มูลนิธิหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พร้อมเปิดตัวรถศูนย์ข้อมูลดนตรี ในงานคอนเสิร์ตใหญ่ “บทเพลงแห่งแผ่นดิน” ดื่มด่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ลานเอเชียทีค

พุธ ๑๖ เมษายน ๒๐๑๔ ๑๓:๓๘
มูลนิธิหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จัดงานเปิดตัว รถศูนย์ข้อมูลดนตรี พบกับกิจกรรม “สื่อจังหวะ ส่งทำนอง สู่น้องทั่วไทย” การประกวดร้องเพลงพระราชนิพนธ์ นิทรรศการ และคอนเสิร์ตบทเพลงแห่งแผ่นดิน ที่ได้ร่วมสัญจรสร้างความสุขมาแล้วทั่วประเทศ และกลับมาสร้างความสุขปิดท้ายให้กับชาวกรุงเทพมหานครอีกครั้ง ณ ลานอเนกประสงค์ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ (ASIATIQUE The Riverfront)

เนื่องจากมูลนิธิหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้จัดตั้งโครงการ “บทเพลงแห่งแผ่นดิน” ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการ “อัครดุริยะศิลปินราชสดุดี ๘๔ พรรษา” เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพทางการดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านการจัดแสดงนิทรรศการดนตรีและวัตถุทรงคุณค่าของพระองค์ที่หาชมได้ยาก ทั้งจัดคอนเสิร์ตสัญจรบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ไปทั่วภูมิภาคในประเทศไทย กอปรกับ ณ ปัจจุบัน หอสมุดแห่งชาติได้มีการจัดเก็บคลังความรู้จากสื่อต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนสามารถสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกขึ้น ด้วยปัจจัยเอื้ออำนวยต่าง ๆ เหล่านี้ รถศูนย์ข้อมูลดนตรี หรือ MOBILE MUSIC จึงถือกำเนิดขึ้นมา เสมือนเป็นห้องสมุดเคลื่อนที่นำคลังความรู้ด้านดนตรีเดินทางไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ชนบท ได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวของดนตรีและเข้าถึงบทเพลงที่หาฟังยากในยุคปัจจุบันได้ง่ายขึ้น

จรรมนง แสงวิเชียร ประธานโครงการ “อัครดุริยะศิลปินราชสดุดี ๘๔ พรรษา” กล่าวว่า “ผมอยากให้เยาวชนเข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านไม่ใช่นักดนตรีเท่านั้น พระองค์ทรงเป็นนักประพันธ์ เรียบเรียงเสียงประสาน เป็นครูด้วย แต่ประเด็นสำคัญที่สุดคือ ตลอดรัชกาลที่ผ่านมา ถ้าเราสังเกตสักนิดหนึ่ง จะพบว่าพระองค์ท่านใช้เพลงในการสื่อกับประชาชนและเยาวชน พสกนิกรของพระองค์ตลอดมา ดนตรีที่ออกมาจะถูกกาลเทศะ เป็นการปลอบประโลมใจพสกนิกร ให้กำลังใจ

จากความสนใจของประชาชนและเยาวชนทั่วประเทศ ทำให้โครงการฯ ประสบความสำเร็จด้วยดีในทุกภูมิภาคที่โครงการฯ ได้สัญจรไป นอกเหนือจากบทเพลงพระราชนิพนธ์อันทรงคุณค่าแล้ว มูลนิธิฯ ยังมีโอกาสได้เผยแพร่ห้องสมุดดนตรี รัชกาลที่ ๙ ให้เข้าถึงประชาชน ผ่านรถศูนย์ข้อมูลดนตรี ทำให้นอกเหนือจากการเข้าใช้บริการยัง หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร แล้ว ผู้ที่รักการเรียนรู้ และค้นคว้าทั่วประเทศ ยังได้รู้จัก และสามารถใช้บริการได้โดยเท่าเทียมกันอีกด้วย”

โดยรถศูนย์ข้อมูลดนตรี ได้รวบรวมแหล่งข้อมูลที่สำคัญและทรงคุณค่าด้านประวัติศาสตร์การดนตรีจากหอสมุดแห่งชาติเอาไว้มากมาย เช่น เพลงจากแผ่นเสียงที่หาฟังยากทั่วโลก ตั้งแต่ยุคที่เริ่มมีการบันทึกแผ่นเสียง จนถึงยุคปัจจุบันกว่า ๕๐๐,๐๐๐ เพลง รวบรวมข้อมูลของบทเพลงสำคัญที่ก่อให้เกิดประวัติศาสตร์วัฒนธรรมการเริ่มฟังเพลงของชนชาติไทย เช่น เพลงบุหลันลอยเลื่อน ที่หลายคนอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนว่าเพลงนี้เคยถูกใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีในยุคสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นต้น นอกจากนี้ ไม่เพียงแต่รวบรวมเรื่องราวของดนตรีทั่วไป รถศูนย์ข้อมูลดนตรียังมีจุดประสงค์ที่จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเพลงพระราชนิพนธ์ และพระอัจฉริยภาพทางการดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอาไว้อีกด้วย รวมไปถึงเกร็ดข้อมูลเกี่ยวกับเพลงพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ เช่น ความเป็นมาของบทเพลง “แผ่นดินของเรา” ที่เริ่มต้นจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ในโอกาสที่เจ้าหญิงอเล็กซานดรา แห่งเคนท์ สหราชอาณาจักร เสด็จเยือนประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ข้อมูลอันทรงคุณค่าไม่ได้ถูกจัดเก็บเอาไว้แค่ในหอสมุดแห่งชาติเพียงอย่างเดียวแล้วเท่านั้น รถศูนย์ข้อมูลดนตรี จะช่วยเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้เรื่องราวเหล่านี้ให้กับเยาวชนคนไทยได้ทั่วประเทศ สืบทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นตลอดไป และยังสามารถเป็นศูนย์กลางของการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง ด้วยความสามารถในการเป็นเครื่องปั่นไฟในตัว และเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย สร้างความสนใจให้กับผู้คนที่พบผ่านไปมาได้อย่างง่ายดาย ซึ่งรถศูนย์ข้อมูลดนตรีจะเริ่มให้ทดลองการบริการกับ ๓ สถาบันการศึกษา อันได้แก่ โรงเรียนไกลกังวล โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นลำดับแรก ก่อนจะเริ่มเดินทางไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศตามความตั้งใจของมูลนิธิ

กิจกรรมไฮไลท์ ยังประกอบด้วยกิจกรรม “สื่อจังหวะ ส่งทำนอง สู่น้องทั่วไทย” เป็นการเปิดตัวแจ๊สบอย (Jazz Boy) ควบคู่กับ รถศูนย์ข้อมูลดนตรี เปรียบเสมือนทูตแห่งเสียงดนตรี ซึ่งจะเป็นผู้นำพาทุกคนท่องโลกไปกับ MOBILE MUSIC มหัศจรรย์รถศูนย์ข้อมูลดนตรี รถที่พาท่องโลกแห่งดนตรี

นอกจากนี้ ภายในงานพรั่งพร้อมไปด้วยศิลปินนักร้องชื่อดังหลากหลายรุ่น อาทิ ธชย ประทุมวรรณ (เก่ง The Voice Season 1), สมา สวยสด, นภาดา สุขกฤต มาร่วมแสดงความจงรักภักดีและแสดงดนตรีในงาน ดำเนินรายการโดย มิลค์-เขมสรณ์ หนูขาว และ คุณากร เกิดพันธ์ พร้อมเซเลบริตี้ร่วมงานคับคั่ง อาทิ ปัทมวดี เสนาณรงค์, จรสพรรณ สวัสดิวัฒน์ ณ อยุธยา, ม.ล.รังษิอาภา ภาณุพันธ์, กันต์ รตนาภรณ์, สุพินดา หวังทรัพย์คณา, พอล นฤนาทวานิช, จินดาภา บุณยากร, ม.ร.ว.จันทรลัดดา ยุคล, อภิภาวดี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, นันทวิมล พลพานิช, รพีพร วงศ์ทองคำ, วิทยา สินทราวณุกร, ญดา วงศ์ทองคำ, เมลนีย์ ศิรจินดาภิรมย์, ไอรีน ดำรงค์มงคลกุล, อทิตา สุธาดารัตน์, ฐิติพงษ์ ล้อประเสริฐ, ชัชชฏา ก้องธรนินทร์, ม.ล. วรารมณ์ ชุมพล, พิมพ์ชิน ภัคพัฒน์ชนม์, คุณาคม พลพานิช, ธีรติพิศา เตวิชพศุต, จุลภาส เครือโสภณ, เพลงรำไพ เครือโสภณ และ พิณไพเราะ เครือโสภณ เป็นต้น

งานเปิดตัวรถศูนย์ข้อมูลดนตรีมีการจัดแสดงให้ชมและทดลองใช้จริง และภายในงานมีการแสดงคอนเสิร์ตบทเพลงแห่งแผ่นดิน การประกวดร้องเพลงรอบชิงชนะเลิศ ผู้ชมสามารถเข้าชมฟรีได้ตลอดงาน ติดตามรายละเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับมูลนิธิฯ เพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/kingrama9songs หรือ ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. ๐๙๒-๕๑๔-๘๑๕๘ และ ๐๙๒-๗๑๔-๙๐๗๑

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ