แกรนท์ ธอนตันเผยผลสำรวจจำนวนผู้บริหารหญิง ในประเทศไทยยังคงเติบโต ในขณะที่ทั่วโลกยังคงซบเซา

จันทร์ ๑๐ มีนาคม ๒๐๑๔ ๑๐:๓๓
เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติประจำปีของแกรนท์ ธอนตัน (The Grant Thornton International Business Report:IBR) เผยผลสำรวจทั่วโลกถึงบทบาทผู้หญิงในฐานะผู้บริหาร โดยผลสำรวจเผยว่า แม้จะมีข้อถกเถียงในเรื่องของสัดส่วนผู้หญิงที่เป็นผู้บริหารระดับสูงทั่วโลกต่ำกว่า 1 ใน 4 แต่ยังคงมีการสนับสนุนในเรื่องของจำนวนผู้หญิงในฐานะคณะกรรมการบริหารมีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงมาตรการหลายอย่างในองค์กรที่ช่วยอำนวยความสะดวกในเส้นทางอาชีพของผู้หญิง

ในปี 2557 นี้ สัดส่วนของนักบริหารหญิงทั่วโลกมีเพียงร้อยละ 24ซึ่งเป็นตัวเลขเดียวกันกับในปี 2556, 2552 และ 2549 และมีเพียงแค่ร้อยละ 5 ของประเทศที่เข้าร่วมสำรวจ ที่มีจำนวนนักบริหารหญิงสูงกว่าร้อยละ 19 ซึ่งเป็นผลสำรวจที่ถูกบันทึกไว้เมื่อ 10 ปีก่อนในปี 25471โดยในแต่ละภูมิภาคเองก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทีละน้อยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการเปลี่ยนแปลงที่ดี โดยมีถึง 3 ประเทศที่อยู่ใน 6 อันดับแรกของโลก ซึ่งประเทศอินโดนีเซียมีสัดส่วนของนักบริหารหญิงที่ร้อยละ41 ทะยานสู่อันดับ 2 ส่วนฟิลิปปินส์มีสัดส่วนถึงร้อยละ 40อยู่ในอันดับ 4 ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 6 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 38 ซึ่งเพิ่มจากปีก่อนเพียงเล็กน้อย

นางสุมาลี โชคดีอนันต์หุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชีของแกรนท์ ธอนตัน ประเทศไทยให้ความเห็นว่า“ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจเลยสำหรับประเทศไทยและอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ผู้หญิงจะอยู่ในบทบาทของผู้บริหารระดับสูงชาวเอเชียล้วนให้ความสำคัญกับครอบครัวอย่างมากและผู้หญิงมักจะมีบทบาทสำคัญในบ้านมาเสมอโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไป โลกธุรกิจมีการเติบโตขึ้นบทบาทเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นความคุ้นเคยสำหรับผู้หญิงเรา แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผู้หญิงในบทบาทของผู้บริหารในไทยจึงกลายเป็นข้อพิสูจน์ และสิ่งเหล่านี้ยังคงแผ่ขยายไปทั่วอาเซียนเช่นเดียวกับที่เราเห็นโอกาสที่เพิ่มขึ้นจากกเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ซึ่งส่งผลให้เกิดความต้องการในการจ้างงานมากขึ้นรวมถึงความจำเป็นในการเพิ่มความหลากหลายในที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง”

นางฟรานเชสก้า ลาเกอร์เบิร์กหัวหน้าสายงานบริการด้านภาษีทั่วโลกของแกรนท์ ธอนตัน กล่าวว่า "คงไม่มีใครปฎิเสธว่าการแสดงความเห็นที่หลากหลายมากขึ้นจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่าในโลกธุรกิจการตัดสินใจที่ดีย่อมหมายถึงการเจริญเติบโตที่แข็งแกร่งดังนั้นองค์กรควรใส่ใจในการปูทางเพื่อส่งเสริมผู้หญิง ตั้งแต่ช่วงกำลังศึกษาไปจนถึงการก้าวสู่ตำแหน่งผู้บริหาร"

ผลการสำรวจฯ ยังแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนส่งเสริมให้มีสัดส่วนผู้หญิงในคณะกรรมการบริหารทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้น โดยร้อยละ 45 หรือเกือบ1 ใน 2 ของผู้บริหาร อยากเห็นจำนวนสัดส่วนคณะกรรมการบริหารที่เป็นผู้หญิงในบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ ซึ่งมากกว่าผลสำรวจในปี 2556ซึ่งมีแค่ร้อยละ 37 หรือแค่เพียง1 ใน 3 เท่านั้นโดยจุดที่น่าสนใจ คือสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสหภาพยุโรปจากร้อยละ33เป็นร้อยละ41 ในปีนี้ เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (BRIC)ที่เพิ่มจากร้อยละ41 เป็นร้อยละ72 ในขณะที่การสนับสนุนยังคงสูงสำหรับประเทศในแถบลาตินอเมริกา(ร้อยละ68) และเอเชียแปซิฟิก (ร้อยละ 57) ส่วนกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมG7มีผู้ให้การสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวอยู่ร้อยละ 33

"หลายประเทศทั่วโลก ต่างตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความสมดุลย์ของสัดส่วนผู้บริหาร ระหว่างผู้ชายและผู้หญิง แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่น ที่แม้จะมีสัดส่วนของผู้บริหารหญิงเพียงแค่ร้อยละ 9รั้งอันดับสุดท้ายของผลสำรวจแต่กว่า 1 ใน 5ของผู้ถูกสำรวจต่างสนับสนุนการเพิ่มอัตราส่วนผู้หญิงในคณะกรรมการบริหารหรือมีแผนที่จะส่งเสริมให้กลายเป็นผู้บริหารระดับสูง ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีทั่วโลกสำหรับทีมบริหารที่มีความหลากหลาย" นางจุฬาภรณ์ นำชัยศิริ กรรมการผู้จัดการ – วาณิชธนกิจ ของแกรนท์ ธอนตัน ประเทศไทยกล่าว

นางฟรานเชสก้า ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “เรื่องสัดส่วนดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยังต้องถกเถียงกัน แต่อาจเป็นเรื่องดีที่เราได้มาถึงจุดเปลี่ยนแปลงนี้และองค์กรธุรกิจจำเป็นต้องมีการผลักดัน หากเราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง”

"แต่องค์กรเองก็ยังสามารถออกมาตรการที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จากผลสำรวจของเราแสดงให้เห็นว่าโดยเฉลี่ยเพียงแค่ 1 ใน 5 ของนักศึกษาจบใหม่ที่เข้าทำงานทั่วโลกเป็นผู้หญิง หากคุณหวังที่จะเห็นสัดส่วนจำนวนที่เหมาะสมของผู้บริหารหญิงในอนาคตจากเด็กเหล่านี้ คุณก็ควรเพิ่มโอกาสในการรับเข้ามาให้มากขึ้น ซึ่งก็มองว่าเป็นข้อดีสำหรับธุรกิจ เพราะการมีตัวเลือกผู้สมัครจำนวนมาก ย่อมหมายถึงโอกาสที่มากขึ้นในการจ้างผู้ที่มีความสามารถ ตลอดจนสิ่งอื่นที่อาจทำได้เพื่อเอื้อประโยชน์แก่พนักงานที่อาจมีครอบครัวและกลายเป็นคุณแม่ในอนาคต เช่น การยืดหยุ่นเวลาเข้าออกงานแม้จะเป็นสิ่งที่ดีแต่ก็อาจยังไม่เพียงพอ เราอาจต้องพิจารณาการให้ความสนับสนุนที่ชัดเจนสำหรับการช่วยดูแลเด็กด้วยหากยังอยากจะรักษาผู้หญิงที่มีความสามารถเอาไว้”

ทั้งนี้รายงานผลการสำรวจ ‘Women in business: from classroom to boardroom’ ฉบับเต็ม ท่านสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่www.internationalbusinessreport.com

[1]รายงานผลสำรวจ IBR ยังไม่ได้ครอบคลุมประเทศเศรษฐกิจอย่างบราซิล สาธาณรัฐประชาชนจีน และอินโดนีเซีย ในปี 2547

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ