‘มรภ.สงขลา-ญี่ปุ่น’ เจรจาความร่วมมือดาราศาสตร์

อังคาร ๐๘ เมษายน ๒๐๑๔ ๑๑:๐๔
มรภ.สงขลา เจรจาความร่วมมือด้านวิชาการดาราศาสตร์ กับประเทศญี่ปุ่น หารือความเป็นไปได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิจัย เล็งร่วมมือทำวิจัยกับเอกชน

ดร.ไพบูลย์ นวลนิล รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ รศ.ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ อธิการบดี มรภ.สงขลา พร้อมคณะ ได้เดินทางไปเจรจาความร่วมมือด้านวิชาการดาราศาสตร์กับหน่วยงานของประเทศญี่ปุ่น กับ National Astronomical Observatory of Japan (NAOJ) และ Gunma Astronomical Observatory (GAO) เพื่อยืนยันนโยบายของทีมบริหารชุดใหม่ ในการสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการด้านดาราศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กับอธิการบดี มรภ.สงขลา และคณะ โดย NAOJ และ GAO ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรและงานวิจัยทางดาราศาสตร์แก่ มรภ.สงขลา

ดร.ไพบูลย์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ได้มีนโยบายในการพัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ หมายรวมถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 40 แห่ง ซึ่ง มรภ.สงขลา มีนโยบายที่จะพัฒนาห้องปฏิบัติการวิจัย เพื่อให้คณาจารย์และนักวิจัยได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือวิจัยที่ มรภ.สงขลา จัดหา ภายใต้โครงการศูนย์ปฏิบัติการวิจัย (Research Facilities Center) โดยใช้งบประมาณในโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ ซึ่งเป็นงบประมาณพิเศษต่อเนื่อง 5 ปี (2558-2562) ดังนั้น การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห้องปฏิบัติวิจัยที่ใช้เครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น จึงน่าจะเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์และมีความสำคัญ จึงได้เดินทางไปศึกษาดูงานศูนย์เครื่องมือวิเคราะห์ (Analytical Center) ที่ The University of Tokyo และ Instrumental Analysis Center ที่ Yokohama National University

รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มรภ.สงขลา กล่าวว่า การเดินทางไปศึกษาดูงานดังกล่าว เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการเครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และศึกษาการจัดระบบการให้บริการแก่ผู้ใช้ ซึ่งเป็นอาจารย์ นักศึกษา และบุคคลภายนอก ตลอดจนศึกษาการออกแบบระบบห้องปฏิบัติการ เพื่อรองรับเครื่องมือวิจัยฯ และเจรจาหาแนวทางความร่วมมือการพัฒนาบุคลากรของ มรภ.สงขลา โดยเฉพาะการเยี่ยมชมศูนย์เครื่องมือวิเคราะห์ของ The University of Tokyo ที่มีรูปแบบความร่วมมือกับบริษัทผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ซึ่ง มรภ.สงขลา ได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิจัย ซึ่งในอนาคต มรภ.สงขลา อาจร่วมมือทำวิจัยกับเอกชน โดยฝ่ายเอกชนลงทุนจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ ส่วน มรภ.สงขลา มีนักวิจัยที่สามารถพัฒนาผลผลิตในเชิงการค้าได้ และมีโอกาสที่จะส่งบุคลากรไปฝึกอบรมระยะสั้นด้านการใช้เครื่องมือ การเตรียมตัวอย่างและการแปลผลที่ Yokohama National University ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีความร่วมมือกับกลุ่มประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น อาจารย์จาก มรภ.สงขลา ที่ทำวิจัยทางวัสดุนาโน สามารถไปทำวิจัยระยะสั้นโดยใช้เครื่องมือวิจัยชั้นสูงที่ The University of Tokyo จากความร่วมมือดังกล่าวจะนำไปสู่การสร้างข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ในการพัฒนาด้านวิชาการและบุคลากรต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ