สธ. เดินหน้าสร้างระบบความปลอดภัยอาหาร เป้าหมายอาหารปลอดภัยทุกจังหวัด

พุธ ๓๐ เมษายน ๒๐๑๔ ๑๘:๓๑
นายแพทย์ทรงยศ ชัยชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลเรื่องการทำงานระบบคุณภาพอาหารปลอดภัยจังหวัด ว่า เป็นระบบงานในความรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานตามกฎหมายจะทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาหารปลอดภัยและการให้บริการเพื่อคุ้มครองสุขภาพประชาชนและอยู่ใกล้ประชาชนในแต่ละภูมิภาคมากที่สุด (Food Safety Regulator for Health Protection at Provincial Level) เป็นการทำงานตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และตามแนวทางของกฎอนามัยสากล คือ มีการจัดทำนโยบาย แผนงาน และงบประมาณของจังหวัด มีการควบคุม ตรวจสอบ เฝ้าระวังด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และโภชนาการที่เหมาะสม ในการผลิต จำหน่าย และให้บริการอาหารแก่ประชาชนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลทางระบาดวิทยา เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์อาหารเป็นพิษ อัตราป่วยและปัญหาจากโรคอุจาระร่วงที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ รวมทั้งโรคที่เกิดจากโภชนาการไม่เหมาะสม ที่สำคัญต้องมีการสร้างเครือข่าย การจัดทำข้อมูลข่าวสาร การให้ความรู้ การสื่อสารและการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

โดยมอบหมายให้สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) เป็นหน่วยงานกลางประสานความร่วมมือการทำงานด้านระบบคุณภาพงานอาหารปลอดภัยกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานอาหารปลอดภัยของสำนักงานสาธารณสุขทุกแห่ง และตรวจติดตามประเมินผล เพื่อให้การรับรองการทำงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ในเรื่องมาตรฐานระบบงานอาหารปลอดภัย ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 (IHR, 2005)

ด้าน นางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การตรวจติดตามประเมินผล ระบบคุณภาพอาหารปลอดภัยจังหวัด ปัจจุบันได้มีการสุ่มลงพื้นที่เพื่อตรวจประเมินการทำงานระบบอาหารปลอดภัยของสาธารณสุขจังหวัดไปแล้วหลายจังหวัด อาทิ เชียงราย พิจิตร พิษณุโลก ลำปาง ขอนแก่น อุบลราชธานี และนครพนม คาดว่าจะสามารถประเมินผลทั้งการสุ่มลงพื้นที่ และประเมินจากเอกสารได้ครบทุกจังหวัดในปีงบประมาณ 2557 นี้ ซึ่งการประเมินระบบการทำงานระบบคุณภาพอาหารปลอดภัยจังหวัด ยังคงยึดใน 4 ระบบ คือ 1. นโยบายและการบริหารจัดการ 2.การปฏิบัติการโดยจะต้องมี ระบบป้องกัน ระบบเฝ้าระวัง และระบบตอบโต้ 3. การทบทวนและการประเมินผล 4. เอกสารบันทึกและรายงานรวมทั้งการเก็บรักษา โดยหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การประเมินระบบคุณภาพงานอาหารปลอดภัยจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ในส่วนของการประเมินระดับสมรรถนะอาหารปลอดภัยที่ผ่านมา พบจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด เนื่องด้วยในแต่จังหวัดมีทรัพยากรอาหาร มีคณะทำงาน มีสภาพปัญหาที่แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะมีการบูรณาการด้านอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหารทุกๆ จังหวัด สามารถตอบโจทย์ตามมาตรฐานสากลของ WHO ซึ่งประโยชน์ที่ได้ส่งผลดีให้ประชาชนหรือผู้บริโภคได้บริโภคอาหารสะอาด ปลอดภัย ไม่บริโภคอาหารก่อโรค ประชาชนจึงมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล ลดการสูญเสียทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๐๐ รำไพพรรณีจับมือโรงเรียนในจันทบุรี พัฒนาทักษะภาษา สู่ความเป็นเลิศ
๐๙:๐๐ DITP แถลงข่าวตอกย้ำความสำเร็จ E-Academy ภายใต้แนวคิด Beyond Boundaries Transform Knowledge into Impact
๐๙:๐๐ เปิดให้จองแล้ว Samsung Galaxy S25 Series ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
๐๙:๐๐ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา โปรตุเกส.เหตุที่รั
๐๙:๐๐ การเคหะแห่งชาติจับมือ 3 หน่วยงาน พัฒนาศักยภาพเพิ่มทักษะชาวชุมชนหวังสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
๐๙:๐๐ ก้อย-นัตตี้-ดรีม ชีเสิร์ฟความฮอตแบบไม่พัก รับบทพรีเซ็นเตอร์ชุดชั้นในวาโก้ โชว์ความเนียนยืนหนึ่งระดับตัวมัม!
๐๙:๐๐ เจาะลึกคีย์เทคโนโลยี AI ฝีมือคนไทย บนแอปสินเชื่อ มันนี่ทันเดอร์ พลังขับเคลื่อนสำคัญที่ อบาคัส ดิจิทัล
๐๘:๑๓ เปิดความปัง มั่งมีรับปีใหม่ กับ แมคโดนัลด์ 'มั่งมีเบอร์เกอร์ x MY MELODY' ยกขบวนความน่ารัก MY MELODY กับแพ็กเกจจิงและ กระเป๋า Tote Bag
๐๘:๑๑ ถอดรหัสความสำเร็จ Fundao แบรนด์กระเป๋าไทยของผู้หญิงยุคใหม่ กับสถิติยอดขายช่วงแคมเปญเพิ่มขึ้นกว่าปกติถึง
๐๘:๐๐ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!