กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผนึกกำลัง ส.อ.ท. เปิดตัวโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานฯ

ศุกร์ ๐๙ พฤษภาคม ๒๐๑๔ ๑๒:๑๘
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผนึกกำลังร่วม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดตัวโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการสถานประกอบกิจการในพื้นที่รับผิดชอบของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการ เมื่อวันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ณ ห้อง Meeting Room 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ดึงสถานประกอบกิจการกว่า 60 แห่ง ในพื้นที่รับผิดชอบของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการ ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร เข้าร่วม หวังเพิ่มขีดความสามารถให้กับสถานประกอบกิจการอย่างเป็นรูปธรรม

นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีนโยบายที่สำคัญในการส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการพัฒนาศักยภาพในกระบวนการผลิต การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ลดต้นทุนการผลิต เสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันให้แก่สถานประกอบกิจการ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถลดการสูญเสียและเพิ่มผลิตภาพแรงงานได้ ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ซึ่งในจุดนี้เอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้ดำเนินการจัดโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการสถานประกอบกิจการ ให้กับสถานประกอบกิจการจำนวน 200 แห่งทั่วประเทศ ใน 10 อุตสาหกรรม อันได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและสินค้าเกษตร, อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนและโลหะ, อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ, อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์, อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, อุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์, อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพ, อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยเน้นการดำเนินงานไปยังผู้ประกอบกิจการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ใช้งบประมาณในการดำเนินการทั่วประเทศทั้งสิ้น 75 ล้านบาท

“โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการสถานประกอบกิจการในพื้นที่รับผิดชอบของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการ ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่มุ่งให้ความช่วยเหลือสถานประกอบกิจการ เพื่อรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินธุรกิจ ที่จำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิต และการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยการปรับปรุงกระบวนการด้านต่างๆ ในสถานประกอบกิจการ ไม่ว่าจะเป็นการขจัดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น (Eliminate) การรวมงานที่ซ้ำซ้อนเข้าไว้ด้วยกัน (Combine) การปรับลำดับขั้นตอนการทำงานเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายที่มีประสิทธิภาพ (Rearrange) และการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้ทำงานได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น (Simplify) เป็นต้น โดยการเพิ่มผลิตภาพแรงงานอย่างเป็นระบบนั้น จะช่วยให้แรงงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงานของสถานประกอบกิจการและโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการคลังสินค้า รวมถึงช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับสถานประกอบกิจการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยผู้ดำเนินโครงการหวังว่าโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการสถานประกอบกิจการในครั้งนี้จะสามารถเป็นต้นแบบในการนำไปปฏิบัติ อันจะส่งผลถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมของประเทศต่อไป” อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าว

นายสุภพ ปิงตา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการ กล่าวว่า โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการสถานประกอบกิจการ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานในสถานประกอบกิจการ/โรงงาน มีความรู้จากการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกและสามารถนำแนวทางไปปฏิบัติเพื่อลดการสูญเสียในวงจรการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานได้อย่างยั่งยืน และเพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบการด้านการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน สำหรับเป็นต้นแบบของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการรวมถึงเพื่อให้สถานประกอบกิจการ/โรงงาน ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถลดการสูญเสียโดยลดต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และมีแนวทาง วิธีปฏิบัติในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานและการสูญเสียในกระบวนการผลิตและเพิ่มผลิตภาพแรงงานในสถานประกอบการอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์/แนะนำสถานประกอบกิจการ ในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานของสถานประกอบกิจการอีกด้วย

ทั้งนี้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้อนุมัติจัดสรรเป้าหมายและงบประมาณให้แก่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการ และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานในเครือข่าย เพื่อดำเนินการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการสถานประกอบกิจการในพื้นที่รับผิดชอบของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการ โดยมีจำนวนสถานประกอบกิจการทั้งสิ้น 68 แห่ง แยกเป็นจังหวัดสมุทรปราการ 20 แห่ง ปทุมธานี 9 แห่ง นนทบุรี 6 แห่ง และกรุงเทพมหานคร 33 แห่ง และมีจำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 6,800 คน โดยได้มอบหมายให้ สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต หรือ SMI สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ

ด้าน นายมานะผล ภู่สมบุญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบกิจการนั้น สภาอุตสาหกรรมแห่ง-ประเทศไทย โดย สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (Small and Medium Industrial Institute : SMI) รับหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาโครงการฯ โดยเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อสถานประกอบการ โดยเฉพาะสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าจ้างที่สูงขึ้น และยิ่งในสภาวะปัจจุบัน ภาคธุรกิจยังได้รับผลกระทบทั้งจากปัญหาสถานการณ์ภายในประเทศ และผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา รวมถึงคู่แข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับตัวและหาแนวทางในการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการแข่งขันให้มากขึ้น โดยเฉพาะแนวทางในการพัฒนาแรงงานให้มีทักษะฝีมือที่สูงขึ้น รวมถึงแนวทางการลดต้นทุนในกระบวนการผลิตหรือการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้อยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ได้ โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบกิจการ จึงเสมือนเป็นอีกหนึ่งกุญแจดอกสำคัญของผู้ประกอบการไทยที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างเต็มศักยภาพ

อย่างไรก็ตาม โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบกิจการ มีวิธีการดำเนินโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่การประชาสัมพันธ์รับสมัครสถานประกอบกิจการ หรือโรงงาน เข้าร่วมโครงการ จากนั้นจะมีการนำผู้เชี่ยวชาญเข้าศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลของสถานประกอบกิจการนั้นๆ และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อย โครงการฯ จะดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้แก่พนักงานของสถานประกอบการกิจการ (On the Job Training) มีการดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่สถานประกอบการ จากนั้นจะทำการวิเคราะห์และประมวลผล พร้อมจัดทำคู่มือการให้คำปรึกษาและสื่อเครื่องมือในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดความสูญเสียในวงจรการผลิตสำหรับให้กับสถานประกอบการ และคณะกรรมการควบคุมกำกับการทำงานด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version