิเคชั่นยังทำงานได้อย่างถูกต้อง ไม่มีข้อบกพร่อง

3. ใช้การป้องกันข้อมูลต่อเนื่องแบบใกล้เคียงเรียลไทม์

โดยปกติ โครงสร้างสถาปัตยกรรมของระบบสำรองข้อมูลนั้น ข้อมูลจะถูกทำสำเนา ภายใต้ข้อกำหนดเพื่อการป้องกันข้อมูลที่ตั้งไว้ (protection policy) และ ภายใต้เวลาการทำสำรองข้อมูลที่ ในชั่วเวลาที่กำหนด(backup window). ดังนั้น การทำสำรองข้อมูลแบบเฉพาะส่วนต่าง (incremental backup) จึงถูกแทรกเพิ่มระหว่างรอเวลาการทำสำรองข้อมูลแบบเต็ม (Full backup) เพื่อให้ไม่เกิดผลกระทบด้าน Performance มากนักกับในโครงสร้างระบบสำรองข้อมูลที่มีอยู่ แต่การสร้างข้อมูลสำรองแบบนี้จะทำให้เกิดช่วงห่างของข้อมูล ซึ่งทำให้เกิดข้อมูลสูญหายในหลายช่วงที่ไม่มีการสำรองข้อมูล และปัญหาอื่นๆได้อีก

โซลูชั่นสำรองข้อมูลปัจจุบัน สามารถแก้ปัญหานี้ โดยการกำหนด แผนการทำสำรองข้อมูลให้ทำงานต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลที่สำรองในแต่ละช่วงมีความใกล้เคียงเรียลไทม์ โดยรูปแบบดังกล่าวรวมไปถึง "การป้องกันข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous Data Protection ,CDP)" ที่ทำให้การสำรองข้อมูลเกิดขึ้นแบบออนไลน์ และสร้าง การเชื่อมต่อเสมือนเพื่อการเรียกใช้งานไปด้วย ทำให้การสำรองข้อมูลมีเพียงแบบเฉพาะส่วนต่าง(Incremental) ไปตลอด โดยไม่ต้องการการทำสำรองข้อมูลแบบเต็ม (Full backup) อีกต่อไป ทำให้ช่วยลดพื้นที่และขั้นตอนเพื่อการเรียกใช้ Full backup ในระหว่างการกู้คืนข้อมูลได้ แนวทางนี้ยังสามารถช่วยลดการขัดจังหวะและเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่องค์กรในการเรียกใช้ ข้อมูลหลัก (Data Production)อย่างต่อเนื่องมากขึ้น

สามกลยุทธ์เหล่านี้จะสามารถช่วยให้องค์กรเปลี่ยนค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่สูง และการใช้พื้นที่จัดเก็บขนาดใหญ่ที่ไม่เกิดความคุ้มค่าในการใช้งาน ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ด้วยการบริหารจัดการที่สะดวก ลดต้นทุนการบริหารจัดการ และ ทำให้การปกป้องข้อมูลมีความสมบูรณ์ครบวงจรมากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ