ศาสตราจารย์เติมศักดิ์ กฤษณามระ ผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin) กล่าวว่า "ทุกคนที่ศศินทร์มีความภาคภูมิใจนิสิตของเราสำหรับความสำเร็จในครั้งนี้ เนื่องจากทีมดังกล่าว ได้ทำงานอย่างหนักมากและเหมาะสมกับการได้รับรางวัลชนะเลิศ อย่างไรก็ตาม ความมุ่งมั่นและสำเร็จในครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของทุกคน เนื่องจากสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการที่แข็งแกร่ง และเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมของนิสิตศศินทร์"
อาจารย์นิกม์ พิศลยบุตร ที่ปรึกษาของทีม เรดิเจน เปิดเผยว่า “ทีมมี เป้าหมายที่จะดำเนินธุรกิจดังกล่าวให้เกิดขึ้นจริง และสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีของพวกเขาที่มีการพัฒนาภายใต้รั้วของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การแข่งขันต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเรียนรู้และหาผู้ร่วมลงทุน สหรัฐอเมริกามีสังคมการลงทุนเริ่มต้นที่พัฒนาที่สุด ดังนั้น การแข่งขันของพวกเขาจึงมีความท้าทายมาก และเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด โดยจะมีการแข่งขันแผนธุรกิจดังกล่าวขึ้นที่มหาวิทยาลัยโอเรกอน Lundquist ในระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน 2557 ก่อนการแข่งขันใน GVLIC ในเดือนพฤษภาคม 2557
สำหรับแผนธุรกิจของทีม เรดิเจน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนา Multifunctional-composite (MF-cpo) เพื่อใช้งานแบบอเนกประสงค์ นับเป็นนวัตกรรมสีเขียวซึ่งทำจากวัสดุที่ใช้แล้วเป็นส่วนประกอบ 100% ที่สามารถเลียนแบบและปรับปรุงวัสดุเดิมในตลาดให้ดีขึ้น (อาทิ อิฐ แผ่นฝ้าบุผนัง ไม้ พลาสติก)
สมาชิกของทีม “ทีม เรดิเจน” เป็นนิสิต MBA ที่มีพื้นฐานด้านธุรกิจและความชำนาญด้านเทคนิค รวมทั้งผู้ที่ประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมวัสดุนี้ ประกอบด้วย นายเมธิศร์ โยชิทากะ อิชิฮาร่า (MBA2012), นางสาววารีภรณ์ นิวาสสวัสดิกุล(MBA2012) นายอภิวงษ์ วนะไชยเกียรติ (MBA2012), นายภูมิภาส ลัญจกรกุล (MBA2013),นางสาวแพรพรรณ รัตนอมรพิน (MBA2013) และ นางสาวจิรัชญา ดวงบุรงค์ (นิสิตปริญญาเอก สาขาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)