สำหรับน้ำแข็งแห้งที่ ปตท. สนับสนุนมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ส่วนที่แยกออกจากก๊าซธรรมชาติก่อนเข้ากระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ โดยน้ำแข็งแห้งเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะของแข็งที่อุณหภูมิประมาณ –79 องศาเซลเซียส เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง หรือSolid Carbon Dioxide นำมาผ่านกระบวนการอัดและทำให้เย็นลงภายใต้ความดันสูงกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เหลว แล้วลดความดันลงอย่างรวดเร็วโดยการพ่นคาร์บอนไดออกไซด์เหลวสู่ความดันบรรยากาศ ผลที่ได้คือ เกล็ดน้ำแข็งคล้ายเกล็ดหิมะ แล้วจึงนำมาอัดเป็นรูปแบบและขนาดต่างๆตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ และเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำฝนเทียม
“ปตท. มุ่งเน้นการช่วยเหลือ ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการดำเนินธุรกิจเสมอมา โดยใน ปี 2557 มีแนวโน้มว่าจะเป็นปีที่ปัญหาภัยแล้งมีความรุนแรง ดังนั้น ปตท. จึงมีแผนให้การสนับสนุนน้ำแข็งแห้งประจำฐานปฏิบัติการฝนหลวงทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา ปตท. ได้สนับสนุนน้ำแข็งแห้งแก่กรมฝนหลวงและการบินเกษตรแล้วกว่า 7,560 ตัน และถังบรรจุน้ำแข็งแห้ง
38 ถัง คิดเป็นมูลค่ากว่า 49 ล้านบาท (ยังไม่รวมยอดสนับสนุนปีนี้) นอกจากนี้ ปตท. สนับสนุนน้ำแข็งแห้งเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานในภัยพิบัติต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ สึนามิที่ภาคใต้ อุทกภัยดินถล่มที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และการดับไฟป่าที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น” นายสมชาย กล่าวเสริมในตอนท้าย