กนอ. มุ่งพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรม สู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศให้เป็นรูปธรรม

จันทร์ ๑๗ มีนาคม ๒๐๑๔ ๑๑:๑๙
กนอ. กำหนดกรอบยุทธศาสตร์เป็นองค์กรนำสร้างเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีดุลยภาพ และยั่งยืน โดยมุ่งหวังในอนาคตเกิดการพัฒนารูปแบบการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เพื่อความเป็นเลิศในการพัฒนาและบริการนิคมอุตสาหกรรมให้เป็นองค์กรชั้นนำในระดับภูมิภาคอาเซียน

นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ. ได้กำหนดวิสัยทัศน์องค์กร “เป็นองค์กรนำสร้างเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีดุลยภาพและยั่งยืน” เพื่อให้เป็นกรอบการดำเนินงานในช่วงปี 2557 – 2559 ให้เกิดการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในรูปแบบนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สร้างความเป็นเลิศในการพัฒนาและบริการนิคมอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาคอาเซียน และมีเป้าหมายในการเป็นองค์กรชั้นนำ 3 ลำดับแรกของภูมิภาคอาเซียนในการพัฒนาและบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมภายในปี 2559

ล่าสุด กนอ. ได้ดำเนินการตามแผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมี ซึ่งระหว่างปี 2553 – 2556 มีนิคมฯ 12 แห่ง ได้แก่ 1) นิคมฯ ภาคเหนือ 2) นิคมฯ บางปู 3) นิคมฯ แหลมฉบัง 4) นิคมฯ สมุทรสาคร 5) นิคมฯ บางชัน 6) นิคมฯ อีสเทิร์นซีบอร์ด 7) นิคมฯ อมตะนคร 8) นิคมฯ หนองแค 9) นิคมฯ อมตะซิตี้ 10) นิคมฯ ลาดกระบัง 11) นิคมฯ บางพลี 12) นิคมฯ บางปะอิน ดำเนินการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่สอดคล้องตามข้อกำหนดคุณลักษณะและเกณฑ์ตัวชี้วัด 5 มิติ 22 ด้าน (มิติด้านกายภาพ, มิติด้านเศรษฐกิจ, มิติด้านสิ่งแวดล้อม, มิติทางด้านสังคม, มิติด้านการบริหารจัดการ)

ทั้งนี้ในปี 2556 ที่ผ่านมา มีนิคมอุตสาหกรรม 6 แห่ง ได้แก่ 1) นิคมฯ หนองแค 2) นิคมฯ บางชัน 3) นิคมฯ ภาคเหนือ 4) นิคมฯ อมตะซิตี้ 5) นิคมฯ แหลมฉบัง 6) นิคมฯ สมุทรสาคร ผ่านการประเมินผล การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับ Eco Champion และจะต้องรักษาการเป็น Eco อย่างต่อเนื่อง ด้วยการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วม พร้อมทั้งพัฒนายกระดับเข้าสู่การเป็น Eco ในขั้นต่อๆ ไป และในปี 2557 จะพัฒนายกระดับนิคมฯ เพื่อเข้าสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่ นิคมฯ ภาคใต้ (ฉลุง) จังหวัดสงขลา นิคมฯ สินสาคร จังหวัดสมุทรสาคร นิคมฯ เกตเวย์ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา และกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง

นอกจากนี้ตามกรอบยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) ในยุทธศาสตร์ประเทศที่ 3 การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Growth) ที่กำหนดให้กระทรวงอุตสาหกรรมพัฒนาตัวอย่างเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 10 แห่ง ภายในปี 2561 ซึ่ง กนอ. ร่วมกับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ในการดำเนินการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรม 10 แห่ง ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ นิคมฯ ภาคเหนือ จังหวัดลำพูน นิคมฯ บางปู จังหวัดสมุทรปราการ นิคมฯ บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นิคมฯ เกตเวย์ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา นิคมฯ อมตะซิตี้ จังหวัดระยอง นิคมฯ อิสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง นิคมฯ ภาคใต้ฯ (ฉลุง) จังหวัดสงขลา และกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด นอกจากนี้ กนอ. ได้ศึกษารูปแบบศูนย์เผยแพร่ พัฒนา และบริหารจัดการเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Center) สำหรับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และการศึกษาแผนผังขั้นตอนการบริหารจัดการกากของเสีย (Material and Waste Flow Analysis) และรูปแบบการบริหารจัดการของเสียในพื้นที่กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมบางปู และภาคเหนือ รวมทั้งกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และท่าเรืออุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด

ทั้งนี้ ในปี 2562 กนอ. มีเป้าหมายให้นิคมอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการทุกแห่งจะต้องเข้าสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และจะพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในลักษณะ Cluster Base เช่น นิคมฯ อากาศยานและศูนย์ซ่อมอากาศยาน นิคมฯ Plastics Park นิคมฯ บริหารจัดการของเสียครบวงจร นิคมฯ SMEs นิคมฯ สื่อบันเทิงครบวงจร นิคมฯ ท่องเที่ยวและบริการ ให้มีการพัฒนาพื้นที่โดยนำแนวคิดอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการออกแบบต้องลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ลดการใช้ทรัพยากรและสามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ทั้งในปัจจุบันและอนาคตและสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน นายวีรพงศ์ กล่าวสรุป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ