KIAT ลุยธุรกิจโรงไฟฟ้าเต็มสูบ คาดแล้วเสร็จปลายปี 58 ประเมินรับรู้รายได้ปีละ 250 ลบ. พร้อมมีแผนเข้าตลท.

จันทร์ ๒๑ เมษายน ๒๐๑๔ ๑๕:๓๖
เกียรติชัย มนต์เสรีนุสรณ์” บิ๊กบอส “เกียรติธนาขนส่ง” เดินหน้าลุยธุรกิจใหม่ โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 9.9 เมกกะวัตต์ ผ่านบริษัทลูก เกียรติธนากรีนเพาเวอร์ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม และลดความเสี่ยงการพึ่งพารายได้จากการขนส่งสินค้าด้านปิโตรเคมีเพียงอย่างเดียว คาดแล้วเสร็จปลายปี 2558 รับรู้รายได้ปีละ 250 ล้านบาท พร้อมมีแผนนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หวังระดมทุนนำเงินไปขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าเพิ่ม ชี้มีหลายบริษัทรุมจีบขอถือหุ้นในธุรกิจโรงไฟฟ้า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาไม่ปิดกั้นพันธมิตรแต่ขอเป็นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และกุมอำนาจบริหาร

นายเกียรติชัย มนต์เสรีนุสรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เกียรติธนาขนส่ง จำกัด (มหาชน) หรือ KIAT เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ขนาด 9.9 เมกะวัตต์ ” โดยใช้ ต้นปาล์ม ต้นยางพารา และผลิตภัณฑ์การเกษตรที่เหลือใช้ในพื้นที่ภาคใต้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ภายใต้บริษัทลูก “บริษัทเกียรติธนากรีนเพาเวอร์” ซึ่งใช้เงินลงทุนประมาณ 750 ล้านบาท ทั้งนี้เม็ดเงินลงทุนมาจากเงินทุนหมุนเวียน และเงินกู้สถาบันการเงิน ขณะนี้โครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าตามลำดับโดยได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงในการจัดซื้อที่ดินขนาด 40 ไร่ ณ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้งได้ลงนามจัดหาเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล มูลค่ารวมประมาณ 600 กว่าล้านบาท

ทั้งนี้โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะแล้วเสร็จราวเดือนธันวาคม 2558 และเริ่มจำหน่ายไฟให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ในเดือนมกราคม 2559 และรับรู้รายได้ทันที ซึ่งได้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจำนวน 0.30 บาทต่อหน่วย คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 250 ล้านบาทต่อปี และผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) อยู่ที่กว่าร้อยละ 20 โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลนี้คาดว่าจะมีกำไรอยู่ที่ร้อยละ 35 อย่างไรก็ตามโครงการได้อยู่ระหว่างการจัดทำประชาคมพิจารณ์ในเดือนเมษายน คาดว่าจะได้รับความร่วมมือที่ดีจากชุมชนเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีโรงไฟฟ้าชีวมวลหลายแห่งที่ตั้งอยู่

“โครงการดังกล่าวได้ศึกษาอย่างรอบคอบได้เชื่อว่าจะเป็นการกระจายความเสี่ยงในเรื่องของรายได้บริษัทฯ ที่พึ่งพาเพียงธุรกิจขนส่งปิโตรเคมีที่เป็นหลักทำให้มีความเสี่ยงสูงและธุรกิจโรงไฟฟ้ามีความเสี่ยงต่ำและมีรายได้ที่แน่นอนต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเป็นธุรกิจที่มีกำไรในระดับสูง คาดว่ากำไรจะสูงถึง 35% และโรงไฟฟ้าจะแล้วเสร็จในปลายปี 58 เริ่มรับรู้รายได้ปี 59 ฝ่ายบริหารต้องมีการปรับกลยุทธ์การบริหาร เรามีธุรกิจที่เชี่ยวชาญด้านการขนส่งปิโตรเคมีแต่มีความเสี่ยงโดยรวมจากภาพรวมเศรษฐกิจ การเมือง เราจึงต้องกระจายความเสี่ยงและศึกษาเป็นอย่างดีในธุรกิจโรงไฟฟ้าว่ามีความเสี่ยงต่ำจึงก่อตั้งบริษัทฯลูกเพื่อเป็นธุรกิจที่จะสร้างรายได้ใหม่ หากแล้วเสร็จจะสร้างรายได้ปีละ 250 ล้านบาท” นายเกียรติชัย กล่าว

นายเกียรติชัย กล่าวต่อว่า KIAT ได้จัดตั้งบริษัทย่อย คือ บริษัท เกียรติธนากรีนเพาเวอร์ จำกัด เมื่อปลายปี 2556 เพื่อประกอบธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 5,000,000 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท จำนวนหุ้น 1,000,000 หุ้น ทั้งนี้มีแผนจะเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 200 ล้านบาท ในปี 2557 และอยู่ระหว่างการศึกษานำบริษัทฯลูก เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อใช้เป็นช่องทางในการระดมทุนเพื่อนำเงินมาคืนหนี้สถาบันการเงินจากการลงทุนโรงไฟฟ้าแห่งแรก รวมทั้งประเมินโอกาสในการลงทุนเพิ่มในธุรกิจโรงไฟฟ้า ซึ่งจะเห็นความชัดเจนในช่วงที่บริษัทฯ เริ่มรับรู้รายได้จากโครงการโรงไฟฟ้า ทั้งนี้การลงทุนเพิ่ม ในธุรกิจโรงไฟฟ้าต่อเนื่องเพราะเป็นธุรกิจที่มีรายได้แน่นอน และมีการปรับเพิ่มขึ้นได้ตามค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ถือเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

ปัจจุบันโครงสร้างการถือหุ้น บริษัท เกียรติธนากรีนเพาเวอร์ จำกัด ประกอบด้วย KIAT ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากบริษัทฯที่ทำธุรกิจพลังงานทดแทน ขอร่วมเป็นพันธมิตรและร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าแห่งแรก ทั้งนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลทางการเงินระหว่างกัน แต่ KIAT ยังคงรักษาสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่และเป็นผู้บริหารโรงไฟฟ้า

“เกียรติธนากรีนเพาเวอร์ เป็นบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้า เป็นบริษัทลูกที่มีแผนระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วย หากโรงไฟฟ้าแห่งแรกเริ่มรับรู้รายได้ช่วงปี 2557 เชื่อว่าจะมีความชัดเจนในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเราไม่ปิดกันพันธมิตรที่สนใจร่วมถือหุ้นในธุรกิจโรงไฟฟ้า เพราะแห่งแรกก็มีบริษัทฯที่ประกอบธุรกิจพลังงานทดแทนเข้ามาคุยแล้ว แต่เราต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เท่านั้นเพื่อคงอำนาจการบริหาร เพราะเราคงไม่หยุดแค่โรงไฟฟ้าแห่งแรกต้องมีแห่งที่ 2 ที่ 3 ตามมาแน่นอน ”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025