รอบรู้เรื่อง “นิ้วล็อก” ภัยใกล้ตัวที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

พฤหัส ๐๘ พฤษภาคม ๒๐๑๔ ๑๗:๑๖
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่มีการสะดุดหรือล็อก ไม่สามารถกำหรือเหยียดนิ้วมือได้เป็นปกติ พบในเพศหญิงร้อยละ 80 และพบในเพศชายร้อยละ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อาจเป็นเพราะผู้หญิงใช้มือทำงานซ้ำๆ มากกว่าผู้ชาย เช่น หิ้วถุงหนักๆ การบิดผ้า ซักผ้า การกวาดบ้าน ถูบ้าน สับหมู สับไก่ และมีพฤติกรรมเหล่านี้เป็นระยะเวลานานๆ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น

อาการของโรคนิ้วล็อก คือ ในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณ โคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัด หรือกำได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน เวลางอที่จะเหยียดนิ้วมือมักจะได้ยินเสียงดังกึก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อก คือ เวลางอนิ้วจะเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน ซึ่งอาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ บางรายอาจรุนแรงถึงนิ้วบวมชา ติดแข็งจนไม่สามารถใช้งานได้

สำหรับวิธีการรักษาโรคนิ้วล็อกมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค การรักษาในระยะแรก คือ การพักการใช้งานของมือ ไม่ใช้งานรุนแรง การรับประทานยาต้านการอักเสบ การทำกายภาพบำบัด ช่วยลดการอักเสบและการติดยึดของเส้นเอ็นกับปลอกเอ็น แต่ในกรณีที่เป็นรุนแรงขึ้นอาจจะรักษาด้วยการใช้ยาต้านการอักเสบร่วมกับการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณปลอกเอ็น ซึ่งสเตียรอยด์ มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ลดการบวมของเส้นเอ็นและปลอกเอ็น ทำให้อาการดีขึ้นได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน และจะสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ทั้งนี้ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยจะหายจากอาการนิ้วล็อกหลังจากการฉีดยาเข็มที่หนึ่ง ส่วนอีกร้อยละ 25 จะหายหลังจากการฉีดยาเข็มที่สอง ซึ่งไม่ควรฉีดยาเกิน 2 ครั้ง ในกรณีที่นิ้วล็อกติดรุนแรงหรือพังผืดหนามากจะฉีดยาไม่ได้ผลแพทย์จะพิจารณาใช้วิธีการผ่าตัด ด้วยวิธีการเจาะผ่านผิวหนัง ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก ง่าย และประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถทำในแผนกผู้ป่วยนอกได้ทันที ในกรณีที่เป็นหลายนิ้ว สามารถทำพร้อมกันได้ทีเดียว และหากเป็นอีกมือหนึ่งจะแนะนำให้ทำภายหลังจากที่มืออีกข้างหายดีแล้ว การผ่าตัดด้วยวิธีนี้สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเจ็บตัวน้อยมาก ไม่มีแผลเป็นแผลหายเร็ว ไม่ต้องเปิดแผล ไม่ต้องทำแผล ไม่มีเลือดออก อีกทั้งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาท

ข้อแนะนำสำหรับวิธีหลีกเลี่ยงโรคนิ้วล็อก คือ ไม่หิ้วของหนักเกินไป ถ้าจำเป็นต้องหิ้วให้ใช้ผ้าขนหนูรอง และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ อาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทน เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ หากเป็นช่างที่ต้องเครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ควรใส่ถุงมือหรือห่อหุ้มด้ามจับให้นุ่มขึ้นและทำขนาดที่จับให้เหมาะสมกับการใช้งาน สำหรับผู้ที่ต้องใช้มือทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ควรพักการใช้มือเป็นระยะๆ และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง ไม่ควรขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น ถ้าข้อนิ้วฝืดตอนเช้าหรือมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบเบาๆ ในน้ำ จะทำให้ข้อนิ้วฝืดลดลง ฉะนั้นโรคนิ้วล็อกสามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ ถ้ารู้จักวิธีดูแลตนเองอย่างถูกต้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

โทรศัพท์ 0-2353-9800 (ระบบอัติโนมัติ)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version