โตชิบา ฮิตาชิ และ อิโตชู ชนะการประมูล ระบบการขนส่งและการจราจรอัจฉริยะ สำหรับระบบทางด่วนของประเทศเวียดนาม

อังคาร ๑๘ มีนาคม ๒๐๑๔ ๑๗:๕๐
บริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชั่น (โตเกียว: 6502) บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (โตเกียว: 6501) และ บริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น (โตเกียว:8001) ประกาศวันนี้ว่า ทั้งสามบริษัทได้ร่วมลงนามกับบริษัทการทางพิเศษเวียดนาม (Vietnam Expressway Corporation : VEC) เพื่อจัดส่งโปรแกรมระบบการขนส่งและการจราจรอัจฉริยะ (Intelligent Transport Systems :ITS) ซึ่งประกอบด้วยระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ?(Electronic Toll Collection :ETC) ระบบการควบคุมจราจรและระบบติดตามข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ติดตั้ง รวมมูลค่า 4,000 ล้านเยน (1,300 ล้านบาท) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่บริษัทญี่ปุ่นได้รับคำสั่งซื้อโปรแกรมระบบการขนส่งและการจราจรอัจฉริยะ (ITS) แบบครบชุด จากต่างประเทศ โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนทางด้านเงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่น และการใช้งานในเชิงพาณิชย์จะเริ่มในครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2560

โปรแกรมระบบการขนส่งและการจราจรอัจฉริยะ (ITS) จะนำไปใช้งาน บนทางด่วนเหนือ-ใต้ ของประเทศ เวียดนาม ในช่วงเมืองโฮจิมินห์ซิติ้ และเมืองโด่ว-ซยาย (Dau Giay) เป็นระยะทาง 55 กิโลเมตร โดย โตชิบาจะเป็นผู้จัดการระบบการขนส่งและการจราจรอัจฉริยะ (ITS) ในขณะที่ ทางฮิตาชิ จะรับผิดชอบส่วนงานก่อสร้าง และ อิโตชู จะดูแลเรื่องธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

ปัญหาการจราจรติดขัดที่เพิ่มมากขึ้น เป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องทางด้านตอนใต้ของประเทศเวียดนาม รวมถึงเมืองโฮจิมินห์ซิตี้ ซึ่งคาดว่าปริมาณการใช้ถนนและความแออัดของการจราจรในบริเวณนี้จะเพิ่มมากขึ้นอีก ดังนั้น การติดตั้งโปรแกรม ITS ที่ช่วงทางด่วนเหนือ-ใต้ ระหว่างเมืองโฮจิมินห์ซิตี้และเมืองโด่ว-ซยาย (Dau Giay) ซึ่งเป็นช่วงที่มีจราจรติดขัดหนักที่สุดนั้น จะช่วยลดปัญหาการจราจรและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบขนส่งได้ บริษัทการทางพิเศษเวียดนาม (VEC) ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการนี้ ได้ทำการประเมินขีดความสามารถทางด้านเทคนิคและประวัติการติดตั้งระบบการขนส่งและการจราจรอัจฉริยะ (ITS) ของบริษัทต่างๆ ที่เข้าร่วมการประมูลแล้ว ได้ลงมติให้บริษัทจากประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ชนะการประมูลเนื่องจากข้อเสนอทางด้านเทคนิคและการเสนอราคามีความเหมาะสม

เส้นทางด่วนเหนือ-ใต้ระหว่างการก่อสร้างในขณะนี้ จะเชื่อมโยงเมืองฮานอย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม กับเมืองโฮจิมินห์ซิตี้ โดยผ่านเมืองดานัง ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของประเทศ เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ เส้นทางด่วนสายนี้จะมีความยาวประมาณ 1,811 กิโลเมตร เพื่อรองรับกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของประเทศเวียดนาม ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2551 รัฐบาลเวียดนามได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Master Plan) สำหรับการก่อสร้างทางด่วน 22 สาย ซึ่งมีความยาวรวมกันประมาณ 6,000 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางด่วนเหนือ-ใต้ เป็นหนึ่งในแผนยุทธ์ศาสตร์นี้ด้วย

โตชิบา ฮิตาชิ และอิโตชู จะนำเสนอระบบการขนส่งและการจราจรอัจฉริยะ (ITS) ซึ่งประกอบด้วยระบบการควบคุมจราจรและระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (ETC) ให้กับโครงการอื่นๆ ต่อไป และพร้อมที่จะสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ