ทั้งนี้ ทางสถาบันวิจัยฯ ปตท. ได้ดำเนินการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการแยกส่วนประกอบของสาร (Chromatography) เปรียบเทียบตัวอย่างก้อนน้ำมันจากพื้นที่กับน้ำมันประเภทต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงองค์ประกอบไฮโดรคาร์บอน ปรากฏว่า ตัวอย่างน้ำมันที่เก็บมาจากทั้ง 2 หาดมีลักษณะเหมือนกัน และมีองค์ประกอบของไฮโดรคาร์บอนตั้งแต่ C15-C36 ซึ่งคล้ายคลึงกับน้ำมันเตามากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงองค์ประกอบไฮโดรคาร์บอนสูงๆ แต่ไม่สามารถระบุองค์ประกอบไฮโดรคาร์บอนต่ำๆ ได้ เนื่องจากคาดว่ามีการระเหยไปตั้งแต่ก่อนการเก็บตัวอย่างโดยมีปัจจัยจากสภาพอุณหภูมิ ณ ชายหาด
“ปตท. มุ่งมั่นในการดำเนินภารกิจสร้างความมั่นคงทางพลังงานควบคู่กับมาตรฐานการปฏิบัติงานในระดับสากลโดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม แม้สถานที่เกิดเหตุจะห่างจากสถานประกอบการของ ปตท. แต่ ปตท. ยินดีที่จะช่วยตรวจสอบเพื่อร่วมดูแลชุมชนและสังคมเสมอ ดังที่ผ่านมา กลุ่ม ปตท. ได้ร่วมช่วยเหลือการดับเพลิงที่บ่อขยะแพรกษา เพื่อระงับเหตุฉุกเฉินที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งถือเป็นหน้าที่หนึ่งขององค์กรของคนไทย” นายสมชาย กล่าวเสริมในตอนท้าย