แม่โจ้เดินหน้าโครงการยุทธศาสตร์จังหวัดเชียงใหม่ด้านอาหารอินทรีย์

อาทิตย์ ๐๒ มีนาคม ๒๐๑๔ ๑๕:๓๓
ตามที่ในปีงบประมาณ 2557 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 84 ล้านบาท เพื่อให้ดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ โดยมีโครงการต่าง ๆ รองรับ เช่น โครงการโรงปุ๋ยอินทรีย์สำหรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์เชิงเดี่ยวคุณภาพสูงมาตรฐาน IFOAM ในระดับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์อินทรีย์แก่เครือข่ายเกษตรกรโครงการความร่วมมือเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเกษตรอินทรีย์ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับมูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน (สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน) และเครือข่ายมหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่และโครงการควบคุมศัตรูพืชด้วยระบบชีววิถีเพื่อการผลิตเกษตรอินทรีย์นั้น

ในส่วนของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ก็ได้รับผิดชอบในโครงการการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองวิธีวิศวกรรมแม่โจ้1 เพื่อเป็นปัจจัยการผลิตผักอินทรีย์ โดยมีการมอบมูลสัตว์ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 100 แห่งๆ ละ 1,100 กระสอบ เพื่อให้มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองแห่งละ 36 ตัน หรือมีความยาวกองปุ๋ยแห่งละ 144 เมตร ซึ่งการจัดฝึกอบรมและคัดเลือกกลุ่มเข้าร่วมโครงการก็ได้ดำเนินการไปแล้วในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ และขณะนี้อยู่ในช่วงของการลงมือผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของแต่ละกลุ่มเพื่อให้โครงการตรวจสอบและประเมินผลต่อไป

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้1 เป็นนวัตกรรมใหม่ของประเทศที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ปริมาณมากโดยไม่ต้องพลิกกลับกอง ซึ่งเดิมการพลิกกลับกองเป็นปัญหาของเกษตรกรเพราะต้องเสียเวลาและแรงงานในการพลิกกลับ และได้ปุ๋ยอินทรีย์ปริมาณครั้งละไม่มากไม่พอใช้โดยวิธีนี้ใช้แค่มูลสัตว์และเศษพืชในการขึ้นกอง มีอัตราส่วนใบไม้ต่อมูลสัตว์ 3 ต่อ 1 และฟางหรือผักตบชวาหรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์4 ต่อ 1 โดยปริมาตร การดูแลกองปุ๋ยมีเพียงการรักษาความชื้นกองปุ๋ยเท่านั้น กระบวนการเสร็จในเวลา 2 เดือน โดยอาศัยหลักการทางวิศวกรรม (การพาความร้อน) ช่วยให้มีอากาศภายนอกไหลเวียนเข้ากองปุ๋ยรูปสามเหลี่ยมสูง 1.5 เมตรตลอดเวลา ทำให้จุลินทรีย์ได้รับออกซิเจนสำหรับการย่อยสลายทางชีวภาพแบบใช้ออกซิเจนโดยไม่ต้องพลิกกลับกองเลย

ต้นทุนในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้มีเพียงค่ามูลสัตว์ โดยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตันต้องการมูลสัตว์ประมาณ 30 กระสอบหรือประมาณ 750 บาท ในขณะที่ราคาของปุ๋ยอินทรีย์ในท้องตลาดสูงถึงตันละ 5,000 บาท

มหาวิทยาลัยแม่โจ้คาดหมายว่าเมื่อนวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้ถูกถ่ายทอดลงสู่ชุมชน 100 แห่งในจังหวัดตามโครงการ ก็จะทำให้เกษตรกรเห็นคุณค่าของเศษพืช มีการนำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อนำไปเป็นปัจจัยการผลิตพืชผักหรือข้าวอินทรีย์ที่มีราคาสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค อันจะช่วยให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มมากขึ้น เพิ่มผลผลิต และที่สำคัญคือการเผาทำลายเศษพืชจะลดลง ส่งผลให้ปัญหาหมอกควันพิษในจังหวัดมีแนวทางใหม่ในการแก้ไขต่อไป

ท่านที่สนใจสามารถเข้าชมการสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีใหม่ได้ที่ฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ในวันเวลาราชการ หรือติดตามการเผยแพร่ความรู้ทางสังคมออนไลน์ Facebook / ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง แม่โจ้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version