“รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

ศุกร์ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๕ ๑๖:๑๓
กรุงเทพฯ--25 ก.พ.--อาซิแอม เบอร์สัน—มาร์สเตลเลอร์
สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส
“รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”
จีนและผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การเติบโตที่แท้จริงของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนอ่อนตัวลงในเดือนมกราคม เนื่องจากการชะลอตัวลงของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลกเผยว่า จากรายงานผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนที่ระบุว่า จีนมีอัตราการเติบโตทะยานพุ่งสูงขึ้นอย่างโดดเด่นจากร้อยละ 14.4 ในเดือนธันวาคม 2547 เป็น ร้อยละ 20.9 ในเดือนมกราคม 2548 นั้นเป็นข้อมูลที่ยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากจีนได้หยุดทำงานเนื่องในเทศกาลตรุษจีนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 แต่ในปี 2547 เทศกาลตรุษจีนมีขึ้นในเดือนมกราคม ซึ่ง ทำให้จีนมีวันทำงานในเดือนมกราคม 2548 มากกว่าเดือนมกราคม 2547 และส่งผลให้ข้อมูลอัตราการเติบโตรายปีของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมรวมถึงการส่งออกและการนำเข้าของจีนในเดือนมกราคมที่ผ่านมามี ความคลาดเคลื่อน
ความคลาดเคลื่อนดังกล่าวจะพบในข้อมูลของเดือนกุมภาพันธ์ 2548 เช่นกันแต่ในลักษณะที่ตรงกันข้าม โดยสำนักงานสถิติของจีนประเมินว่า อัตราการเติบโตของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนมกราคมจะมีความคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากวันหยุดทำงานในเทศกาลตรุษจีนซึ่ง เกิดขึ้นในเดือนที่แตกต่างกันในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ยในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ทำให้ เลแมน บราเดอร์ส ประเมินว่า จะมีความคลาดเคลื่อนโดยเฉลี่ยร้อยละ 0.08 ซึ่งจากตัวเลขประมาณการความคลาดเคลื่อนดังกล่าวส่งผลให้อัตราการเติบโตที่แท้จริงของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนลดลงเหลือเพียงร้อยละ 8.9 — 12.9 ในเดือนมกราคม 2548 เทียบกับร้อยละ 14.4 ในเดือนธันวาคม 2547 ทั้งนี้ การเติบโตที่ลดลงของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวสอดรับกับข้อมูลประจำเดือนมกราคมของสถาบันวิจัยส่วนใหญ่ที่ได้เผยแพร่จนถึง ณ ขณะนี้ สำหรับการส่งออกของจีนมีการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.2 ในเดือนมกราคม 2548 จากร้อยละ 32.7 ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ขณะที่การนำเข้ามีการเติบโตลดลงจากร้อยละ 24.6 เป็นร้อยละ 24 แม้ว่าสำนักงานสถิติของจีนจะไม่ได้ประเมินค่าความคลาดเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นทางด้านการค้าของจีน แต่ เลแมน บราเดอร์ส ประมาณการว่า อัตราการเติบโตที่แท้จริงของการส่งออกและการนำเข้าในเดือนมกราคม 2548 เท่ากับร้อยละ 32.2 และร้อยละ 9 ตามลำดับ โดยในเดือนมกราคมที่ผ่านมา การส่งออกมีอัตราการเติบโตคงที่ขณะที่การนำเข้ามีการเติบโตที่ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ การเติบโตของปริมาณเงิน (M2) มีการชะลอตัวลงจากร้อยละ 14.6 ในเดือนธันวาคม 2547 เป็นร้อยละ 14.1 ในเดือนมกราคม 2548 และการเติบโตของการให้กู้จากภาคธนาคารลดลงจากร้อยละ 14.5 ในเดือนธันวาคม 2547 เป็นร้อยละ 14.2 ในเดือนมกราคม 2548 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของจีนไม่ได้มี การชะลอตัวลงและมีการขยายตัวถึงร้อยละ 9.5
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากข้อมูลของเดือนมกราคมหลังจากการปรับลดอัตราการเติบโต
เพื่อให้ครอบคลุมถึงผลกระทบจากการหยุดทำงานในช่วงเทศกาลตรุษจีน ทำให้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจจีนอาจเริ่ม เข้าสู่ระยะการชะลอตัว แม้ว่าข้อมูลเพียง 1 เดือนจะไม่ใช่สิ่งที่กำหนดทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนได้อย่างชัดเจน แต่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจมีความสอดคล้องกับการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดมากขึ้นของรัฐบาลจีน เช่น การประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.1 ซึ่งสูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 ทำให้ส่วนต่างกำไรของผู้ผลิตลดลง ขณะที่มีสินค้าคงคลังจำนวนมาก
จากการที่จีนมีการส่งออกที่ขยายตัวในเดือนมกราคม 2548 ทำให้คาดการณ์ได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นอุปสงค์หรือการใช้จ่ายภายในประเทศที่ปรับตัวลงหรือสินค้าคงคลังที่ลดลงอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการชะลอตัวของผลผลิต ภาคอุตสาหกรรมที่แท้จริง นอกจากนี้ การนำเข้าที่อ่อนตัวลงอย่างมากในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ตลอดจน แนวโน้มที่จะมีการใช้เงินทุนจำนวนมาก (Capital intensive) ทำให้ เลแมน บราเดอร์ส คาดการณ์ว่า อาจมีการชะลอตัวลงทางด้านการลงทุนและการสะสมสินค้าคงคลัง ซึ่งถือเป็นข่าวดีเพราะในปีที่ผ่านมา จีนมีการลงทุนทางด้านสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 ซึ่งแม้จะชะลอตัวลง แต่ก็ยังนับเป็นการเติบโตที่รวดเร็วกว่าการเติบโตของจีดีพี ซึ่งหมายความว่า สัดส่วนการลงทุนต่อจีดีพียังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันสูงถึงเกือบร้อยละ 50 และเพื่อรักษาอัตราการเติบโตระดับสูงต่อไป จีนจำเป็นต้องเพิ่มการบริโภคและลดการลงทุน ทั้งนี้ เลแมน บราเดอร์ส มีความเห็นเชิงบวกว่า จีนกำลังจะมีการปรับความสมดุลของจีดีพีอีกครั้ง ซึ่ง เลแมน บราเดอร์ส จะนำข้อมูลยอดค้าปลีกและการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมาวิเคราะห์ต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
อาซิแอม เบอร์สัน—มาร์สเตลเลอร์
วราพร สมบูรณ์วรรณะ / สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์
โทร 0 2252 9871--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ