แผนรับมือเพื่อวัดเรตติ้ง “ดิจิตอลทีวี”

พฤหัส ๐๓ เมษายน ๒๐๑๔ ๑๕:๐๔
บทความโดยสินธุ์ เภตรารัตน์ Managing Director for Media Client Leadership, Nielsen

ท่ามกลางกระแสของดิจิตอลทีวีที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างเริ่มเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกันแล้วไม่ว่าจะเป็นเจ้าของสถานี ผู้ผลิตรายการ มีเดียเอเยนซี่ ในฟากของผู้เก็บข้อมูลของผู้ชมรายการอย่าง นีลเส็น ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมในการวัดความนิยมในรายการหรือเรตติ้งเช่นเดียวกัน

โดยการเตรียมความพร้อมของการตรวจวัดและรายงานผลของการออกอากาศช่องดิจิตอลต่างๆ ที่มีการออกอากาศผ่านระบบ “MUST CARRY”นั้นจะถูกตรวจจับสัญญาณโดยเครื่องวัดระบบ พีเพิลมิเตอร์ และสามารถที่จะทำการรายงานผลได้พร้อมกับการออกอากาศของทีวีในระบบต่างๆ เช่น ทีวีอนาล็อก ทีวีดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี ทรูวิชั่นส์ และอื่นๆ ในฐานข้อมูลเดียวกัน

และจากปี2015 เป็นต้นไป เครื่องมือตรวจวัดจะถูกพัฒนาแบบเป็นขั้นตอน ให้เป็นการตรวจวัดสัญญาณเสียงระบบดิจิตอล ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจวัดทีวีระบบดิจิตอลให้ได้ประสิทธิภาพ ส่วนเครื่องวัดเรตติ้งพีเพิลมิเตอร์แบบปัจจุบันก็จะถูกพัฒนาและทดแทนด้วยเครื่องวัดระบบใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว

ในส่วนการสำรวจการเข้าถึงของการรับสัญญาณทีวีดิจิตอลนั้น โดยปกติบริษัทฯ จะทำการสำรวจความสามารถในการรับสัญญาณทีวีในระบบต่างๆ ซึ่งการสำรวจนี้ถูกจัดทำทุกปีอยู่แล้ว โดยใช้กลุ่มตัวอย่างประมาณ 6,000 ครัวเรือน สำหรับในกรณีการสำรวจการเข้าถึงของการรับสัญญาณทีวีดิจิตอลนั้น นีลเส็น ได้มีโครงการเสริมเข้าไปในการสำรวจประจำปี ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมทางด้านสื่อได้ทราบถึงการเข้าถึงของการรับสัญญาณทีวีดิจิตอลเป็นระยะ

นอกจากนี้ยังจะทำการเพิ่มกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนช่องทีวีที่เพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ขั้น โดยขั้นแรกจะมีการเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็น 2,000 ครัวเรือน หรือประมาณ 7,000 คนภายในปี 2014 ส่วนขั้นที่สองจะเพิ่มกลุ่มตัวอย่างจาก 2,000 ครัวเรือน เป็น 2,200 ครัวเรือนหรือประมาณ 7,700 คนภายในปี 2015

ส่วนการเก็บข้อมูลในเรื่องชื่อรายการ และสปอตโฆษณานั้น จะมีการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้นโดยจะแบ่งการเก็บออกเป็น 2 ฐานข้อมูล ในฐานแรกจะเก็บข้อมูลว่ามีใครบ้างที่ชมทีวีอยู่ซึ่งประกอบไปด้วยรายละเอียดของเพศ อายุ การศึกษา รายได้ ฯลฯ และชมช่องอะไรอยู่ในเวลาไหนวันไหน นานเท่าไหร่ และพฤติกรรมของการเปลี่ยนช่องเป็นอย่างไร ส่วนในฐานที่สอง จะเก็บรายละเอียดชื่อของรายการที่ออกอากาศและสปอตโฆษณาที่ออกในรายการนั้นๆ ว่าเป็นสินค้าอะไร ความยาวของสปอตเป็นกี่วินาทีสินค้าที่ออกอากาศเป็นของบริษัทใด เป็นต้น

สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการสำหรับการวิเคราะห์ และประมวลผลที่ได้มาจากการเก็บข้อมูลก็คือ เรื่องของ ซอฟท์แวร์ ซึ่งได้มีการอัพเดทซอฟท์แวร์ปัจจุบันให้สามารถที่จะรองรับการเพิ่มของช่องดิจิตอลได้อย่างไม่มีปัญหา ในขณะที่การพัฒนาก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และยังมีการนำซอฟท์แวร์ใหม่เข้ามาใช้ โดยขณะนี้ได้มีการทดสอบแล้วและจะดำเนินการทดสอบอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะนำมาให้กับสมาชิกของ นีลเส็น ได้ใช้ในอนาคต และเมื่อถึงวันที่ ดิจิตอลทีวี ออกอากาศอย่างเต็มรูปแบบ นีลเส็น ก็พร้อมที่จะให้บริการได้ทันทีเช่นกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ