เมื่อคุณทำการล็อกอินเข้า Facebook, Google หรือเว็บไซต์ธนาคารออนไลน์ นั่นคือการเชื่อมต่อกับเว็บไซต์แบบเข้ารหัสโปรโตคอล SSL เซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์จำนวนมากเลือกใช้บริการโปรโตคอลนี้ผ่านโอเพ่นซอร์ส OpenSSL โดยเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา OpenSSL ได้ออกอัพเดทที่ชื่อ Heartbeat เพื่อซ่อมแซมฟีเจอร์ TLS โดยอาจทำให้เกิดการรั่วของข้อมูล 64kB ในหน่วยความจำของเซิร์ฟเวอร์แก่แฮกเกอร์
ซึ่งช่องโหว่นี้จะทำให้ใครก็ตามที่ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถอ่านหน่วยความจำในเครื่องได้ ซึ่งอาจจะบันทึกยูสเซอร์เนม พาสเวิร์ด หรือแม้แต่รหัสเข้าเซิร์ฟเวอร์ที่คุณกำลังเชื่อมต่อแบบเข้ารหัสอยู่เอาไว้ โดยไม่สามารถตามรอยได้ว่าเซิร์ฟเวอร์ใดหรือข้อมูลอะไรถูกแฮกไปบ้าง
ข่าวดีคือ OpenSSL จัดการซ่อมแซมบั๊กนี้แล้ว แต่ข่าวร้ายคือ ไม่มีใครยืนยันได้ว่าเว็บไซต์ที่โดน Heartbleed เข้าเล่นงานจะอัพเกรดแพทช์เรียบร้อยแล้ว ข่าวร้ายยิ่งกว่า คือ บั๊กตัวนี้มีอายุยืนยาวถึง 2 ปี!! นั่นจะทำให้สิทธิการรับรองความปลอดภัย (Security Certificate) ถูกขโมยได้ รวมถึงข้อมูลสำคัญอื่นๆ ด้วย
คำแนะนำสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
- ตรวจสอบว่าเว็บที่ใช้งานเป็นประจำนั้นเคยโดนบั๊กนี้หรือไม่
โดยใช้ทูลตรวจสอบออนไลน์ http://filippo.io/Heartbleed นอกจากนี้ยังมีหลายเว็บไซต์ที่รายงานสถานะเว็บไซต์ยอดฮิตต่างๆ ข่าวดีคือ Facebook และ Google ปลอดบั๊ก แต่ Yahoo, Flickr, Duckduckgo, LastPass, Redtube, OkCupid, 500px และเว็บไซต์อื่นๆ ยังไม่ปลอดภัย
- ตรวจสอบว่าเว็บที่ใช้งานโดนบั๊กหรือไม่
โดยใช้ทูลตรวจสอบออนไลน์ http://filippo.io/Heartbleed
- ตรวจสอบว่าใช้งาน Certificate ใหม่หรือยัง
แม้ว่าเจ้าของเว็บไซต์จะแก้ปัญหาบั๊กนี้แล้ว ควรต้องพิจารณาเรื่องการออก Certificate ใหม่ด้วย ผู้ใช้งานจะต้องตรวจสอบว่าได้ใช้งาน Certificate ใหม่หรือยัง เพื่อความปลอดภัย โดยไปที่การตั้งค่าเบราเซอร์และเลือก Check for server certificate revocation
- ตรวจสอบวันที่ออก Certificate ใหม่
ผู้ใช้งานจะต้องตรวจสอบว่ามี Certificate ใหม่ที่ออกหลังวันที่ 8 เมษายน 2014 หรือไม่ โดยคลิกขวาที่รูปกุญแจสีเขียวที่ช่อง Address Bar ของเบราเซอร์ >>คลิก Connection >>คลิก Certificate Information
- เปลี่ยนพาสเวิร์ดทันที
ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดหลังจากการอัพเดทแพทช์และ Certificate แล้ว คือการเปลี่ยนพาสเวิร์ดเพื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ ทันที เลือกใช้พาสเวิร์ดที่คุณจำง่ายแต่คนอื่นเดายาก โดยทดสอบความยากของพาสเวิร์ดคุณได้ที่ http://blog.kaspersky.com/password-check/
ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวทิ้งท้ายเตือนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ระมัดระวังการใช้งานในโลกไซเบอร์ และติดตามข่าวสารจากเว็บไซต์ไอทีต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น เว็บไซต์ของแคสเปอร์สกี้ แลป www.securelist.com เพื่อการป้องกันได้ทันท่วงที