สถาบันอนาคตไทยศึกษาเผย ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทยนั้นสูงกว่าที่รายงานทั่วไปอย่างน้อย 25%ส่วนความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งเป็นอันดับท้ายๆ ของโลก

ศุกร์ ๑๑ เมษายน ๒๐๑๔ ๐๙:๕๔
ประเทศไทยยืนอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งมาร่วม 10 ปี หลากงานวิจัย หลายเวทีปฏิรูปหยิบยกปัญหาความเหลื่อมล้ำว่าเป็นหัวใจหลักของความขัดแย้งหลายๆ ครั้งที่ผ่านมาสถาบันอนาคตไทยศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญของความเหลื่อมล้ำนี้จึงเป็นที่มาของผลการศึกษาชิ้นล่าสุดเรื่อง “8ข้อเท็จจริงความเหลื่อมล้ำในไทย” ซึ่งมีข้อค้นพบที่น่าสนใจหลายประการ เช่นความเหลื่อมล้ำของไทยที่อยู่ในระดับสูงและไม่ดีขึ้นเลยจากเมื่อสามทศวรรษที่แล้ว รายได้ของครอบครัวยากจนนั้นไล่ตามรายได้ของครอบครัวร่ำรวยไม่ทัน ทำให้ช่องว่างรายได้ของครอบครัวที่รวยที่สุด 10% และครอบครัวที่จนที่สุด 10% ในปัจจุบันสูงถึง 21 เท่า จากที่เคยต่างกัน 20 เท่าจากเมื่อ 25 ปีที่แล้ว

ความเหลื่อมล้ำที่แท้จริงจะต้องสูงกว่าที่รายงานทั่วไปอย่างต่ำ 25% เพราะข้อมูลรายได้ที่นำมาใช้รายงานกันทั่วไปยังไม่ครบ หายไปเกือบ 1 ล้านล้านบาทข้อมูลรายได้ครัวเรือนจากการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ซึ่งสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาตินั้นน้อยกว่ารายได้ครัวเรือนที่สภาพัฒน์ประมาณการไว้ใน GDP ถึง 0.9 ล้านล้านบาทหรือหายไปราว 12%ของข้อมูลที่สำรวจได้ส่วนที่หายไปคือรายได้ของครอบครัวคนที่มีฐานะเห็นได้จากการที่ข้อมูลจากการสำรวจที่ไม่ได้สะท้อนฐานะการเงินที่แท้จริงของครอบครัวที่ร่ำรวยจากการเปรียบเทียบกับข้อมูลจากแหล่งอื่นเช่นข้อมูลจากนิตยสาร Forbes ที่ทำการรวบรวมมูลค่าสินทรัพย์จากแหล่งต่างๆ ของ 50 มหาเศรษฐีไทย หรือวารสารการเงินการธนาคารที่มีการรายงานเรื่อง “500 เศรษฐีหุ้น” ซึ่งจะทำให้ความแตกต่างของรายได้เฉลี่ยของครอบครัวที่รวยที่สุด 20% และครอบครัวที่จนที่สุด20% นี้เพิ่มขึ้นจาก 11 เท่า เป็น 14 เท่า หรือราว 25%

นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น อันดับความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งของไทยอยู่อันดับท้ายๆ ของโลกประเทศไทยอยู่อันดับ 162 จาก 174 ประเทศ อันดับใกล้เคียงกับประเทศเวเนซูเอลา และอินโดนีเซียกลุ่มใหญ่สุดของครอบครัวที่จนที่สุดไม่ใช่ชาวนาหรือเกษตรกรอย่างที่เราเคยเข้าใจ แต่เป็นครอบครัวคนชรา ผู้แทนไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนในแง่ฐานะความเป็นอยู่ เพราะทรัพย์สินของครอบครัวสส.โดยเฉลี่ยมีมูลค่ามากกว่าอีก 99.999% ของครอบครัวไทย นี่อาจจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำยังแก้ไม่สำเร็จเสียที

ดร.เศรษฐพุฒิ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ผลจากรายงาน เราก็จะเห็นว่าความเหลื่อมล้ำในไทยนั้นสูง อยู่กับเรามานาน และมีหลายมิติ แต่ที่สำคัญที่สุดที่ต้องมุ่งเน้นแก้ ก็คือความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส เพราะมันเป็นต้นตอที่สำคัญที่จะทำให้คนรู้สึกไม่เท่าเทียม และจะนำไปสู่ความไม่สงบ ความขัดแย้งได้”

เปรียบเสมือนกับการวิ่งแข่ง ผลแพ้ชนะนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้ตามกติกาว่าคนที่วิ่งเร็วที่สุด และเข้าเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าโอกาสของแต่ละคนไม่เท่ากัน ก็เหมือนกับจุดเริ่มต้นของแต่ละคนไม่เท่ากัน และยิ่งถ้าโอกาสของคนเหลื่อมล้ำมากขึ้นเรื่อยๆกลายเป็นว่าบางคนอาจจะไม่มีโอกาสได้ลงแข่งเลยด้วยซ้ำ “ถ้ากติกาการแข่งขันยุติธรรม ให้โอกาสทุกคนได้ลงแข่ง และเริ่มต้นจากจุดที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ไม่เท่ากันที่ปลายทางก็เหมือนกับการแข่งขันที่มีคนแพ้คนชนะก็เป็นเรื่องที่คนจะยอมรับได้”ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๓๒ Electronic Nose นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน
๑๗:๐๑ ITEL ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 68 ไฟเขียวอนุมัติแจกวอร์แรนต์ฟรี ลุยขยายธุรกิจ
๑๗:๐๓ สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
๑๗:๕๙ คาเฟ่ แคนทารี ชวนมาลิ้มลองเมนูพิเศษประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2568 อร่อยครบเครื่องทั้งรีซอตโตต้มยำ เครป
๑๗:๑๗ ซีพี ออลล์ x มูลนิธิชาวปักษ์ใต้ ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่ออาชีพแก่เยาวชนในจังหวัดภาคใต้
๑๗:๑๑ ซีพีแรม ดีเดย์ เปิดเวที FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร ปักหมุดไทยศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก
๑๗:๑๙ ดีไซน์เพื่อชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง: อาดิดาส ออริจินอลส์ เผยโฉม ADIZERO ARUKU พร้อมพื้นรองเท้าแบบโปรเกรสซีฟ
๑๖:๒๘ พรีโม จับมือ Q-CHANG จัดทัพทีมช่างกว่า 2,000 ทีม! ยกระดับบริการซ่อมห้องชุด ตอกย้ำแนวคิด Primo Happy Maker
๑๖:๓๙ ครั้งแรก กับ Dance (แดนซ์) Glossy Body Hair Perfume Mist น้ำหอม 2-in-1 พร้อมเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ เก๋ไก๋ บุกใจกลางกรุง ชวนสาวๆ
๑๖:๕๓ SCB CIO ชี้ 3 ปัจจัยกระทบตลาดการเงินฉุดสินทรัพย์ทั่วโลกผันผวน แนะระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้ระยะสั้นคุณภาพดี และ