คณะกรรมการองค์การอิสระฯ ภาคประชาชน เสนอนโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ต่อกสทช. พร้อมเร่งเผยแพร่ความรู้ผู้บริโภคก่อนเปลี่ยนสู่ยุคทีวีดิจิตอล

พุธ ๑๒ มีนาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๔๕
ตัวแทนคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน เครือข่ายผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ยื่นข้อเสนอต่อ กสทช. ให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกรณีโฆษณาผิดกฎหมายในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์

กสทช. ยึดหลักการการกระจายการถือครองและใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ให้ครอบคลุมองค์กรสาธารณประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในทีวีดิจิตอลประเภทบริการสาธารณะ นอกเหนือจากหน่วยงานรัฐกำหนดสัดส่วนคลื่นความถี่ไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบในทุกพื้นที่เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการบริการชุมชนรวมทั้งเร่งเผยแพร่ความรู้ที่ชัดเจนกับผู้บริโภค ก่อนการเปลี่ยนผ่านจากโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปสู่ระบบทีวีดิจิตอล

วันที่ 11 มี.ค. 57 นางสาวชลดา บุญเกษม กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน เสนอให้กสทช. “มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เคร่งครัดกับผู้ประกอบการที่กระทำการผิดกฎหมาย เช่น ไม่ขออนุญาตในการโฆษณา มีการโฆษณาเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ เกินจริง หรือปกปิดข้อมูลจนเป็นเหตุให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสินค้าและบริการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการปรับเชิงลงโทษ การเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกาศวิทยุและโทรทัศน์ การระงับการออกอากาศ การปิดรายการ และการเพิกถอนใบอนุญาต”

นอกจากนี้ “กสทช. ต้องยึดหลักการการกระจายการถือครองและใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ให้ครอบคลุมองค์กรสาธารณประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในทีวีดิจิตอลประเภทบริการสาธารณะ นอกเหนือจากหน่วยงานรัฐ เพื่อมิให้กลายเป็นเครื่องมือที่หน่วยงานรัฐซึ่งนำเงินภาษีมาใช้จ่ายเป็นเพียงช่องทางประชาสัมพันธ์ข่าวสารของตนเท่านั้นรวมทั้งกำหนดสัดส่วนคลื่นความถี่ไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบในทุกพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการบริการในระดับชุมชน”

ส่วนนางมณี จิรโชติมงคลกุล เครือข่ายผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กสทช. ควรมีแผนการให้ข้อมูลผู้บริโภคอย่างเป็นระบบ ที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจควรมีการจัดการอย่างไร หากต้องการรับชมเนื้อหารายการต่างๆ ผ่านเครื่องรับโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล , กล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล และกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกทั้งในระบบเคเบิล และดาวเทียม และในแต่ช่องทางมีความแตกต่างกันอย่างไร จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ใด ควรให้ข้อมูลกับผู้บริโภคอย่างถูกต้อง ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด”

กสทช.ควรจัดทำแผนให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงการแจกจ่ายคูปองได้อย่างสะดวกและมีความโปร่งใสในการตรวจสอบ และควรมีการจัดโครงการเฉพาะในการดูแลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมเพื่อให้สามารถเข้าถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล...ร่วมกับนโยบายในการแจกกล่องกับผู้บริโภคจำนวน ๒๒ ล้านครัวเรือน เพื่อให้ครอบคลุมประชากรที่ไม่ได้อยู่ในทะเบียนราษฎร์ กลุ่มแรงงานในเมือง กลุ่มประชากรเฉพาะที่อยู่ห่างไกล หรือ กลุ่มคนพิการ ฯลฯ เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร มีประชากรแฝงมากกว่า ๓.๑ ล้านคน ขณะที่มีประชากรที่ขึ้นทะเบียน ๕.๗ ล้านคนเท่านั้น ตลอดจนมีการจัดประเมินผลการแจกคูปองเพื่อให้เกิดหลักประกันในการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม”

“ควรมีการเผยแพร่พื้นที่ที่ประชาชนสามารถรับชมในแต่ละช่วงเวลาทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ ส่วนการแจกคูปองนั้น กสทช.ควรคำนึงถึงมูลค่าคูปองที่เหมาะสมเพื่อไม่เป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้บริโภค และไม่เป็นการเพิ่มมูลค่าคูปองอันนำไปสู่การฉวยโอกาสในการขึ้นราคาของอุปกรณ์โดยไม่สมเหตุสมผล ดังนั้น กสทช. ควรจะต้องทำการศึกษาให้ชัดเจนว่า ราคาและคุณภาพที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานของ กสทช. มีมูลค่าเท่าใด

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงสิทธิผู้บริโภคว่า “จากการสำรวจรูปแบบการขายโทรทัศน์เพื่อรับชมรายการในระบบทีวีดิจิตอล ตามแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีกทั่วไป พบว่า เริ่มมีโปรโมชั่นในการจำหน่ายทีวีที่รองรับสัญญาณดิจิตอลโดยไม่ต้องใช้กล่องรับสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการส่งสัญญาณในระบบนี้ ผู้บริโภคสามารถนำทีวีตรวจสอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อดูว่าเป็นระบบดิจิตอลหรือไม่ หรือผู้บริโภคสามารถตรวจสอบความเป็นทีวีดิจิตอลได้จากป้ายที่ติดอยู่บนทีวี หรือดูที่ส่วนรับสัญญาณต้องมีระบบ DVBT II ซึ่งเป็นตัวรับสัญญาณที่รองรับระบบทีวีดิจิตอล ดังนั้นกสทช. ต้องเร่งรัดให้ผู้ประกอบการมีการใช้สัญญลักษณ์ที่ชัดเจนเพื่อป้องกันความสับสนและการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค

ปัจจุบันราคากล่องในการใช้ดูทีวีระบบดิจิตอลกับทีวีรุ่นเดิมราคาประมาณ ๑,๒๐๐ บาท แต่ พบว่ามีโปรโมชั่นโทรทัศน์รุ่นที่ไม่รองรับระบบดิจิตอลพ่วงกล่องรับสัญญาณ (set top box) ในราคาเพียง ๗๔๕ บาทเท่านั้น “ฉะนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากการติดป้ายแสดงว่ารองรับทีวีดิจิตอลแล้ว กสทช. ควรมีการศึกษาและเปิดเผยราคาต้นทุนของกล่องรับสัญญาณที่ได้รับการรับรองในเรื่องคุณภาพมาตรฐาน (ขั้นต่ำ) รวมทั้งมีการจัดทำมาตรฐานเพื่อให้ผู้บริโภค ลดจำนวนกล่องที่มีในบ้านของตนเองรวมทั้งให้มีการกำหนดระยะเวลาในการรับประกันสินค้าด้วย

ทั้งนี้ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เป็นผู้มารับหนังสือ พร้อมกล่าวว่า จะนำข้อเสนอแนะที่ได้ เสนอเข้าพิจารณาที่ประชุมอนุกรรมการคุัมครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อเสนอกสท.ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version