แกรนท์ ธอนตัน ชี้กระแสการควบรวมและซื้อขายกิจการทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ประเทศไทยมีอัตราเฉลี่ยต่ำที่สุด

พุธ ๑๖ เมษายน ๒๐๑๔ ๑๓:๐๔
ผลสำรวจล่าสุดในรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติประจำปีของแกรนท์ ธอนตัน (The Grant Thornton International Business Report: IBR) เผยกระแสการควบรวมและซื้อขายกิจการ (Merger and Acquisition : M & A) ทั่วโลกเพิ่มจำนวนสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศไทยกลับมีจำนวนต่ำที่สุด รั้งอันดับสุดท้ายของการสำรวจจาก 44 ประเทศทั่วโลก

ข้อมูลผลสำรวจ IBR แสดงให้เห็นว่า ร้อยละ 31 ของธุรกิจทั่วโลก คาดหวังที่จะใช้การควบรวมและซื้อขายกิจการ เป็นกลยุทธ์เพื่อสร้างความเติบโตให้องค์กรของตนตลอดช่วง 3 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28 ในปี 2555 ในขณะที่ประเทศไทยมีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น ถือเป็นจำนวนน้อยที่สุดและเป็นอันดับสุดท้ายในการสำรวจครั้งนี้ ซึ่งตกลงจากอันดับรองสุดท้ายในปีก่อน ขณะที่ภาพรวมของกลุ่มประเทศในอาเซียนอยู่ที่ร้อยละ 21

นอกจากนี้ รายงาน IBR ยังพบว่ามีผู้บริหารในไทยเพียงร้อยละ 5 ที่คาดว่าจะขายกิจการของตนภายใน 3 ปีข้างหน้า ต่ำสุดเป็นอันดับที่สามในการสำรวจ รองจากอาร์เมเนียและจอร์เจีย ซึ่งสวนกระแสกับกลุ่มประเทศในอาเซียนที่มีถึงร้อยละ 14 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5 ในปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นถึงความต้องการในการ

คุณจุฬาภรณ์ นำชัยศิริ กรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจการเงิน ของแกรนท์ ธอนตัน ประเทศไทย กล่าวว่า “แม้ตัวเลขดังกล่าวจะดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่นักสำหรับประเทศไทย แต่หากมองในแง่ดี อาจเป็นเพราะบริษัทต่างๆ อาจมีการเลื่อนแผนควบรวมกิจการของตนเองออกไปก่อน เนื่องจากปัญหาความผันผวนด้านการเมืองและเศรษฐกิจในปัจจุบันของไทย แต่สิ่งที่แย่ที่สุด คือบริษัทต่างๆ อาจพลาดโอกาสที่น่าสนใจ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และแนวคิดในการทำธุรกิจเชิงรุกมากขึ้นจากประเทศเพื่อบ้านของเรา”

ผลสำรวจทั่วโลกยังเผยว่า ธุรกิจที่มองว่าการควบรวมและเข้าซื้อกิจการเป็นยุทธวิธีที่สำคัญ คือธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจแบบเชิงรุกและมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว หรือ Dynamic businesses เพราะมองว่าเป็นการเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานที่พวกเขามีอยู่เดิม

ยกตัวอย่าง ในขณะที่ร้อยละ 31 ของธุรกิจทั้งหมดทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตผ่านการควบรวมกิจการและซื้อขายกิจการ แต่หากมองแค่ธุรกิจแบบ Dynamic businesses เพียงกลุ่มเดียว กลับพบว่ามีจำนวนตัวเลขดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55 ซึ่งรูปแบบดังกล่าวนี้ ยังปรากฎให้เห็นในทุกภูมิภาคทั่วโลกด้วย เช่น ร้อยละ 47 ของธุรกิจทั้งหมดในอเมริกาเหนือ วางแผนที่จะเติบโตผ่านการควบรวมและซื้อขายกิจการ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37 ในปี 2556 แต่หากมองแค่ธุรกิจแบบ Dynamic businesses ในอเมริกาเหนือเพียงอย่างเดียว พบว่าตัวเลขดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 71 เช่นเดียวกับธุรกิจแบบ Dynamic businesses ในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่คาดว่าจะเติบโตผ่านการควบรวมและซื้อขายกิจการ สูงถึงร้อยละ 49 ซึ่งมีมากเป็นสองเท่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของธุรกิจทั้งหมดในกลุ่มประเทศอาเซียนเอง ที่มีเพียงร้อยละ 21

ไมค์ ฮิวจ์ หัวหน้าสายงานด้านการควบรวมและซื้อขายกิจการทั่วโลกของแกรนท์ ธอนตัน ให้ความเห็นว่า “ผลสำรวจดังกล่าว มีความสำคัญอยู่หลายประการด้วยกัน ประการแรกคือการคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นของกิจกรรมด้านการควบรวมและซื้อขายกิจการ เป็นเหมือนสัญญาณถึงการฟื้นตัวอย่างมั่นคงของธุรกิจทั่วโลก ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงทิศทางธุรกิจ โดยพยายามมุ่งเน้นในเรื่องการสร้างความเติบโตและขยายกิจการ”

“ประการที่สอง เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกลยุทธ์ด้านการควบรวมและซื้อขายกิจการ ซึ่งถือเป็นวิธีสร้างความเติบโตให้แก่ธุรกิจได้เร็วที่สุดในโลก และยังสามารถช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดใหม่ บุคคลากรที่มีศักยภาพและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อช่วยรักษาความสามารถในการแข่งขันของพวกเขาไว้”

นอกจากนี้ยังมีสัญญาณอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจทั่วโลก อย่างการฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากวิกฤตการณ์ทางการเงินของธุรกิจในตลาดที่พัฒนาแล้ว และการลดลงของกิจกรรมด้านการควบรวมและซื้อขายกิจการในตลาดเกิดที่เกิดขึ้นใหม่ โดยร้อยละ 19 ของธุรกิจในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (BRIC) คาดว่าจะเติบโตผ่านการควบรวมและซื้อขายกิจการตลอดช่วงสามปีข้างหน้า ซึ่งลดลงจากร้อยละ 27 ในปีก่อน ขณะประเทศในกลุ่มอาเซียนลดลงเหลือร้อยละ 21 จากเดิมร้อยละร้อยละ 23 ในปี 2556 ซึ่งตรงกันข้ามกับกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G7 ที่ตัวเลขคาดการณ์ถึงกิจกรรมด้านการควบรวมและซื้อขายกิจการตลอดช่วงสามปีข้างหน้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29 เป็นร้อยละ 36 ในปีนี้

คุณจุฬาภรณ์ กล่าวเสริมว่า “แม้ธุรกิจในตลาดเกิดใหม่แทบจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินเลย แต่ไม่นานนี้ การเติบโตของพวกเขากลับชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด โดยตัวเลขต่างๆ แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจจำนวนมากในประเทศเกิดใหม่ได้มีการหยุดหรือชะลอการควบรวมและซื้อขายกิจการไว้ก่อน ซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงสถานการณ์ในประเทศไทยเป็นอย่างดี ในทางตรงกันข้าม กลุ่มธุรกิจในตลาดที่พัฒนาแล้ว ต่างกำลังรอสัญญาณเพื่อให้แน่ใจว่า การฟื้นตัวนั้นจะมั่นคงในระยะยาวและประเมินความเป็นไปได้ ก่อนที่จะตัดสินใจทำการซื้อขายกิจการ”

ทั้งนี้รายงานผลการสำรวจ ‘Dynamic businesses at the forefront of M&A activity' ฉบับเต็ม ท่านสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.internationalbusinessreport.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version